การประยุกต์ใช้เสียงเพื่อควบคุมแสงสว่างบ้านอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ

Main Article Content

ปิติภัทร ปิ่นบุตร
กายรัฐ เจริญราษฎร์
กิตติพงษ์ ภู่พัฒน์วิบูลย์
ณัฐชามญฑ์ ศรีจำเริญรัตนา

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยเสียงโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านเสียงในการควบคุมแสงสว่าง ให้เป็นตัวเลือกในการอำนวยความสะดวกในใช้งานประจำวันให้กับผู้สูงอายุผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการทำงานของแอพพลิเคชั่นระบบสั่งการด้วยเสียง 2) เพื่อศึกษาวิธีการอำนวยความสะดวกการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในที่อยู่อาศัยผ่านระบบการสื่อสารไร้สายให้กับผู้สูงอายุ 3) เพื่อประเมินผลระบบควบคุมแสงสว่างผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ทั้งนี้ เมื่อการวิจัยเสร็จสิ้นพบว่าสามารถทำได้ตามวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) ได้แอพพลิเคชั่นที่สามารถสั่งการด้วยเสียงและใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) ได้แอพพลิเคชั่นที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถควบคุมการเปิดปิดหลอดไฟด้วยเสียงพูด 3) ได้ผลการประเมินผลระบบ โดยผู้วิจัยได้นำแอปพลิเคชั่นนี้ไปให้ประชาชนในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมซึ่งเป็นผู้สูงอายุจำนวน 45 คน ได้ทดลองใช้ โดยจากการประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของระบบ พบว่าผลประเมินระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดด้วยค่าเฉลี่ย 4.64 จาก 5 ด้วยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25 อันประกอบไปด้วยผลประเมินประสิทธิภาพในด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับมากที่สุดด้วยค่าเฉลี่ย 4.61 จาก 5 ด้วยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.36 ผลประเมินประสิทธิภาพในด้านการใช้งานโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุดด้วยค่าเฉลี่ย 4.59 จาก 5 ด้วยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.24 และผลประเมินความพึงพอใจของระบบก็อยู่ในระดับมากที่สุดด้วยค่าเฉลี่ย 4.71 จาก 5 ด้วยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.25


* นักศึกษาหลักสูตรสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
** อาจารย์ประจำหลักสูตร ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 73140
*** อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
Corresponding author: natchamol@webmail.npru.ac.th

Article Details

How to Cite
ปิ่นบุตร ป., เจริญราษฎร์ ก. ., ภู่พัฒน์วิบูลย์ ก. ., & ศรีจำเริญรัตนา ณ. . (2020). การประยุกต์ใช้เสียงเพื่อควบคุมแสงสว่างบ้านอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ . วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 306–319. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.23
บท
บทความวิจัย

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2524). การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: เจริญกิจ.
โกศล วงศ์สวรรค์ สุธีลา ตุลยะเสถียร และสถิต วงศ์สวรรค์. (2544). ปัญญาสังคม. กรุงเทพมหานคร : รวมสาสน์.
จินตนา สงค์ประเสริฐ. (2538). ผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.
เจษฎา ขจรฤทธิ์ ปิยนุช ชัยพรแก้ว และหนึ่งฤทัย เอ้งฉ้วน.(2017). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Internet of Things ในการควบคุมระบบส่องสว่างสำหรับบ้านอัจฉริยะ. Journal of Information Science and Technology, 7 (1). 1-11.
ฉวีวรรณ ดวงทาแสง อิสระ แสนโคก ศุภชัย ฤทธิ์เจริญวัตถุ และสุภกร หาญสูงเนิน. (2558). ระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟภายในห้องแบบอัตโนมัติ. นำเสนอในการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8. 211-214.
ธนวินท์ ทิพย์ธาราไลย. (2553). ระบบควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านเทคโนโลยีเว็บ. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
ประธาน เนียมน้อย, จิตติ คงแก้ว และนายจตุรงค์ มะโนปลื้ม. (2555). ระบบควบคุมไฟฟ้าไร้สายผ่านเว็บบราวเซอร์. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปรีชา สมสอน โสวัตร์ บุญยศ และ ประสิทธิ์ นครราช, (2554).การควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านบลูทูธโทรศัพท์เคลื่อนที่. นำเสนอในการประชุมวิชาการ มอบ. วิจัย, ครั้งที่ 5. 164-173.
พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว และ รติพร ถึงฝั่ง. (2559). การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสาร สมาคมนักวิจัย. 21(2). 95-97.
รติมา คชนันทน์. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สมชาย บดนอก ชุติมา รักสกุล และ สิรินญา ศรีแท่นแก้ว. (2553). ระบบเปิด–ปิดไฟด้วย SMS. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สามารถ ยืนยงพานิช. (2557). ระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟ ผ่านเว็บเบราว์เซอร์. นำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ. 197-203.
อนุพงศ์ แก้วเขียว และเสาวลักษณ์ วรรธนาภา. (2559). ระบบควบคุมไฟฟ้าในห้องพักด้วยบอร์ดรีเลย์แบบเครือข่ายไร้สายโดยใช้ซิกบี. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 12(3). 183-193.
อรวรรณ คำไซร้ และทิพวิมล ชมภูคำ.(2559). การพัฒนาระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟฟ้าด้วยเซ็นเซอร์. นำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2. 16-21.
Ruiz-García,G and Flores-Arias. J.M. . (2017). Home Lighting Controller Based on BLE. 2017 IEEE International Conference on Consumer Electronics.
Kumar,P. and Pati,U.C. (2016). Arduino and Raspberry Pi based Smart Communication and Control of Home Appliance System. 2016 International Conference on Green Engineering and Technologies.