กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของร้านจำหน่ายอลูมิเนียม จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ชุติมา ทองหนู

บทคัดย่อ

                การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษากลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของร้านจำหน่ายอลูมิเนียมจังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานและการตลาดของธุรกิจร้านจำหน่ายอลูมิเนียมในจังหวัดเพชรบุรี 2) สร้างกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของร้านจำหน่ายอลูมิเนียมจังหวัดเพชรบุรี และ 3) ประเมินกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของร้านจำหน่ายอลูมิเนียมจังหวัดเพชรบุรี ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอลูมิเนียม จำนวน 15 คน และลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือบริการของร้านจำหน่ายอลูมิเนียมจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 391 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยทำการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ และใช้การหมุนแกนแบบมุมฉาก ด้วยวิธีควาทิแมกซ์
                ผลการวิจัยพบว่า
                1.สภาพปัญหาด้านการดำเนินงานและการตลาดของธุรกิจร้านจำหน่ายอลูมิเนียม พบว่า มีปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ ด้านวิธีการการชำระเงิน ด้านการจัดร้านและจัดสินค้า ร้านมีข้อจำกัดด้านสถานที่จอดรถ ขนาดของร้านไม่เพียงพอ การสร้างการยอมรับจากกลุ่มลูกค้า ขาดการเรียนรู้และประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจ และปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านการตลาด ร้านรูปแบบเดิมที่เริ่มเสื่อมความนิยม ลูกค้าใช้บริการน้อยลงมีการแข่งขันสูงจากร้านค้ารายใหม่และธุรกิจร้านวัสดุก่อสร้างครบวงจร สินค้าและผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมบางประเภทมีต้นทุนการผลิตสูง ลูกค้าไม่เข้าใจในรายละเอียดของสินค้า การส่งมอบสินค้าเกิดความล่าช้าในการส่ง พนักงานไม่แนะนำสินค้าใหม่
                2. การสร้างกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของร้านจำหน่ายอลูมิเนียมจังหวัดเพชรบุรี ได้องค์ประกอบทั้งหมด 10 องค์ประกอบ 40 ตัวแปร มีพิสัยค่า ไอเกน อยู่ระหว่าง 7.010 – 1.306 และมีค่าความแปรปรวนสะสมร้อยละ 59.234 ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์ด้านการตลาด 2) กลยุทธ์การจัดส่งและจัดหาสินค้า 3) กลยุทธ์การให้บริการลูกค้า 4) กลยุทธ์การจัดร้านและประชาสัมพันธ์ 5) กลยุทธ์การตอบสนองลูกค้า 6) กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี 7) กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม 8) กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด 9) กลยุทธ์ด้านลูกค้าสัมพันธ์ 10) กลยุทธ์ด้านราคาและมาตรฐานสินค้า
                3. การประเมินกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของร้านจำหน่ายอลูมิเนียมจังหวัดเพชรบุรี พบว่า มีความเหมาะสมทุกกลยุทธ์
                ผลงานวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของร้านจำหน่ายอลูมิเนียมจังหวัดเพชรบุรี โดยนำกลยุทธ์จากการวิจัยไปเทียบเคียงและปรับใช้ตามบริบทของร้าน


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 76000 ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ ดร.ชลทิตย์ เอี่ยมสำอางค์ และอาจารย์ ดร.วัชระ เวชประสิทธิ์
Corresponding author: bas_chutima_13@hotmail.com

Article Details

How to Cite
ทองหนู ช. . (2020). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของร้านจำหน่ายอลูมิเนียม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 275–293. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.21
บท
บทความวิจัย

References

กมลกานต์ งามตระกูลชล. (2558). มุมมองบนพื้นฐานทรัพยากร กลยุทธ์การแข่งขัน และผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ตัวเงินในมุมมองของลูกค้าของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อลูมิเนียมในประเทศไทย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

กมลทิพย์ เสือสมิง. (2557). ความแตกต่างด้านระดับความสำคัญของส่วนประสมการค้าปลีกที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกร้านวัสดุก่อสร้างระหว่างกลุ่มช่างและผู้รับเหมา Generation X กับ Generation Y ในจังหวัดชัยนาท. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชนิศา มณีรัตนรุ่งโรจน์.(2557). การปรับตัวของธุรกิจครอบครัวค้าปลีกวัสดุก่อสร้างในจังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ธีรวรรธน์ วงศ์เนาวรัตน์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ ในจังหวัดนครราชสีมา. ภาคนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

มนัสนันท์ รักษายศสกล. (2560). ผลกระทบของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปรียาพร จิระไพทูรย์ และ ธีระ ฤทธิรอด. (2556). การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายของร้านจีระพาณิชย์ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.2 (1).35-42.

ปิติกานต์ คําศรี (2549). การวางแผนกลยุทธ์การตลาดอินเทอร์เน็ตของบริษัท วิง ทราเวล เชียงใหม่จํากัด. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2560. 2562, จากhttp://wpc.mod.go.th/Fundamentals/Fundamentals/Pdffile/SM.aspx

วิทยา ด่านดำรงกุล. (2546). การบริหารเพื่อความสำเร็จ. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพมหานคร : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น,

ศิริพร ยุบลมูล. (2560). การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างในจังหวัดพะเยา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา.

สถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์การสำรวจสถานภาพอุตสาหกรรมโลหะนอกกลุ่มเหล็ก (Non-ferrous metals): อะลูมิเนียมภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเหล็กและโลหการประจำปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย.

สิทธา เจียมพานทอง. (2551). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านวัสดุก่อสร้างของลูกค้าในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุชนนี เมธิโยธิน. (2555). กลยุทธ์เพื่อการแข่งขัน. วารสารนักบริหาร. 32 (3). 127-133.

สุรกิจ จันทร์แสงศรี. (2550). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้างจังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการตลาด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning implementation and control. (9th ed). New Jersey: Asimmon &Schuster.