การบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายใต้หลักการ 3Rs – ประชารัฐ ของเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

สุกัญญา กลิ่นชุ่ม

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายใต้หลักการ 3Rs-ประชารัฐ ของเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (2) ศึกษาปัจจัยในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายใต้หลักการ 3Rs-ประชารัฐ ของเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (3) ศึกษาปัจจัยในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล กับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายใต้หลักการ 3Rs-ประชารัฐ ของเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตัวแทนประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 398 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. ระดับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายใต้หลักการ 3Rs-ประชารัฐ ของเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวมและรายด้านมีการบริหารจัดการอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้าน Recycle (การนำกลับมาใช้ใหม่) ด้าน Reduce (ลดการใช้) และด้าน Reuse (การใช้ซ้ำ)
                2. ปัจจัยในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายใต้หลักการ 3Rs -ประชารัฐ ของเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับ ดังนี้ ความตระหนัก ผู้นำชุมชน ความรู้ความเข้าใจ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
                3. ปัจจัยในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายใต้หลักการ 3Rs-ประชารัฐ ของเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ในด้านผู้นำชุมชน ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านความตระหนัก และด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 สมการการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ คือ Ŷ = 0.133 + 0.634 (x1) + 0.689 (x2) + 0.675 (x3)+ 0.684 (x4)


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์และสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยนานาชาติ
แสตมฟอร์ด 76120 ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิตยา สินเธาว์
Corresponding author: klinchum.suganya@gmail.com

Article Details

How to Cite
กลิ่นชุ่ม ส. . . (2020). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายใต้หลักการ 3Rs – ประชารัฐ ของเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร . วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 216–228. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.16
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ.(2559). คู่มือประชาชน การคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธีและเพิ่มมูลค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : บริษัท ฮีซ์ จำกัด.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2559). แนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด”. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนปฏิบัติการ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ.2559 – 2560). กรุงเทพมหานคร : กรมควบคุมมลพิษ.
กาบแก้ว ปัญญาไทย. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่เขตเทศบาลตําบลเกาะคา จังหวัดลําปาง. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เกียรติกุล ถวิล. (2558). พฤติกรรมการจัดเก็บขยะมูลฝอยในรูปแบบ 3R (Reduce, Reuse, Recycle) ของประชานในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จังหวัดสมุทรสาคร. (2561). ปัญหาสำคัญและการแก้ไขปัญหาของจังหวัด. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2561, จาก http://www.samutsakhon.go.th/support40853/source/problem.pdf
ณัฐพงษ์ เสรีพาณิชย์การ. (2553). พฤติกรรมการประยุกต์ใช้หลัก 3Rs ของผู้นำชุมชนในการลดปริมาณขยะ เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัฒนา พัชราวนิช. (2544). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. สาขา นโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฎสมเด็จเจ้าพระยา.
วัลภา เล็กวัฒนานนท์. (2559). เครือข่ายการศึกษาประชารัฐ : นวัตกรรมการปฏิรูปการศึกษาไทย. วารสารการศึกษาไทย, 13(135), 18
สารภี สุกใส (2554). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของผู้นำชุมชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล กะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. รายงานการศึกษารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อนุสรณ์ ธรรมใจ. (2558). ประชารัฐ ประชานิยม และรัฐสวัสดิการ.กรุงเทพธุรกิจ (1), 9.
เอกรัตน์ เลิศอาวาส. (2560). การจัดการขยะมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ตามหลักการของ 3R. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
Bloom, B.S., Hastings, J.S, Madaus, Thomas, G.S. and Baldwin, S. (1971). Hand Book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill.
Hospers, J. (1988). An Introduction to Philosophical Analysis. New York : PrenticeHall.
Roger, C. R. (1978). Tagmemic phonology and natural generative phonology a comparison. Research Papers of the Texas SIL at Dallas, 5. Dallas : Summer Institute of Linguistics.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York : Harper & Row, Publishers, Inc.