การจัดการปัญหาพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยด้วยภาษีสรรพสามิต

Main Article Content

ชญาพร อัศวินปรีชา

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากฎหมายของสหภาพยุโรปที่ใช้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งแนวคิดและเหตุผลเบื้องหลัง 2) ศึกษาโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในประเทศไทย และ 3) ศึกษาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยโดยใช้หลักการจากกฎหมายของสหภาพยุโรป
วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากบทบัญญัติกฎหมาย คือ Council Directive 2003/96/EC – Energy taxation Directive และพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ทั้งยังศึกษาจากหนังสือ บทความ วารสาร งานวิจัย รวมทั้งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. กฎหมายสหภาพยุโรปที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีภาษีสรรพสามิตจากพลังงานไฟฟ้า คือ Council Directive 2003/96/EC – Energy taxation Directive มีวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บที่สำคัญสำหรับพลังงานไฟฟ้าคือเพิ่มแรงจูงใจในการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กล่าวคือเพื่อมุ่งหวังให้ลดการนำเข้าพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเสนอแรงจูงใจทางภาษีให้แก่กิจการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
                2. กฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยการรวมกฎหมายเก่า 7 ฉบับเข้ามาไว้เป็นฉบับเดียว
                3. แนวคิดกฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับพลังงานไฟฟ้าของสหภาพยุโรปสามารถนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้โดยปรับไปตามโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ตาม พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ควบคุมการบริโภคพลังงานไฟฟ้าให้เหมาะสม


* บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขากฎหมายภาษี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 10200
ภายใต้การควบคุมของศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ และศาสตราจารย์ ดร. สหธน รัตนไพจิตร
Corresponding author : chayaassavin@gmail.com

Article Details

How to Cite
อัศวินปรีชา ช. . (2020). การจัดการปัญหาพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยด้วยภาษีสรรพสามิต . วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 201–215. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.15
บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพสามิต,ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม. (2561). กรมสรรพสามิต รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
กรณ์ทิพย์ ชูพันธุ์. (2554). การปรับปรุงโครงสร้างกฎหมายภาษีสรรพสามิตเพื่อสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีผลิตภัณฑ์พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและภาษีอากร คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การไฟฟ้านครหลวง. (2561). วิธี คำนวณค่าไฟฟ้า ด้วยตนเองสามารถทำได้อย่างไร [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.mea.or.th/content/detail/3293/3317/3926
กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร. (2557). ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2557. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม. (2558). คำสอนวิชากฎหมายภาษีอากร. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ์.
ฐาปณี มหาวรศิลป์. (2543). ภาษีสรรพสามิต : เครื่องมือนโยบายเพื่อแก้ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทัศนี เหลืองเรืองรอง. (2560). ความรู้ทั่วไปกฎหมายภาษี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.
ประพันธ์ คงเอียด. (2556) .ปัญหาโครงสร้างฐานและอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายภาษี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประภาศ คงเอียด. (2542). คำอธิบายภาษีสรรพสามิต. กรุงเทพมหานคร : บี.เจ. เพลท โปรเซสเซอร์.
พฤฒิชัย ดำรงรัตน์.(2555). การใช้ภาษีสรรพสามิตเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.
โรบิน เบด และ ไมเคิล ปาร์กิ้น. (2550). เศรษฐศาสตร์จุลภาค, แปลโดย จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงศ์. กรุงเทพมหานคร : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
ศูนย์บริการข้อมูล กฟผ. (2561). รายงานประจำปี 2560 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. นนทบุรี : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา.(2555). โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการจัดทำประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อธิวรรณ สวรรค์วัฒนกุล. (2556). การจัดเก็บภาษีการบริโภคพลังงานไฟฟ้า. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายภาษี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Barthold, T.A. (1994). Issues in the Design of Environmental Excise Taxes. Journal of Economic Perspective. 8(1): 133-138.
Guénaire.M, Jothy,B. ,Lienhardt.P, Rambaud.A, and Nouel.G.L. (2018). Electricity regulation in France: overview. Paris: Thomson Reuters.
European Commission. (2019). EXCISE DUTY TABLES Part II Energy products and Electricity. Retrieved June 27, 2019. from https://ec.europa.eu/taxation_customs/sites/taxation/ files/resources/documents/taxation/excise_duties/energy_products/rates/excise_duties-part_ii_energy_ products_en.pdf
European Commission. (2017.). Indirect taxes - Excise duty (EU harmonized) - Energy products and electricity : Germany. Retrieved November 11, 2017, from http://ec.europa.eu/ taxation_customs/tedb/taxDetails.html?id=4063/1499168099.
Krzysztof Ignaciuk. (2019). Promotion in Poland. Retrieved June 4, 2019. http://www.res-legal.eu/search-by-country/poland/tools-list/c/poland/s/rese/t/promotion/sum/176/lpid/175/