นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ตามแนวโอทอปนวัตวิถี: กรณีศึกษาบ้านคลองโยง ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

วิเชษฐ์ แสงดวงดี และคณะ

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตามแนวโอทอปนวัตวิถีของบ้านคลองโยง ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล วิธีวิจัยที่นำมาใช้ได้แก่ วิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์และเวทีประชาคมแกนนำชุมชน กรรมการบริหารชุมชนท่องเที่ยวตามแนวโอทอปนวัตวิถี ผู้ประกอบการสินค้าชุมชนและคนในชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่ การวิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อความ (common theme analysis) ผลการศึกษาพบว่า คนในชุมชนเห็นพ้องต้องกันในการนำตราสัญลักษณ์และข้อความสโลแกนชุมชนที่นำเสนอผ่านภาพการ์ตูนมาสคอตควายและข้อความสโลแกน “มนต์รักทุ่งคลองโยง” มาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมสื่อเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบ 7 ประเภท ที่สามารถสื่อความหมาย สร้างการรับรู้ และจดจำคุณค่าของอัตลักษณ์ชุมชนบ้านคลองโยงที่แตกต่างจากชุมชนอื่นนำไปสู่การส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวบ้านคลองโยงให้มีความยั่งยืนตามที่ชุมชนปรารถนา ประกอบด้วย มาสคอต สแตนดีย์ (Standy) ป้ายแผนที่ท่องเที่ยวซึ่งแสดงจุดท่องเที่ยวทั้ง 15 แห่งของบ้านคลองโยง ป้ายแผนที่เส้นทางโดยรอบของชุมชนคลองโยง โปสเตอร์ แผ่นพับ สติ๊กเกอร์ไลน์ และสื่อเบ็ดเตล็ดประเภทของที่ระลึก


* อาจารย์สาขาแอนิเมชั่นและสื่อสร้างสรรค์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม, 10160
** อภิวัฒน์ บุญเนรมิตร นักศึกษาสาขาแอนิเมชั่นและสื่อสร้างสรรค์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม, 10160
*** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา แสงดวงดี สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 73000
****อรรถเศรษฐ์ ปรีดากรณ์ อาจารย์สาขาแอนิเมชั่นและสื่อสร้างสรรค์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม, 10160
***** ภาสกร ธนานันท์ อาจารย์สาขาแอนิเมชั่นและสื่อสร้างสรรค์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม, 10160
***** ปัญจเวช บุญรอด อาจารย์สาขาแอนิเมชั่นและสื่อสร้างสรรค์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม, 10160
******* ทศพร เทียนศรี อาจารย์สาขาแอนิเมชั่นและสื่อสร้างสรรค์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม, 10160
Corresponding author : suchadas250205@hotmail.com

Article Details

How to Cite
แสงดวงดี และคณะ ว. . (2020). นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ตามแนวโอทอปนวัตวิถี: กรณีศึกษาบ้านคลองโยง ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 157–172. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.12
บท
บทความวิจัย

References

กลชาญ อนันตสมบูรณ์ ประสิทธิ สารภี ชลิดา จันทจิรโกวิท และ กฤษณะ สมควร. (2560). ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงรายในเขตตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ด้วยสื่อมัลติมีเดีย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 10(3) :196-207.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 25-46.

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2556). การสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยวอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในมุมมองนักท่องเที่ยวกลุ่มวัยรุ่น. Veridian E-Journal, SU, 6 (1), 548-560

มรรษพร สีขาว สุวารีย์ ศรีปูณะ และรวีวรรณ สนั่นวรเกียรติ. (ม.ป.ป.). รูปแบบการสร้างและพัฒนาสื่อการท่องเที่ยวประเภทเว็บไซต์เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร : 103-114). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2562 จาก https://research.kpru.ac.th/sac/fileconference/29052018-05-03.pdf

วีระพล ทองมา. (2559). การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism :CBT) สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนในเขตที่ดินป่าไม้. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562 จาก www.dnp.go.th/fca16/ file/i49xy4ghqzsh3j1.doc

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2559). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2562 จาก http://www.cbt-i.or.th/index.php

สมศักดิ์ คล้ายสังข์. (2560). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์และสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการตลาดและการท่องเที่ยว. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12 (3) : 285-296.

อภิญญา บัคคาลา อรุณนภาพร. (2554). แนวทางในการพัฒนาและสื่อความหมายแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่บนเส้นทางรถไฟสายมรณะ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 31 (2), 7-20.

อภิวัฒน์ ปันทะธง จิรวัฒน์ พิระสันต์ และนิรัช สุดสังข์. (2555). การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3 (1), 114-125.

Lesego S.S.(2010).Community-based tourism ventures, benefits and challenges: Khama Rhino Sanctuary Trust, Central District, Botswana. Tourism Management. 31 (1). 136-146.

Waisbord, S. (2014). The Strategic Politics of Participatory Communication. In The Handbook of Development Communication and Social Change .NY: John Willey & Son.