อิทธิพลของการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหลักศีล 5 ของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

พระมหาจักรพงษ์ กันรัมย์

บทคัดย่อ

                การวิจัยเรื่อง อิทธิพลของการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหลักศีล 5 ของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาระดับการปฏิบัติตามหลักศีล 5 ในการดำเนินชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาใน จังหวัดนครปฐม 2.เปรียบเทียบระดับการปฏิบัติตามหลักศีล 5 ในการดำเนินชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. ศึกษาอิทธิพลของการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหลักศีล 5 ของนักเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดนครปฐม โดยหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการใช้สูตรของ เครจซี่และมอร์แกน ยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 จะได้ขนาดของตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย โดยค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นด้าน การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง เท่ากับ 0.72-0.85 และ การปฏิบัติตามหลักศีล 5 ในการดำเนินชีวิต เท่ากับ 0.71-0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่า
                1. การปฏิบัติตามหลักศีล 5 ในการดำเนินชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาใน จังหวัดนครปฐมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.29) โดยข้อที่ได้รับการประเมินสูงสุดได้แก่ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.33)
                2. การปฏิบัติตามหลักศีล 5 ของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม มีความแตกต่างกันตาม เพศ ระดับการศึกษา การเข้าค่ายจริยธรรม ประเภทของโรงเรียน อาชีพบิดา อาชีพมารดา และการศึกษาของมารดา
                3. การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่ส่งผลต่อ มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามหลักศีล 5 ในการดำเนินชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาใน จังหวัดนครปฐมในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยที่มีผลมากที่สุดในสามลำดับแรกได้แก่ ด้านเงื่อนไขความรู้ (b=0.22) ด้านความพอประมาณ (b=0.20) และด้านความมีเหตุผล (b=0.16) สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 78 และสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
                Y = 0.89 +0.20 X1**+ 0.16 X2 **+ 0.12 X3**+ 0.22 X4**+ 0.09 X5**


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 73000 ภายใต้การควบคุมของ รองศาสตราจารย์ โสรัจ กายบริบูรณ์ และ อาจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย
Corresponding author: nenzaza05@gmail.com

Article Details

How to Cite
กันรัมย์ พ. . (2020). อิทธิพลของการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหลักศีล 5 ของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 76–91. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.6
บท
บทความวิจัย

References

กชกร ชำนาญกิตติชัย ธิติมา ประภากรเกียรติ เอนก แสงโนรี และจิรเดช สมิทธิพรพรรณ(2554). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพมหานคร : รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

กอบกุล วิศิษฏ์สรศักดิ์ (2548).พฤติกรรมการครองตนตามศีล 5 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปีการศึกษา 2548. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

กิตติชัย สุธาสิโนบล.(2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวพุทธ เพื่อสะท้อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในบริบทแห่งสังคมไทยยุคปัจจุบัน.วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา.5 (1).149-164.

กลุ่มงานข้อมูลและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (2559).บรรยายสรุปจังหวัดนครปฐม ปี 2559. นครปฐม : สำนักงานจังหวัดนครปฐม

ปวัน มีนรักษ์เรืองเดช. (2549). การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการชีวิตพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.(2554).เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน.

พระประพันธ์ศักดิ์ธีรธมฺโม และอุทัย สติมั่น.(2559).การนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพืื่อส่งเสริมจริยธรรมของนักเรียนระดับชัั้น มัธยมศึกษาโรงเรียนหนองแค (สรกิจพิทยา) จังหวัดสระบุรี.วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์.1(3).37-52.

พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร.(2550)., แนวคิดและขบวนการพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม. กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพเราะ เลิศวิราม.(2550). Sufficiency Economy เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร:ไทยเดย์ดอทคอม.

สถาบันราชภัฏสวนดุสิต. (2547). สวนดุสิตโพลล์: ความโหดร้ายของคนไทย ณ วันนี้.[ออนไลน์] ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก http://www.ryt9.com/s/sdp/127016

สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (2548). สื่อโทรทัศน์กับการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเยาวชน : กรณีศึกษานักเรียน/นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิจัยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2550). เศรษฐกิจแบบพอเพียง. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2559. จาก http://www.thaiedresearch.org/result /result.php?id=3996.

อมร อำไพรุ่งเรือง (2554).การศึกษาพฤติกรรมการรักษาและการล่วงละเมิดศีล ๕ ของพุทธศาสนิกชนกรุงเทพมหานคร .พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา).มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล (2548). การรักษาศีลห้าของพุทธศาสนิกชนวัยแรงงาน : กรณีศึกษาเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Wisit Rittiboonchai. (2017).The philosophy of sufficiency economy to happiness in the work of the staff in Bangkok.The 2 nd International Conference of Multidisciplinary Approaches on UN Sustainable Development Goals (UNSDGs). Bangkok Thailand 28-29 December 2017 : 65-71.