ปัญหาและความต้องการเพื่อการพัฒนาของผู้ประกอบการค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ จังหวัดยะลา

Main Article Content

อัปสร อีซอ และคณะ

บทคัดย่อ

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงานของผู้ประกอบการค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ จังหวัดยะลา และความต้องการเพื่อการพัฒนาของผู้ประกอบการค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ จังหวัดยะลา โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย ประชากรเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐในจังหวัดยะลา จำนวน 379 ราย ผู้วิจัยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ กำหนดความเชื่อมั่น 95% ทำให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 195 ราย ใช้สถิติวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการดำเนินงานของผู้ประกอบการค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ จังหวัดยะลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเป็นปัญหาด้านการเงินและบัญชี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.16 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 ปัญหาด้านการบริหาร ค่าเฉลี่ย 1.96 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60 และปัญหาด้านการตลาด ค่าเฉลี่ย 1.87 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60 สำหรับความต้องการเพื่อการพัฒนาของผู้ประกอบการค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ จังหวัดยะลา พบว่า ความต้องการด้านเงินทุน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.34 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63 ความต้องการด้านความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.33 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.67 ส่วนความต้องการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์/อุปกรณ์ ค่าเฉลี่ย 2.25 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.62


* อาจารย์ประจำสาขาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา 95000
** ผศ.ดร.นันทรัตน์ นามบุรี สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา 95000
ดร.กัลยรัตน์ พินิจจันทร์ สาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา 95000
ดร.ศุภมาส รัตน์พิพัฒน์ สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา 95000
อาจารย์ชริฮาน ยีแว สาขาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา 95000
อาจารย์สุธิดา เลขาวิจิตร สาขาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา 95000
Corresponding author: apsornyru@gmail.com

Article Details

How to Cite
อีซอ และคณะ อ. (2020). ปัญหาและความต้องการเพื่อการพัฒนาของผู้ประกอบการค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ จังหวัดยะลา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 31–41. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.3
บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารการพาณิชย์ภูมิภาค.(2561). รายงานและสถิติ. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.ops.moc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3206

ภวัต ธนสารแสนล้าน. (2558). การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมในจังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 8 (2) : 74-86.

นภัทร ไตรเจตน์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชห่วย) กรณีศึกษาในตลาดไท ปทุมธานี. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประชาชาติธุรกิจ. (2562). ร้านธงฟ้าประชารัฐ กระตุ้นเศรษฐกิจ 2 หมื่นล้านบาท. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.prachachat.net/economy/news-156773.

วัชระ ขาวสังข์ เพ็ญนภา เกื้อเกตุ แวอาซีซะห์ ดาหะยี, ศุภาวิณี กิติวินิต และโซฟีร์ หะยียูโซ๊ะ (2559). ปัญหาและความต้องการเพื่อการพัฒนากลุ่มเบเกอร์รี่ ตำบลท่าสาป จังหวัดยะลา. การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 “สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”. อุบลราชธานี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชธานี. 1240-1250.

สุจินดา เจียมศรีพงษ์. (2554). ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชห่วย) : ปัญหาและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์. 6 (1) : 9-23.

สุวิมล แม้นจริง. (2546). การจัดการการตลาด. กรุงเทพมหานคร : เอช. เอ็น. กรุ๊ป.

อังสนา ประสี และขจรวรรณ อิฐรัตน์. (2555). ปัญหาการดําเนินงานและความต้องการการสนับสนนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง. 5 (1) : 82-96.