การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การ ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2

Main Article Content

สุดาวัลย์ ศรีเพชร

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับของสุขภาพองค์การของโรงเรียน 3) วิเคราะห์การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาขยายโอกาสของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหา 0.67 และ 1.00 มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามการบริหารตามหลัก ธรรมาภิบาล เท่ากับ 0.93 และสุขภาพองค์การของโรงเรียน เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. ระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ค่านิยมประชาธิปไตย ความรับผิดชอบทางการบริหาร การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ และประชารัฐ
                2. ระดับสุขภาพองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การมุ่งเน้นวิชาการ การอยู่ร่วมกันของครู การสนับสนุนทรัพยากร อำนาจอิทธิพลของผู้บริหาร ความเข้มแข็งขององค์การ และความเป็นผู้นำของผู้บริหาร
                3. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 เรียงลำดับอิทธิพลจากมากไปน้อยดังนี้ ความรับผิดชอบทางการบริหาร ค่านิยมประชาธิปไตย การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ และประชารัฐเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                สมการวิเคราะห์การถดถอย คือ Y ̂tot = 1.15 + 0.24(X4) + 0.25(X2) + 0.17(X1)+0.09(X3)


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ ดร. นภาเดช บุญเชิดชู และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย
Corresponding author : Taewann.sp@gmail.com   

Article Details

How to Cite
ศรีเพชร ส. . (2020). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การ ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(1), 16–30. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.2
บท
บทความวิจัย

References

คณพงศ์ ดาเลิศ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ชุตินันท์ แตงก่ำ. (2556). สุขภาพองค์การตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรโรงเรียนบ้านมาบตาพุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐิตารีย์ ตรีเหรา. (2557). สุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.4 (3) : 39-48.

ดารินทร์ สงมะเริง. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 (2553) ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 127) ตอนที่ 45 ก (22 กรกฎาคม)

เพียงหทัย นิรมล. (2557). สุขภาพองค์การของโรงเรียนตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

มยุรี แสนสุข. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา กับสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

เรวัตร งะบุรงค์.(2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ลาวัณย์ เพิ่มสุขรุ่งเรือง. (2559). การบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วิไลรัตน์ ฝ่ายดี.(2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลาง ในอำเภอตาพระยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. งานนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิสันต์ เกตุคง. (2559). สุขภาพองค์การของโรงเรียนเอกชนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาภาคกลางวิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. (2561). พันธกิจสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2561 จาก http://www.sp2.go.th/sp2/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

อธิจิต อาภรพงษ์. (2559). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อังคนา พิมพ์ดี. (2559). การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ตามระบบประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อารีวรรณ์ ปักกาเวสูง. (2555). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.3 (1) : 159-165

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2553). การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล(Good Governance) กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.