ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จ ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในสำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อนันต์ โพธิกุล

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในสำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
                การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากประชากร ได้แก่ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ 128 คน และกลุ่มตัวอย่าง 100 คน โดยคำนวณจากสูตรของทาโร ยามาเน่ และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และใช้สถิติอนุมานในการทดสอบสมมติฐานได้แก่การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
                ผลการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย พบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโดยรวมมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร สามารถเขียนสมการการถดถอยได้ดังนี้
                ความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ = 0.962 + 0.259 (การวางแนวทางองค์การไปสู่อนาคต) + 0.310 (ผู้นำที่ดีต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้คนอื่น) + 0.200 (การปรับองค์การเพื่อมุ่งไปสู่แนวทางที่ต้องการ) รวมทั้งภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโดยรวมสามารถพยากรณ์แนวโน้มความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ร้อยละ 53.90 จำนวนร้อยละดังกล่าวแสดงได้ว่ารูปแบบนี้มีความน่าเชื่อถือในระดับปานกลาง นอกจากนี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโดยรวมยังมีอิทธิพลในการพยากรณ์ความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ร้อยละ 77.10


* ว่าที่ ร.ต.ดร.อนันต์ โพธิกุล ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาทางไกล มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 10170
Corresponding author : anan_pho@hotmail.com

Article Details

How to Cite
โพธิกุล อ. (2019). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จ ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในสำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(2), 297–309. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2019.21
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ รักชาติเจริญ. (2553). รัฐอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงาน. (2546). บทบาทภาวะผู้นำ (4 Roles of Leadership). เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกับ PacRim Leadership Co;LTD.

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2554). คุณภาพการให้บริการ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http : //www.tpa.or.th/

พงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง (2552). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของอธิการบดีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฎ. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารงานวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 1 (1). 2-22.

สุจิตรา นภาคณาพร (2554). กระบวนการจัดการภาวะผู้นำและทักษะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย, ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรินทร์ ชุมแก้ว. (2556). วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำแบบสร้างความเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมการทำงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารในองค์การเอกชน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อุดม พินธุรักษ์ (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

Bass, B.M. & Bass, R. (2008). The Bass Handbook of Leadership: Theory, Research, and Managerial Applications. (4th ed.) New York: Free Press.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper and Row.

Delone, W. H., & McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of information system success: A ten-year update. Journal of Management Information Systems, 4 (19). 9-30.

Mintzberg, H. and Waters, J.A. (1982) Tracking Strategy in an Entrepreneurial Firm. Academy of Management Journal, 25, 465-499. https://dx.doi.org/10.2307/25607

Rabin, J., Hildrerh, W. B., & Miller, G. J. (2007). Handbook of public administration (3rd ed.). New York. Taylor & Francis Group.