ตัวแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

วัชรวิพัฒน์ ศิลปารัตน์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร (2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร (3) ศึกษาข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร และ (4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือ ตัวแทนครัวเรือนในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 384 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย (1) ตัวแทนจากส่วนราชการ จำนวน 9 คน และ (2) ตัวแทนจากเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 7 คน โดยใช้เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มย่อย 
                ผลการศึกษาพบว่า
                (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาครโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับดังนี้ ปัจจัยความต้องการทำประโยชน์ต่อสังคม ปัจจัยความตระหนัก ปัจจัยความต้องการทางสังคมกับผู้อื่น ปัจจัยความต้องการตอบสนองสภาวะทางจิต ปัจจัยการรับรู้ข่าวสาร ปัจจัยความสนใจและห่วงกังวลร่วมกัน ปัจจัยการตกลงร่วมกันที่จะเปลี่ยนแปลงชุมชน ปัจจัยความเดือดร้อนไม่พึงพอใจร่วมกัน ปัจจัยความต้องการเกียรติและศักดิ์ศรี ปัจจัยความต้องการอำนาจ ปัจจัยความต้องการรู้จักกับบุคคลสำคัญ และปัจจัยความต้องการอิทธิพล
                (2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาครโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับดังนี้ ด้านการได้รับประโยชน์ ด้านการประเมินผล ด้านการดำเนินกิจกรรม ด้านการใช้ประโยชน์ และด้านการวางแผน และผลการวิเคราะห์ข้อมูลการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรงระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาครกับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาครพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมกับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ปัจจัยการรับรู้ข่าวสาร (X17 Beta = 0.32) รองลงมาคือ ปัจจัยความต้องการทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม (X8 Beta = 0.31) และปัจจัยความต้องการทางสังคมกับผู้อื่น (X6 Beta = 0.18) โดยสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized) มีดังนี้ = 1.07 + (0.08X2 ) + (0.06X3 ) + (0.07X5) + (0.12X6) + (0.22X8) + (0.10X12) + (0.14X15) + (0.11X16) + (0.35X17) และสมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized) มีดังนี้  =  0.14Z2 + 0.13Z3 + 0.10Z5 + 0.18Z6 + 0.31Z8 + 0.12Z12 + 0.16Z15 + 0.11Z16 + 0.32Z17
                (3) ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร 3 ลำดับแรก ได้แก่ (3.1) ควรมีการประชาสัมพันธ์ถึงหน้าที่ในการจัดการขยะของประชาชนให้มากขึ้น (3.2) หน่วยงานในท้องถิ่นควรจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์การจัดการขยะของประชาชน และ (3.3) ควรจัดให้มีค่าตอบแทนแก่สมาชิกอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านเพื่อจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น (4) แนวทางการพัฒนาการยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ (4.1) โครงการจัดการและคัดแยกขยะครัวเรือน (4.2) การจัดโครงการไลน์ประชาสัมพันธ์ลดการใช้ถุงพลาสติก (4.3) การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมเด็กต้นแบบ และ (4.4) การจัดตั้งโครงการธนาคารขยะ


* นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 10900 ภายใต้การควบคุมของ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยากร หวังมหาพร
Corresponding author : s_watcharawipat@hotmail.com.

Article Details

How to Cite
ศิลปารัตน์ ว. (2019). ตัวแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(2), 225–243. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2019.17
บท
บทความวิจัย

References

คะนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (2545). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 : ปัญหา อุปสรรค และทางออก. กรุงเทพฯ : ธรรมดาเพล.

จันทร์เพ็ญ มีนคร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

นิธินาถ เจริญโภคราช. (2559). การปลูกสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชนลุ่มน้ำโขง. พิชญทรรศน์, 14 (1): 35.

นิรมล กุลศรีสมบัติ,และพรสรร วิเชียรประดิษฐ์. (2556). กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการชุมชนของประเทศญี่ปุ่น. การประชุมวิชาการระดับชาติ "การพัฒนาคน ชุมชน องค์การ และสังคม พัฒนบริหารศาสตร์กับทางเลือกใหม่ด้านการพัฒนาในอนาคต,” 13-14 มิถุนายน 2556, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิมลรัตน์ ศรีรัตนกูล, กสมล ชนะสุข และจุฑามาส ศรีชมภู. (2559). การศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ. (2555). สภาพปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการขยะ. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2542). การเมือง: แนวความคิดและการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานจังหวัดสมุทรสาคร. (2560). แผนยุทธศาสตร์จังหวัดสมุทรสาคร (พ.ศ.2561-2564). สมุทรสาคร : สำนักงานจังหวัดสมุทรสาคร.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสาคร. (2560). สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล กรมควบคุมมลพิษ.

สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม. (2543). นโยบายและกฎหมายด้านการจัดการมูลฝอยของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คำปายอิมเมจจิ้ง.

สุกันยา บัวลาด. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อมรรัตน์ ช่างฉาย. (2559). รูปแบบการพัฒนากระบวนการเรียนรูแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของผู้ประกอบการร้านค้าตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศ. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. ปทุมธานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

อรพินท์ สพโชคชัย. (2550). การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

Gotame, Manira. (2012). Community Participation In Solid Waste Management Kathmandu Master of Philosophy in Development. Norway: Geography Department, University of Bergen.

Harry, H. P., Blair, L. F., Donald, H.J & Schaenman, (1992). How effective is your Community Service? (2nd ed.). Washington, D.C.: Urban Institute and International City Management Association.

Kenneth, M., Stewart, J. & England, R. (1989). Race, Class, and Education. Madison: University of Wisconsin.

Krejcie, R., V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sampling Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 10 (11): 308-316.

Kurian, Joseph. (2005). Stakeholder participation for sustainable waste management. India: Centre for Environmental Studies Anna University.

Milbrath, L. & Goel, W. (1977). Political Participation How and Why Do People Get Involved in Politics (2nd ed.). Chicago: Rand McNally.

Minn, Z., Srisontisuk, S. & Laohasiriwong, W. (2010). Promoting People’s Participation in Solid Waste Management in Myanmar. Research Journal of Environmental Sciences, 23 (6): 212-219.

Nie, Norman & Verba, Sidney. (1969). Political Participation. (2nd ed.). Massachusetts: Addison Wesley.

Orfield, Gary. (1988). Gender, Income and Career Inequality Political Participation. Orlando: Harcourt, Brace & Jovanovich.

Osborn, D. & Gaebler, T. (1992). Needs of Participation. Reading, Massachusetts: Addison-Wesley.

Scavo, A. & Snow, C. (2016). Media Action’s governance programs and political participation. Massachusetts: Addison Wesley.

Wiedemann, P. M. (1993). Public participation in waste management decision making: Analysis and management of conflicts. Massachusetts: The institute for Social Research.