ผลกระทบด้านเทคโนโลยีจากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง ของการปฏิบัติงานวิชาชีพบัญชี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การนำนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มาใช้ในประเทศมีบทบาททำให้หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งทางภาครัฐและเอกชนตื่นตัวขึ้นจากการนำระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาขับเคลื่อนประเทศชาติและทำให้กระบวนการทำงานด้านต่าง ๆ กระชับและสมาร์ทมากขึ้น รวมถึงบัณฑิตวิชาชีพบัญชีจะต้องมีศักยภาพเพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเข้ามาและจะต้องปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจ
วิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบทางด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานของบัณฑิตวิชาชีพบัญชีที่เกิดมาจากการนำนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มาใช้อันจะส่งผลต่อปัจจัยทางด้านระบบเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ ระบบโปรแกรมสารสนเทศทางการบัญชีและระบบโปรแกรมสารสนเทศด้านอื่น ๆ ที่ใช้ในองค์กรซึ่งจะส่งผลต่อผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในการปฏิบัติงานของบัณฑิตวิชาชีพบัญชี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ประกอบไปด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ประกอบไปด้วย แบบสอบถามออนไลน์ เก็บข้อมูลจากประชากรผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีซึ่งเป็นบัญชีบัณฑิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 195 คน ได้ตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามสมบูรณ์จำนวน 173 คน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น (Stepwise)
ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบจากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานวิชาชีพบัญชีผ่านระบบสารสนเทศภายในสำนักงาน ประกอบด้วย ระบบภาษีออนไลน์ X1 และระบบบัญชีออนไลน์ X2 โดยมีผลการวิจัยดังนี้
ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ Y1=37.754+0.25X1 ;R2=0.047
ระบบโปรแกรมสารสนเทศทางการบัญชีในสำนักงาน Y2=12.911+0.35x1+0.532x2 ;R2=0.165
ระบบโปรแกรมสารสนเทศอื่น Y3=45.511+0.282x2 ;R2= 0.065
ส่วนเทคโนโลยีทางการเงิน X3 ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานวิชาชีพบัญชีผ่านระบบสารสนเทศภายในสำนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
* อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
** อาจารย์พิเศษ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
*** ดร.,อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
Corresponding author: ve_ut@hotmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). Thailand 4.0: “สร้างความเข้มแข็งจากภายใน เชื่อมโยงเศรษฐกิจ.ไทยสู่โลก” eco-challenge magazine,11(3), 5-9.
สุชาดา กรวิทยาศิลปะ. (2559). นักบัญชีกับประเทศไทย 4.0. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2560. จาก https://www.fap.or.th/images/column_1477650726/Thailand%204_0.pdf
Thai quote. (2560). 10 อาชีพที่ตลาด- แรงงานต้องการ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ2 ธันวาคม 2560. จาก https://www.thaiquote.org/content/21054
Jackling, B.,& De Lange, P.(2009). Do accounting graduates’ skills meet the expectations of employers? A matter of convergence or divergence. Accounting Education : An International Journal, 18 (4/5), 369-85.
James H. Long and Jonathan D. Stanley (2012). Managing Interruption in the Accounting Workplace. THE CPA JOURNAL, 60-63.
James fanto (2016). Dashboard compliance: benefit, threat, or both? Brook. J. Corp. Fin. & Com. L. vol 11
Mock, T. J., Srivastava, R. P., & Wright, A. M. (2017). Fraud Risk Assessment Using the Fraud Risk Model as a Decision Aid. Journal of Emerging Technologies in Accounting, 14(1), 37-56. doi: 10.2308/jeta-51724
Mike Padberg (2015). Big Data and Business Intelligence: a data-driven strategy for e-commerce organizations in the hotel industry, Retrieved May 20,2017 https://essay.utwente.nl/68095/1/Padberg_MA_MB.pdf
Tempone, I., Kavanagh, M., Segal, N., Hancock, P. Howieson, B. & Kent, J.(2012). Desirable generic attributes for accounting graduates into the twenty-first century: The views of employers. Accounting research journal, 25(1), 41 – 55
Thomas Tam. (2013). What IT knowledge and skills do accounting graduates need?, New Zealand Journal of Applied Business Research. 11(2), 23-42.
Von Leipzig, T., Gamp, M., Manz, D., Schöttle, K., Ohlhausen, P., Oosthuizen, G. and von Leipzig, K. (2017). Initializing Customer-orientated Digital Transformation in Enterprises. Procardia Manufacturing, 8, 517-524. doi: 10.1016/j.promfg.2017.02.066