การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ โครงการหมู่บ้านรักษาศีลห้า จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีลห้า จังหวัดนครปฐม และ 2) ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบฯ โดยทำการพัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชัน (Web Application) และใช้หลักการพัฒนาระบบแบบ SDLC (System Development Life Cycle) สำหรับการออกแบบและพัฒนาระบบ หลังจากนั้นทำการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และทำการประเมินความพึงพอใจของการใช้งานระบบสารสนเทศหมู่บ้านรักษาศีลห้าจากกลุ่มผู้ใช้งาน ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐม และผู้ใช้งานทั่วไปจำนวน 30 ท่าน
การศึกษาวิจัยพบว่า ผลการประเมินประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน โดยทำการวัดประสิทธิภาพ 4 ด้าน คือ 1) ด้านการออกแบบหน้าจอของระบบ 2) ด้านความสามารถในการทำงานของระบบ 3) การประมวลผลของระบบ และ 4) ด้านความปลอดภัยของระบบ ผลการประเมินโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ระดับดี คือ มีค่าเฉลี่ย 4.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58
ผลการประเมินความพึงพอใจของการใช้งานระบบจากผู้ใช้งาน จำนวน 30 ท่าน โดยทำการประเมินทั้งหมดจำนวน 10 ด้าน คือ 1) ข้อมูลสารสนเทศมีความทันสมัย 2) ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้องตรงกันเชื่อถือได้ 3) ระบบสารสนเทศครอบคลุมครบถ้วนทุกภารกิจ 4) ระบบสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
*,**** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
** อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
*** อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และจำลอง ครูอุตสาหะ. (2554). คัมภีร์ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยเจริญการพิมพ์.
กองกลางสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2557). โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านศีล 5”. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2558 จาก https://www.gad.moi.go.th/nsv-17-07-57-1889.pdf
ดริณ จักรพันธุ์ อินทร์อุดม. (2555). การเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระสงค์ไทยผ่านสื่อใหม่: กรณีศึกษาเว็ปไซต์ธรรมะทูเดย์ดอทคอม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนันดา รังสิกุล. (2551). การนำเสนอองค์ประกอบ การออกแบบและเนื้อหาที่เหมาะสมของเว็บไซต์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
แพรภัทร ยอดแก้ว. (2558). “การประเมินผลกิจกรรมในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของจังหวัดนครปฐม.” การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7, 31 มีนาคม- 1 เมษายน 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.
พงศ์กร จันทราช. (2554). การพัฒนาระบบสารสนเทศวัดในเขตพื้นที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 4, (2). 6-18.
รัตน์ระพี พลไพรสรรพ์ นิดาพรรณ สุรีรัตนันท์ และ อัครา ประโยชน์. (2552). ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของโรควัณโรค. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5 (2). 7-12.
ศิวัช กาญจนชุม และวิชาญ หงส์บิน. (2542). ฐานข้อมูล (Database). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศักดิ์ชาย ตั้งวรรณวิทย์. (2555). กลยุทธ์ระบบสารสนเทศและการพัฒนาแผนระบบสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 8. (2), 56-63.
สุรศักดิ์ นามมัย. (2548). การศึกษารูปแบบของหน้าโฮมเพจที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์มหาราชวิทยาลัย. (2557). API คืออะไร ทำหน้าที่อะไร ประโยชน์ของ API มีอะไรบ้าง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2558 จาก https://www2.it.mcu.ac.th/?p=3748
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). คู่มือการดำเนินงานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หมู่บ้านรักษาศีล 5. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2558 จาก https://www.sila5.com/download/index/index
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2546).การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล = Database design and management. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.