การเสริมสร้างพลังอำนาจส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจของครู 2) ศึกษาระดับ ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู และ 3) วิเคราะห์การเสริมสร้างพลังอำนาจซึ่งเป็นปัจจัยส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 297 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้น โดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67 และ 1.00 มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามการเสริมสร้างพลังอำนาจของครู เท่ากับ 0.97 และขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การเสริมสร้างพลังอำนาจของครูอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การได้รับความก้าวหน้าในงาน การได้รับการเพิ่มพูนความสามารถและทักษะ การได้รับความช่วยเหลือสนับสนุน การได้รับข้อมูลข่าวสาร การได้รับรางวัลและการยอมรับและการได้รับทรัพยากร
2. ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ความสำเร็จในงาน สภาพการทำงาน นโยบายและการบริหาร และสวัสดิการและผลตอบแทน
3. การเสริมสร้างพลังอำนาจของครู ประกอบด้วย การได้รับการเพิ่มพูนความสามารถและทักษะ (X5) การได้รับข้อมูลข่าวสาร (X2) การได้รับความก้าวหน้าในงาน (X4) และการได้รับรางวัลและการยอมรับ (X6)
* วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ ดร. นภาเดช บุญเชิดชู และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาภา ยืนยาว
Corresponding author : dararataa1154@gmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กัณฑ์ฐพิชญา ศิริพุ่มซ้อน. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานและมีคุณค่าใน ตนเองต่อความสามารถในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลของวันวิชาชีพ โรงพยาบาลหัวหิน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นวิยา ผ่องพรรณ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานเป็นทีมและการธำรงรักษาบุคลากรกับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลของรัฐในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
น้ำฝน ใจดี. (2558). รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของในโรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในเขตภาคกลาง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประจักษ์ วงษ์ศรีวอ. (2555). การเสริมสร้างพลังอำนาจของครูสถาบันอาชีวศึกษา สังกัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
ประไพเพชร วงศ์หาญ. (2559). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูกลุ่มโรงเรียนศรีราชา 1สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปาณิสษา เสนาวงศ์. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มคณะวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยของรัฐ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พเยาว์ หมอเล็ก. (2560). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
วรุตม์ บริบูรณ์วิทยา. (2558). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภออรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิภา แซ่อึ่ง. (2559). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีน กรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล. (2556). การบริหารงานบุคคลทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2).ชลบุรี: โรงพิมพ์กราฟฟิคซิตี้.
สถาพร ภูบาลเช้า. (2559). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (2560). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. ปทุมธานี: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กลุ่มนโยบายด้านการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สุวิมล ติรกานันท์. (2557). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิชาติ ทองน้อย. (2556). การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Conger, J. A., & Kanungo, R. N. (1988). The empowerment process. Integrating theory and practice. Academy of management Review, 13 (3), 471-182.
Jones, S. D. (2000). Teacher empowerment and teacher morale. Doctor of Education. South Carolina State University.
Kanter, R. M. (1977a). Men and women of the corporation. New York: Basic Books.
Kanter, R. M. (1997b). Frontiers of management. New York: Harvard Business Review.
Wunder, K. M. (1997). Empowerment and professional community: Keys to teacher efficacy, motivation, and morale. Doctor of Philosophy. The Pennsylvania State University.