การศึกษาอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจากอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวเรียนรู้อาหารเชิงสุขภาพของภูมิภาคตะวันตก: กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวล่องชมวิถี คลองมหาสวัสดิ์ ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

วรารัตน์ สานนท์
กมลพร สวนทอง

บทคัดย่อ

                งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทอาหารท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ 2) เพื่อศึกษาอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ และ 3) เพื่อสร้างเรื่องเล่า (story) และวิธีการเรียนรู้อาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพตามอัตลักษณ์ชุมชนสำหรับนักท่องเที่ยวในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและปฏิบัติการแบบบูรณาการผ่านกลุ่มนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ในประเด็นต่าง ๆ กัน เป็นการส่งเสริมให้ชุมชนได้มีแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนโดยใช้เรื่องเล่าอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว อีกทั้งยังเป็นช่องทางสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชน นำไปสู่ยกระดับการท่องเที่ยวเรียนรู้อาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ
                ผลการศึกษาพบ ว่า 1) ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ มีอัตลักษณ์ในการท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ การชมนาบัว แหล่งเรียนรู้ข้าวตังบ้านศาลาดิน สวนกล้วยไม้ บ้านฟักข้าว และชมสวนผลไม้และนาข้าวปลอดสารพิษ พืชผักพื้นบ้านที่นำมาปรุงอาหารท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ เช่น ข้าว ผักบุ้งไทย ใบและผลมะดัน ใบมะขาม ส้มโอ ส่วนเนื้อสัตว์หลักเป็นปลาต่าง ๆ ได้แก่ ปลานิล และปลาช่อน ผลจากศึกษาโดยสัมภาษณ์เชิงลึกและประชุมกลุ่มย่อยด้านข้อมูลอาหารท้องถิ่น ได้ชื่ออาหารท้องถิ่นจำนวน 53 ชนิด พบว่าส่วนใหญ่เป็นอาหารคาวประเภทแกงไม่ใส่กะทิ และมีพืชผักสวนครัวเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญใช้ในการประกอบอาหาร เนื่องจากชุมชนคลองมหาสวัสดิ์มีพื้นที่ติดริมน้ำจึงนำทรัพยากรอาหารในท้องถิ่นมาประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย 2) การศึกษาความเป็นอาหารท้องถิ่นโดยการสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าอาหารส่วนใหญ่มีการยอมรับว่าเป็นอาหารท้องถิ่น เป็นอาหารที่รู้จักการมานานมากกว่า 10 ปี มีปริมาณวัตถุดิบในท้องถิ่นที่ใช้ในการประกอบอาหารมากกว่าร้อยละ 70 ซึ่งสามารถประกอบอาหารได้ง่ายสำหรับการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยว และ 3) การสร้างสำรับอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ ของชุมชนคลองมหาสวัสดิ์จัดโดยการสาธิตและการสัมภาษณ์ได้ 6 สำรับ โดยนำประวัติ ความเป็นมา และวิถีชุมชน มาเชื่องโยงสร้างเรื่องเล่าและวิธีการเรียนรู้อาหารท้องถิ่น ความเป็นสำรับไทย การใช้สมุนไพรและภูมิปัญญา เนื่องจากชุมชนมีการคมนาคมที่สะดวก ระยะทางที่ห่างจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไม่มากนัก ทำให้ปัจจุบันมีวิถีชุมชนเมืองจึงพบว่ามีอาหารจานเดียวในการใช้ในกิจกรรมท่องเที่ยวที่เอื้อต่อความสะดวกสบาย เช่น ข้าวห่อใบบัว ข้าวน้ำพริกกะปิห่อใบบัว ผัดไทย เพื่อใช้สำหรับจัดสำรับอาหารให้แก่นักท่องเที่ยวของทางชุมชนอีกด้วย


* อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Corresponding author : kamolporn@webmail.npru.ac.th

Article Details

How to Cite
สานนท์ ว., & สวนทอง ก. (2019). การศึกษาอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจากอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวเรียนรู้อาหารเชิงสุขภาพของภูมิภาคตะวันตก: กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวล่องชมวิถี คลองมหาสวัสดิ์ ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(2), 97–114. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2019.8
บท
บทความวิจัย

References

เกศศิณี ตระกูลทิวากร. (2557). รายงานการวิจัยเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยใช้ภาพลักษณ์ของอาหารท้องถิ่น. กรุงเทพ ฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. 2540. อาหารพื้นบ้าน 4 ภาค. กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สมศรี เจริญเกียรติกุล และคณะ.(2545). คุณค่าอาหารไทยเพื่อสุขภาพ. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2560 จาก https://www.thaifoodtoworld.com/home/researchdetail.php?research_id=40.

สุทธิพงษ์ สุริยะ และวันดารา อำไพพอน. (2548). Food and Travel ลาว. กรุงเทพ ฯ : บ้านพระอาทิตย์.

สุนี ศักดาเดช. (2549). อาหารท้องถิ่น. จันทบุรี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

โสรัจจ์ วิสุทธิแพทย์. (2557). ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น: การจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาคตะวันออก. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อำไพ พฤติวงพงศ์กุล. (2551). อาหารพื้นบ้านไทย ในตำราวิชาการอาหารเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพ ฯ : กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.

Chang, R. C. Y., Kivela, J., & Mak, A. H. N. (2010). Food preferences of Chinese tourists. Annals of Tourism Research. 37(4), 989-1011.

Fathimath A. (2009). The role of local food in Maldives tourism: a focus on promotion and economic development. Auckland University of technology.

Fields, K. (2002). Demand for the gastronomy tourism product: motivational factors. In A.-M. a. G. R. Hjalager (ed.), Tourism and gastronomy (36-50). London: Routledge.

Hjalager, A.M., & Richards, G. (eds.). (2002). Tourism and gastronomy. London: Routledge.