การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปป่านศรนารายณ์ของชุมชนหุบกะพง อำเภอ ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

วัชระ ยี่สุ่นเทศ
อิงอร ตั้นพันธ์

บทคัดย่อ

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์ของหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง ด้านผลิตภัณฑ์ ให้มีความนุ่ม และสามารถกันน้ำได้ และทดสอบความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์ของหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง ด้านผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่ ขั้นตอนการวิจัยเริ่มจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความนุ่มโดยใช้กระบวนการแช่เส้นใยป่านกับสารเคมีโพแทสเซี่ยมไฮดรอกไซด์ 1 ชั่วโมง แล้วทำการย้อมสีตามต้องการ จากนั้นแช่ด้วยกรดอะซิติก ความเข้มข้น 0.5 โมลาร์ 3 ชั่วโมง แล้วจึงนำเส้นใยป่านไปขึ้นรูปตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ จากนั้นสร้างความสามารถกันน้ำโดยการฉีดพ่นด้วยสารฟลูออโรเคมิคัล แล้วจึงนำไปทดสอบความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์ของหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง ด้านผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่ วิเคราะห์ผลโดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่ออธิบายข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ และ  Pearson Chi-Square (P) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์และ Paired Simples T-Test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
                ผลการวิจัยประเด็นปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ต่อจำนวนครั้งของการซื้อสินค้าป่านศรนารายณ์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพ ที่ต่างกันมีความความสัมพันธ์ต่อจำนวนครั้งของการซื้อสินค้าป่านศรนารายณ์  ประเด็นความคาดหวังก่อนซื้อและความพึงพอใจหลังซื้อของการซื้อสินค้าป่านศรนารายณ์พบว่าความคาดหวังก่อนซื้อและความพึงพอใจหลังซื้อของการซื้อสินค้าป่านศรนารายณ์แตกต่างกัน ในด้านคุณภาพของวัตถุดิบที่ดีขึ้น ผลิตภัณฑ์มีความคงทน ความสวยงามของการออกแบบที่ทันสมัย การพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่อง เมื่อนำไปใช้แล้วมีความปลอดภัย และภาพลักษณ์ ชื่อเสียงของสินค้าที่ดี สรุปได้ว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น


* ดร. อาจารย์คณะบริหารธุรกิจมหาบันฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจมหาบันฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก ส้านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 โครงการนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์
Corresponding author : dr.watchara@yahoo.com

Article Details

How to Cite
ยี่สุ่นเทศ ว., & ตั้นพันธ์ อ. (2019). การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปป่านศรนารายณ์ของชุมชนหุบกะพง อำเภอ ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(2), 50–65. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2019.4
บท
บทความวิจัย

References

เพชรรัตน์ มีสมบูรณ์พูนสุข. (2552) แนวทางการพัฒนาศักยภาพการตลาดสําหรับผู้ประกอบการสตรีในชุมชน : กรณีศึกษาวิสาหกิจขนาดย่อมผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าฝ้าย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.13 (1) . 58-76.

ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์.(2548). การตลาดบริการ.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เกษตรศาสตร์.

วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา.(2542) ไลโอเซลล์ Lyocell. วิทยาศาสตร์เส้นใย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมหมาย เปียถนอม. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องความพึงพอใจของนักศึกษาในการได้รับบริการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อารียา กองกาญจนาทิพย์ .(2553). ทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อและการใช้ผ้าขาวม้าของผู้บริโภคในเขตอําเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. Oxford, England: John Wiley.

Kotler,P. & Armstrong G, P.(2003). Marketing: An introduction (9th ed.). Upper Saddle River,NJ : Prentice Hall.

Kotler, P. (2000). Marketing management : analysis, planning implementation and control. (9th ed.) NewYork: McGraw Hill.