การเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์ จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อภิญญา แก้วเปรมกุศล

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1. พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและสารจากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2. การรับรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 3. ทัศนคติของเยาวชนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  4. การใช้ประโยชน์จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และ 5. ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์ ที่มีต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
                การวิจัยวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย    ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
                ผลการวิจัยพบว่า 1. เปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมในระดับมาก และเปิดรับจากโทรทัศน์และจากบุคคลในครอบครัวในระดับมาก 2. มีการรับรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมากที่สุดในประเด็นความพอประมาณ 3. มีทัศนคติต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมในระดับมาก 4. มีการใช้ประโยชน์จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมในระดับมากความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าทัศนคติต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนในเขตกรุงเทพฯ จะมีความสัมพันธ์ต่อการรับสื่อบุคคล (r=0.15) และการใช้ประโยชน์ต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนในเขตกรุงเทพฯจะมีความสัมพันธ์กับ สื่อบุคคล (r=0.15) และสื่อมวลชน (r=0.12) ตามลำดับ ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อผลการวิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชน กับสื่อเฉพาะกิจ (r=0.58) สื่อเฉพาะกิจ กับสื่อบุคคล (r=0.54) และสื่อมวลชนและสื่อบุคคล (r=0.35)ตามลำดับ และพบความสัมพันธ์ระหว่าง ทัศนคติและการใช้ประโยชน์จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (r=0.62)


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ภายใต้การควบคุมของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันทัด ทองรินทร์ และรองศาสตราจารย์ ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี 1112
Corresponding author : apinyakaew@yahoo.com

Article Details

How to Cite
แก้วเปรมกุศล อ. (2019). การเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์ จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(2), 20–35. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2019.2
บท
บทความวิจัย

References

กชกร ชำนาญกิตติชัย และคณะ. (2554). รายงานการวิจัยเรื่อง การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต. วิทยานิพนธ์การจัดการภาครัฐดุษฎีบัณฑิต. คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

กนกวรรณ แก้วประเสริฐ และเปรมใจ เอื้อจิตร์. (2555) การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของเยาวชนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กานดา เต๊ะขันหมาก. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดาเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา .วิทยานิพนธ์มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาบัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์ (2553) พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เกษม วัฒนชัย. (2550). องคมนตรีระบุเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ทำลายเศรษฐกิจประเทศอย่างคนกล่าวหา. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2558.จาก https://www.manager.co.th /View News.aspx

ชูชัย พิทักษ์เมืองแมน. (2553). ทัศนะของนักศึกษาต่อการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต กรณีศึกษา : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน.(2518). อิทธิพลของสังคมต่อทัศนคติของวัยรุ่น.กรุงเทพฯ : สถาบันระหว่างชาติสำหรับการค้นคว้าเรื่องเด็ก.

ดวงฤทัย พงศ์ไพฑูรย์.(2544). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับเพศศึกษาของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทัศไนย สุนทรวิภาต. (2557). ความสัมพันธ์ของการเปิดรับสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เทพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ .(2540). ทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรู้. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2557). การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอ้างอิง ประมวลสาระชุดวิชา การวิจัย และสถิติประยุกต์ทางนิเทศศาสตร์ หน่วยที่ 9 นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มูลนิธิชัยพัฒนา.(2560). เศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2560 จาก https://www.chaipat.or.th

สุชีรา วิบูลย์สุข. (2551). บทบาทของภาคีหุ้นส่วนในการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา : พหุกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) (2547) เศรษฐกิจพอเพียง.[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2560 จาก https://www.rdpb.go.th

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2544). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในใต้เบื้องพระยุคลบาท. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.