แนวทางการใช้ภาวะผู้นำเพื่อการบริหารพัฒนาวัดในจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระดับการพัฒนาวัดในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำ ที่ส่งผลต่อระดับการพัฒนาวัด และ 3) ค้นหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำในการบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนาวัดในจังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดย 1) การทำวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ พระภิกษุในเจ้าอาวาสหรือเทียบเท่า จำนวน 250 รูป ได้มาโดยการสุ่มแบบเชิงชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 มีความความเชื่อมั่นเท่ากับระหว่าง 0.75-0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ LSD และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ 2)การทำวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 6 ราย ได้แก่ ผู้บริหารและคณะผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้ที่วางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของวัดในเขตจังหวัดนครปฐม ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การเปรียบเทียบระดับการพัฒนาวัดในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกตาม พรรษา การศึกษาทางธรรม
2. ผลการศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อระดับการพัฒนาวัดในจังหวัดนครปฐม พบว่า ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อระดับการพัฒนาวัดในจังหวัดนครปฐมประกอบด้วย วิสัยทัศน์ (β = 0.22) และความศรัทธา (β = 0.37) โดยสมการดังกล่าวมีค่าอำนาจความแม่นยำในการพยากรณ์เท่ากับ ร้อยละ 43 และสามารถเขียนได้ดังนี้ Y=0.06X1+0.26X2**+0.04X3+0.38X4**+0.10X5
3. แนวทางการแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำในการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาวัดในจังหวัดนครปฐม เกิดจากการพัฒนาที่บุคคลโดยมุ่งในด้านจิตใจเป็นหลัก เจ้าอาวาสต้องมุ่งเน้นที่พอใจทำ ขยันทำ ตั้งใจทำ และฉลาดทำ ตามเกณฑ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ภายใต้กรอบการดูแลวัดมีทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ การปกครอง การเผยแผ่ การสาธารณูปการ การศึกษา สาธารณสงเคราะห์ และการศึกษาสงเคราะห์ ผู้ที่เป็นผู้บริหารวัด ต้องมีวัยวุฒิ คุณวุฒิ ภาวะมีสมควรในการที่จะมาบริหารจัดการวัดให้เป็นไปด้วยดี ก็ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ แล้วก็ประสบการณ์ที่ตนเองได้ผ่านมา ต้องกล้าตัดสินใจ ต้องมีทักษะทางด้านการปกครอง เพื่อให้พัฒนาวัด ก่อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน และเพื่อให้การเผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้าดำรงอยู่สืบไป
* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย พงศ์สิทธิกาญจนา และอาจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย
Corresponding author : Vicheth_Prongmadua@gmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
เฉียบ ไทยยิ่ง. (2541). รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน กรณีศึกษา: ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.
ธีรวุฒิ ทองโอษฐ์. (2544). การศึกษาการปฏิบัติศาสนกิจของเจ้าอาวาสในจังหวัดร้อยเอ็ด.วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญช่วย จันทร์เฮ้า. (2544). พฤติกรรมการบริหารของเจ้าอาวาสที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวัดในเขตการปกครอง คณะสงฆ์จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระทีฆทัสสีมุนีวงศ์ (วิรัช วสสิริ) จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ สอาด บรรเจิดฤทธิ์ และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2558).ตัวแบบการบริหารคณะสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 4. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9 (1).81-95.
พระธนดล นาคสุวณฺโณ (นาคพิพัฒน์). (2551). การบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหากฤษฎา นันทเพชร.(2540). ทัศนคติของพระสงฆ์ต่อบทบาทการพัฒนาสังคม. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พระมหาสมพงษ์ เกษานุช ภักดี โพธิ์สิงห์ และยุภาพร ยุภา. (2561).รูปแบบพัฒนาการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีของสำนักศาสนศึกษาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 8 .วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 18 (1).1-12.
พระมหาสุริยา หอมวัน. (2544) บุคลิกภาพของเจ้าอาวาสที่พึ่งประสงค์: กรณีศึกษาพระสงฆ์สามเณร วัดสระกําแพงใหญ่อําเภออุทุมพรพิสัยจังหวัดศรีสะเกษ. สารนิพนธ์ศิลปศาสตมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
พระมหาอนุศักดิ์ จันทราลักษณ์. (2554). ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต .บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระอกนิษฐ์ สิริปญฺโญ (อาจวิชัย). (2555). การบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการเชิงพุทธ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจฬุาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอำนวย หมอกเมฆ สราญภัทร สถิรางกูร สุชาติ ตันธนะเดชา และธเนศ จิตสุทธิภากร. (2556).กลยุทธ์การบริหารวัดในพระพุทธศาสนาสำหรับเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ในเขตหนเหนือ ภาค 4. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 19 (1). 73-89.
วัชรี บูรณสิงห์. (2543). การบริหารหลักสูตร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). ผู้บริหารโรงเรียนสามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล.(พิมพ์ครั้งที่ 7). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2552). ความหมายของภาวะผู้นำ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2559 จาก https://www.kruinter.com/show.php?id_quiz=988&p=1
สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (2558). สถิติพระจำพรรษาของสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2558, จาก https://www.nakhonpathom.go.th/content/History
เสนาะ ติเยาว์. (2549). หลักการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). คู่มือการพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐาน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2559 จาก https://www1.onab.go.th/e-Books/WadStandard.pdf
Blanchard, O. (2006). Macroeconomics. (4th ed.). New Delhi: Pearson Education Asia.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.). New York: Harper & Row Publishers.
Fukuyama, F. (1995). Trust: the social virtues and the creation of prosperity. New York : Free Press.
Johnson, L. H., Dahlen, R. & Robert, S. L. (1997). Supporting hope in congestive heart failure patients. Dimension of Critical Care Nursing, 16 (2), 65-78.
Klenke, K. (2003). The “s” factor in leadership education, practice, and research. Journal of education for business, 4 (7), 56-60
Komives, S. R., Lucas, N., & McMahon, T. R. (1998). Exploring Leadership for College Students Who Want to Make a Difference. San Francisco. CA: Jossey-Bass.
Kriger, M., & Seng, Y. (2005). Leadership with inner meaning: a contingency theory of leadership based on the worldviews of five religions. The leadership quarterly, 16 (5), 771-806.