การพัฒนาบุคลากร ของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

ขันลาสี แก้วบุนพัน

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากร (2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาบุคลากร  และ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบของการพัฒนาบุคลากร ในกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว  รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงผสม โดยใช้ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักบริหารระดับสูง จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มกับนักบริหารระดับกลาง จำนวน 4 คน และระดับปฏิบัติ จำนวน 4 คน และ 2) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัยเพื่อสอบถามบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ที่เป็นประชากรทั้งหมด จำนวน 420 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
                ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ภาวะผู้นำ หลักสูตรการพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการพัฒนาบุคลากร และความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนปัจจัยนโยบายการพัฒนาบุคลากร และทรัพยากรทางการบริหาร ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถสร้างสมการณ์พยากรณ์ระดับความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากร สมการในรูปคะแนนดิบ Yˆ = 0.662 + 0.192 (ภาวะผู้นำ) + 0.120 (หลักสูตรการพัฒนาบุคลากร) + 0.091 (ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ) + 0.294 (การประเมินผลการพัฒนาบุคลากร) และสมการในรูปคะแนนมาตรฐาน Zˆ = 0.247 (ภาวะผู้นำ) + 0.139 (หลักสูตรการพัฒนาบุคลากร) + 0.104 (ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ) + 0.340 (การประเมินผลการพัฒนาบุคลากร) (2) ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาบุคลากร ได้แก่ ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ขาดการประสานงาน อัตรากำลังมีจำนวนจำกัด ไม่มีหลักสูตรด้านกฎหมายการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม บัญชีเงินเดือนของบุคลากรไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ ข้อจำกัดด้านการตรวจสอบ การสร้างเครือข่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ครอบคลุมในเขตทุรกันดาร บุคลากรยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับชาวต่างประเทศหรือองค์การสากล (3) รูปแบบของการพัฒนาบุคลากร ได้แก่ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาบุคลากร มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ 1) ด้านภาวะผู้นำ 2) ด้านหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร 3) ด้านการประเมินผล และ 4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากร มีองค์ประกอบ 7 ด้าน คือ  1) ด้านการวางแผนบุคลากร 2) ด้านการพัฒนาและฝึกอบรม 3) ด้านค่าตอบแทน 4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) ด้านการส่งเสริมบทบาทของบุคลากร 6) ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ 7) ด้านการร่วมมือกับสากล 


* ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 10170 ภายใต้การควบคุมของ รองศาสตราจารย์ ดร.สถิตย์ นิยมญาติ
Corresponding author: research@bkktho.ac.th

Article Details

How to Cite
แก้วบุนพัน ข. (2019). การพัฒนาบุคลากร ของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(1), 226–244. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2019.39
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงภายใน. (2554). เลขที่ 01/ภน นครหลวงเวียงจันทน์ ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2554. ม.ป.ท.

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า. สปป.ลาว (2560). นโยบายในการบริหารงาน. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2560, จาก https:// laoftpd.com/index.php?option= com

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2556). WTO ไฟเขียวรับ “สปป.ลาว” เข้าสมาชิกใหม่ลำดับที่ 158 [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560, จาก https://www.dtn.go.th/index.php.

กรมนโยบายการค้าต่างประเทศ Foreign Trade Policy Department กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว(2560). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาบุคลากร. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2561). ข้อมูล สปป.ลาว. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2561, จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/168658/ 168658.pdf.

กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ (2554). คู่มือการค้าและการลงทุน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ม.ป.ท.

คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว (2556). เลขที่ 0084/อค ลงวันที่ 15 มกราคม 2556 เรื่อง การจัดตั้งแผนขยายกำลังและแผนปฏิบัติพัฒนาอุตสาหกรรมและแผนงาน ในปี 2012 – 2013.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ม.ป.ท.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : แอล. ที. เพรส จํากัด.

บุญเลิศ ไพรินทร์ (2548). พฤติกรรมการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : สำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

เบญยาศิริ งามสะอาด (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามแนวทางการบริหาร จัดการแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา.11(1) ,242-254

ประภาส บุญไชย (2550). การบริหารงานวิชาการด้านการปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี,วิทยานิพนครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

เมธินี อิ่นแก้ว (2553). การศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรของสานักงานพื้นที่พิเศษ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 18 มีนาคม2560, จาก https://www.mpec.cmru.ac.th/mpec2012/ option/files/003/.../1364310454.

ยาเบ็น เรืองจรูญศรี (2552). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560, จาก https://www.kroobannok.com/blog/39838.

วิชญาภา เมธีวรฉัตร (2558). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคเหนือตอนล่าง. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ สมชาย หิรัญกิตติ และธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ.(2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2555). การบรรยายพิเศษ เรื่อง การพัฒนทรัพยากรมนุษย์สู่ประชาคมอาเซียน. วันที่ 10 มีนาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เสกสรรค์ สนวา (2560). การพัฒนาบุคลากรแนวใหม่ : ผลลัพธ์ที่มีต่อองค์การ. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2560, จาก https://www.stou.ac.th/ study/sumrit/4-55(500)/page1-4-55(500).html.

เสกสิทธิ คูณศรี (2555). ความสำคัญของการพัฒนาองค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2560, จาก https://www.chanthaburi.go.th/redcross/article/IT.htm.

สุรมงคล นิ่มจิตต์ และ ธีระวัฒน์ จันทึก (2559). การพัฒนารูปแบบกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อความได้เปรียบ ตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. RMUTT Global Business and Economics Review.11 (2), 129-143

Ajay S. & DR. Nirmala, C. (2011). HRD CLIMATE AND JOB SATISFACTION: An Empirical Investigation University School of Management, Kurukshetra University. Kurukshetra International Journal of Computing and Business Research. 2 (2). 169-171.

Kaufman ,B. E. (2012). Human Resource Management Research in the United States: A Failing Grade After 30 Years? Retrieved May 15,2017 from https://amp.aom.org/content/ 26/2/12.abstract.

Kirkpatrick, D. L. Evaluation of Training. In R. L.Craig (Ed.), (1987). Training and development handbook : A guide to human resource development. (2nd ed.) New York : McGraw-Hill.

Lao People’s Democratic Republic Peace Independence Unity Prosperity. (2016).8 th FIVE-YEAR NATIONAL SOCIOECONOMIC DEVELOPMENT PLAN (2016–2020) (Officially approved at the VIIIth National Assembly’s Inaugural Session, 20–23 April 2016, Vientiane) Ministry of Planning and Investment June, 2016.

Nadler L Ed., (1984). The Handbook of Human resources Development New York : John Wiley and Sons.

Nadler. L., (1992). Enveloping Human Resources. Houston : Gulf.

Nelson, D. L., & Quick, J. C. Organization. (1997). Behavior. (2nd ed.). New York : Harper & Row.

Tabibi S.J., Khah S.V., Nasiripour A.A., Vahdat S. and Hessam S. (1985). Factors Affecting Human Resource Development in the Iranian Social Security Organization’s Hospitals, World Applied Sciences Journal. 15 (2): 164-173.

The American Heritage Dictionary. (2018). Leadership. Retrieved March 10, 2018 from https://www.ahdictionary.com/