แบบจำลองสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพนักงาน สำนักงานสอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.)

Main Article Content

พรธิรักษ์ รุ่งวรีไพศาล

บทคัดย่อ

                งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของบุคลากร และเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลทางด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านแรงจูงใจในการทำงาน ด้านการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ด้านความพึงพอใจในงาน และด้านความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสำนักงานสอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.) กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้บริหารภายหลังทราบผลการวิจัยเชิงปริมาณแล้ว จำนวน 5 ราย ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงประจักษ์ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานของสำนักงานสอบบัญชีฯ จำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์ตัวแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและนำผลที่ได้มาใช้ในการอภิปราย
                ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบจำลองสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามเงื่อนไข 2) การคงอยู่ในองค์การของบุคลากรได้รับอิทธิพลทางตรงมากสุดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (g=0.54) รองลงมาคือความพึงพอใจในงาน (ß=0.52) และได้รับอิทธิพลทางอ้อมมากสุดจากการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ (g=0.36) รองลงมาคือแรงจูงใจในการทำงาน (g=0.16) ส่วนการได้รับอิทธิพลโดยรวมมากสุดมาจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (g=0.61) รองลงมาคือความพึงพอใจในงาน (ß=0.55) แรงจูงใจในการทำงาน (g=0.33) ความผูกพันต่อองค์การ (ß=0.07) และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ (g= 0.03) ตามลำดับ  3) ผลการทดสอบสมมติฐานส่วนใหญ่เป็นไปตามสมมติฐานคือมีอิทธิพลเชิงบวก ยกเว้น ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลเชิงลบต่อความผูกพันต่อองค์การ และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลเชิงลบต่อการคงอยู่ในองค์การของพนักงานสำนักงานสอบบัญชีฯ ดังนั้น ผู้บริหารสำนักงานสอบบัญชีฯ ควรมุ่งส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้างานในองค์การเพื่อสร้างความพึงพอใจในงานให้กับพนักงานมากขึ้น อันจะส่งผลทำให้ลดปัญหาการออกจากงานของพนักงานและเพิ่มอัตราการคงอยู่กับองค์การของบุคลากรในระยะยาว         


* นักศึกษาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 10170
Corresponding Author: Jackpornthirak@gmail.com

Article Details

How to Cite
รุ่งวรีไพศาล พ. (2019). แบบจำลองสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพนักงาน สำนักงานสอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.). วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(1), 168–182. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2019.35
บท
บทความวิจัย

References

ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 37(142), 16-32.

สงกรานต์ ไกรวงษ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะความเป็นมืออาชีพของนักวิชาชีพบัญชีไทยในบริบทของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้สอบภาษีอากร. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สมบัติ กุสุมาวลี. (2559). แนวทางการบริหารจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การของบริษัทในอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. 8 (1) , 4-31.

Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1990). Transformational leadership development. Thousand Oaks, CA : Consulting Psychologists Press.

Cahyono, D. (2015). Modeling Turnover and Their Antecedents Using the Locus of Control as Moderation : Empirical Study of Public Accountant Firms in Java Indonesia. International Journal of Finance and Accounting, 4 (1), 40 - 51.

Chatzoglou, P.D., Vraimaki, E., Komsiou, E., Polychrou, E.A., & Diamantidis, A.D. (2011). Factors affecting accountants’ job satisfaction and turnover intentions: A structural equation model, Proceedings of 8th International Conference on Enterprise Systems, Accounting and Logistic, Greece, 130-147.

Compdatasurverys. (2017). Employee turnover trends in 2017. Retrieved March 5, 2018 from https://blog.compdatasurveys.com/employee-turnover-trends-in-2017

Fitz-enz, J. (1990). Getting and keeping good employees. In personnel, 67 (8). 25 - 29.

Fogarty, T. J., Reinstein, A., Heath, R. A. & Sinason D. H. (2017). Why mentoring does not always reduce turnover : The intervening roles of value congruence, organizational knowledge and supervisory satisfaction. Advances in Accounting, 38, 63 - 74.

Gillet, N. & Vandenberghe, C. (2014). Transformational Leadership and Organizational Commitment : The Mediating Role of Job Characteristics. Human Resource Development Quarterly 25 (3). DOI: 10.1002/hrdq.21192

Golob, T. F. (2003). Review Structural Equation Modeling for Travel Behavior Research. Transportation Research, 37, 1-15.

Hair, J. F. J., Anderson, R. E., Tatham, R. L. & Black, W. C. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed.). Upper Saddle River, New Jersey, Prentice Hall.

Herbohn, K. (2005). Job Satisfaction Dimensions in Public Accounting Practice. Accounting Research Journal, 2 (18), 63 - 82.

Hossein, N. & Robert, J. P. (2013). Career growth opportunities and employee turnover intentions in public accounting firms. The British Accounting Review, 2 (45), 138 - 148.

Jeanette, A. P. (2015). The relationship between transformational leadership and organizational commitment in non-profit long term care organizations. The direct care worker perspective. Creighton Journal of Interdisciplinary Leadership, 1 (2), 68 - 85.

Law, D. W. (2005). Interactive organizational commitment and hardiness in public accountants' turnover. Managerial Auditing Journal, 4 (20), 383 - 393.

MacLean, E. L. (2013). Reducing Employee Turnover in the Big Four Public Accounting Firms. CMC Senior Theses, Paper 745. Retrieved March 20, 2018 from https://scholarship.claremont.edu/cmc_theses/745

Meyer, J. P. & Allen, N. J. (1991). A three component conceptualization of organizational commitment. In Human resource Management Review, 1, 89 - 93.

Nunnally, J. O. (1978). Psychometric theory. New York : McGraw-Hill.

Sehresh, I. (2015). Impact of Perceived Organizational Support on Employee Retention with Mediating Role of Psychological Empowerment. Pakistan Journal of Commerce and Social Sciences, 9 (1), 18 - 34.

Setianingrum, R. M., Hastuti, S. & Hasibuan, T. T. (2016). Auditor Performance Based on Leadership Style and Organization Commitment in Gender Perspective. Research Journal of Finance and Accounting, 18 (7). 122-127.

Sun, Y., Gergen, E., Avila, M. & Mark Green, M. (2016). Leadership and Job Satisfaction: Implications for Leaders of Accountants. American Journal of Industrial and Business Management, 6, 268 - 275.

Thamarki, N. & Kijboonchoo, T. (2015). A Study of Factors Affecting Job's Satisfaction of Employees in Accounting Firms in Bangkok. Au-GSB e-JOURNAL.8 (2),60-70.

Triastoto, B., Maarif, S. & Kuswanto, S. (2016). Factors Affecting Organizational and Professional Commitments of Internal Auditors. International Journal of Scientific and Research Publications, 12 (6). ISSN 2250-3153.

Uansa-ard, S. (2017). Factors Affecting the Motivation & Retention of Professional Accountants in Thai Organizations. Research Gate. Retrieved March 20, 2018 from https://www.researchgate. net/publication/315640736

Willis, T. W. (2017). Salaries in Thailand seen to rise 5.5% in 2018: Willis Towers Watson Survey Report. Retrieved June 10, 2018 from https://www.willistowerswatson.com/en-TH/press/2017/11/ salaries-in-thailand-seen-to-rise-5-point-5-percent-in-2018