การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ในจังหวัดนครปฐม จากฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวสู่รูปแบบและกิจกรรมท่องเที่ยว

Main Article Content

พิมพ์ชนก มูลมิตร์

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและทบทวนแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐม 2) จัดกิจกรรม และเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ตามความหลากหลายของทรัพยากรการท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐม พื้นที่ที่ศึกษาได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ทำการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จำนวน 50 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง และใช้แบบสอบถามนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน โดยเลือกสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เนื้อหา
                1) ผลการสำรวจและทบทวนแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐมสามารถแบ่งประเภทแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 4 ประเภท คือ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาและความเชื่อ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
                2) ในส่วนข้อมูลนักท่องเที่ยวพบว่ามีความคาดหวังในด้านสถานที่ท่องเที่ยว โดยมีสิ่งจูงใจด้านแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมทางการท่องเที่ยว และมีความพึงพอใจต่อปัจจัยการท่องเที่ยวด้านสถานที่ท่องเที่ยว ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และด้านประสบการณ์ที่ได้รับ เมื่อนำผลจากการสำรวจแหล่งท่องเที่ยวและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวนำ มาวิเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวตามศักยภาพและทรัพยากรของพื้นที่โดยสามารถจัดกิจกรรม และเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ตามความหลากหลายของทรัพยากรการท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐม ได้ 4 รูปแบบ 5 เส้นทาง คือ 1) รูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ทางศาสนาและความเชื่อ 2) รูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงเกษตร 3) รูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม 4) รูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงสุขภาพ เส้นทางที่ 1 การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ทางศาสนาและความเชื่อเส้นทางแสวงบุญ มลฑล นครชัยศรี เส้นทางที่ 2 เรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนพอเพียงในดินแดนทราวดี เส้นทางที่ 3 เรียนรู้วิถีชีวิตชาวนา เกษตรผสมผสาน ตามรอยชุมชนต้นแบบ เส้นที่ 4 กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงสุขภาพ วิถีธรรมชาติบำบัด และเส้นที่ 5 กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงสุขภาพ วิถีพอเพียง   


* สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Corresponding author : neopimm@hotmail.com

Article Details

How to Cite
มูลมิตร์ พ. (2019). การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ในจังหวัดนครปฐม จากฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวสู่รูปแบบและกิจกรรมท่องเที่ยว. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(1), 59–74. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2019.28
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2559. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2558.จาก https:// www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=4147

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สามลดา.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา

เทพกร ณ สงขลา. (2556). รูปแบบการจัดการทรัพยากรเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ยั่งยืนในอำเภอช้างกลาง จังหวัด นครศรีธรรมราช. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นิพล เชื้อเมืองพาน. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแหล่งน้ำพุร้อนในภาคตะวันตกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2554). ส่วนประสมตลาดการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่.วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 19 (พิเศษ), 80-88.

สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สำนักงานจังหวัดนครปฐม.(2560). บรรยายสรุปจังหวัดนครปฐมปี 2560. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2560 จาก https://www.nakhonpathom.go.th

Cohen, E. (1979). A Phenomenology of Tourist Experience. Sociology. 13, 179-201.

Fuggle, L. (2016).The Rise of Experiential Travel and Its Impact on Tours and Activities. Retrieved October 4, 2017, from https://www.trekksoft.com/en/blog/rise-of- Experiential-travel

Dowling, R.K. (2002). Australian Ecotourism – Leading the Way. Journal of Ecotourism 1, (2-3) Retrieved October 4, 2017, from https://www.tandfonline.com/

Smith, W,L. (2005). Experiential Tourism around the World and at Home: Definitions and Standards. Kansas: Emporia State University.

Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. (3rd ed.).New York: Harper and Row.