รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวในแหล่งพุน้ำร้อนในภาคตะวันตกของประเทศไทย

Main Article Content

นิพนธ์ เชื้อเมืองพาน

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวในแหล่งพุน้ำร้อนในภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) จากผู้มีส่วนได้เสียในแหล่งพุน้ำร้อน 3 แห่ง คือ 1) แหล่งพุน้ำร้อน หนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี  2) แหล่งพุน้ำร้อนหินดาดจังหวัดกาญจนบุรี และ 3) แหล่งพุน้ำร้อนห้วยน้ำนัก จังหวัดตาก ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เชิงประเด็น (Content Analysis) ประกอบการบรรยาย
                ผลการศึกษาพบว่า
                1. ในแหล่งพุน้ำร้อนแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันในด้านการบริหารจัดการ กล่าวคือ บางแห่งบริหารจัดการโดยชุมชน บางแห่งบริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนตำบล และบางแห่งบริหารจัดการป่าไม้
                2. พุน้ำร้อนทั้ง 3  แห่งมีความแตกต่างและมีความโดดเด่นในด้านชุมชน วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ รวมถึงกิจกรรมท่องเที่ยวเสริมในแหล่งท่องเที่ยว แต่ทั้งนี้ ทั้งสามแหล่งมีการนำพุน้ำร้อนมาใช้ในการท่องเที่ยวเชิงสุภาพเพื่อการบำบัดสุขภาพแก่นักท่องเที่ยว
                3. ในด้านรูปแบบการท่องเที่ยว ทั้ง 3 แหล่งมีการท่องเที่ยวหลักคือ พุน้ำร้อนโดยให้บริการอาบ แช่ แก่นักท่องเที่ยว และเพิ่มกิจกรรมเสริมในแหล่งท่องเที่ยวโดยการเพิ่มกิจกรรมท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวและทรัพยากรท่องเที่ยวใกล้เคียงเป็นส่วนเสริมให้นักท่องเที่ยวมีกิจกรรมที่หลากหลายและอยู่ท่องเที่ยวได้นานขึ้น
                4. จากรูปแบบการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน เนื่องจากแหล่งพุน้ำร้อนอยู่ในความดูแลของหน่วยงานที่แตกต่างกัน พบว่า การบริการจัดการโดยชุมชน เช่นพุน้ำร้อนหนองหญ้าปล้องประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการบริหารจัดการตั้งแต่การจัดตั้งกรรมการ การประชุมหารือเพื่อการพัฒนา และการวางแผนบริหารจัดการร่วมกัน ในระยะยาวสามารถสร้างความยั่งยืนในการจัดการการท่องเที่ยวได้อย่างสมดุล ในขณะที่ พุน้ำร้อนหินดาดที่บริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเข้มแข็งด้านการจัดการโดยหน่วยงานและงบประมาณสนับสนุน ประกอบกับการได้เปรียบด้านที่ตั้ง ทำให้พัฒนาได้รวดเร็ว ส่วนห้วยน้ำนักเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรโดยอุทนายแห่งชาติ ดังนั้นการมีส่วนร่วมชุมชนจึงน้อย
                โดยภาพรวม แหล่งพุน้ำร้อนในประเทศไทยหากได้รับการบริหารจัดการ และมีการพัฒนาชุมชนให้เข้าใจ และตระหนักถึงคุณค่า และเพิ่มมูลค่าจากทรัพยากรพุน้ำร้อนโดยเชื่อมแหล่งท่องเที่ยวและทรัพยากรใกล้เคียง จะทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพแหล่งพุน้ำร้อนในระดับประเทศได้อย่างยั่งยืน


* อาจารย์ คณะการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73110
Corresponding author : niponphan@yahoo.com     

Article Details

How to Cite
เชื้อเมืองพาน น. (2019). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวในแหล่งพุน้ำร้อนในภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(1), 32–48. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2019.26
บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.(2551). โครงการสำรวจระดับความรับรู้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ฝ่ายนโยบายวางแผน กองวางแผนการท่องเที่ยวฯ.

กรมทรัพยากรธรณี. (2530). รายงานการสำรวจฉบับที่ 1แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพทางภาคเหนือของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี

ทวีทอง หงส์วิรัฒน์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข.

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2547). การมีส่วนร่วม หลักพื้นฐานและเทคนิค และกรณีตัวอย่าง. เชียงใหม่: สิริลักษณ์การพิมพ์.

นเรศ สงเคราะห์สุข. (2541). จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ เสี้ยวหนึ่งของประสบการณ์พัฒนาแบบมีส่วนร่วมบนพื้นที่สูง. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์เชียงใหม่.

นิพล เชื้อเมืองพาน นิออน ศรีสมยง, ธนธร วชิระขจร ศุภกิจ ยิ้มสรวล กฤษณพงศ์ ภู่กลาง, และ พิมพ์ชนก มูลมิตร์. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประเภทแหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อนต้นแบบในภูมิภาคตะวันตกและระดับประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

บุญเลิศ ตั้งจิตวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : เพรสแอนด์ดีไซด์จำกัด.

ภราเดช พยัฆวิเชียร. (2546). สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. ใน สรุปกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศนานาชาติ (หน้า 20). 7-9 มีนาคม 2545. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

มหาวิทยาลัยสุโททัยธรรมธิราช (2552). เอกสารการสอนชุดวิชาทรัพยากรท่องเที่ยวของไทยหน่วยที่ 1-8.นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ราชบัณฑิตยสถาน. (2544). พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

วรรณา วงษ์วานิช. (2546). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2555). ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2558 จาก https://www.ksmecare.com/Article/82/28465.

สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว (2556).แหล่งพุน้ำร้อนธรรมชาติ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2556 จาก https://61.19.236.142/hotspring/index.php.

อารัญ บุญชัย และ จินดา ตันศราวิพุธ. (2546). ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism) จุดขายของการท่องเที่ยว.วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 40 (4): 22 – 23.

อำนาจ อนันตชัย. (2547). การระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน : พัฒนาชนบทสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ: วิกตอรี่เทาเวอร์พอยท์.

Butler, R. (1991) Tourism, Environment, and Sustainable Development. Environmental Conservation,18 (3): 201-9.

Duffy, R (2006). The politics of ecotourism and developing world. Journal of Ecotourism, 5 (1&2): 1-6.

Holden, A. (2006) Tourism Studies and the Social Sciences. New York : Rutledge.

Scheyvens, R. (2002) Tourism for Development: Empowering communities. Harlow: Prentice Hall.

Sharpley, R. (2002) Tourism and sustainable development: Exploring the theoretical divide. Journal of Sustainable Tourism, 8 (1): 1-9.

Thailand Development Research Institute (TDRI). (1997) Thailand Tourism: Vision 2012, 12 (2):14-24.

Tourism Authority of Thailand (1997). Policy of Thai Tourism. Bangkok: Conservation Division, Tourism Authority of Thailand.

Tourism Authority of Thailand. (2001). National Ecotourism Action Plan. Bangkok: Conservation Division, Tourism Authority of Thailand (TAT).