แนวทางในการพัฒนาวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

พระสุนันท์ อินัง

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2) เปรียบเทียบระดับการพัฒนาวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง)  อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ พระภิกษุ และประชาชน จำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ดำเนินการเก็บข้อมูล โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างไปวิเคราะห์ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การทดสอบด้วยค่าความที สำหรับตัวแปรที่จำแนกเป็น 2 กลุ่ม สำหรับตัวแปรที่จำแนกเป็น 3 กลุ่มขึ้นไป ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ทางเดียว การทดสอบวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. ระดับการพัฒนาวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสาธารณูปการ รองลงมาด้านการศาสนศึกษา และด้านการเผยแผ่ ด้านที่มีค่าน้อยที่สุด คือ ด้านการสาธารณสงเคราะห์
                2. การเปรียบเทียบระดับการพัฒนาวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการเข้าวัด โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
                3. แนวทางการพัฒนา วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 1) ด้าน การปกครอง ควรมีการบริหารวัดพระศาสนาให้เป็นไปด้วยดี มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย 2) ด้านการศาสนศึกษา ควรมีการออกกฎระเบียบ การแสวงและพัฒนาครูผู้สอน การสรรหาผู้เรียน การหาทุนสนับสนุน 3) ด้านการเผยแผ่ ควรมีการดำเนินการประกาศพระพุทธศาสนาให้ศาสนทายาทและประชาชนได้รับทราบในทุก ๆ วิธีที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย 4) ด้านสาธารณูปการ วัดควรจะต้องมีแผนผังกำหนดการปลูกสร้างภายในวัด และบริเวณวัดควรมีพุทธประวัติทำให้วัดเป็นแหล่งศึกษา ธรรมะ 5) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ควรพัฒนาการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนให้มีสถานที่เรียนหนังสือแล้วยังให้ ความสงเคราะห์การศึกษาแก่เด็ก 6) ด้านการสาธารณสงเคราะห์ เสริมสร้างให้วัดเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และอบรมพระสงฆ์ให้สามารถเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน


  * วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ รองศาสตราจารย์โสรัจ  กายบริบูรณ์ และอาจารย์ ดร.สมชาย  ลักขณานุรักษ์                                            Corresponding author : gulp1990@gmail.com  

Article Details

How to Cite
อินัง พ. (2019). แนวทางในการพัฒนาวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(1), 1–16. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2019.25
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2549). ระบบการพัฒนาสังคมที่นำไปสู่ความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพ ฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.

จิรวัฒน์ บุณยะกาญจน. (2549). บทบาทของพระมงคลเทพมุนีในด้านสังคมระหว่าง พ.ศ. 2549-2502. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธำรง อมโร. (2545). วัดพัฒนา 45. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

บุญเลิศ โสภา. (2545). วัดพัฒนา 48. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

พระครูนิวิฐธรรมขันธ์ (เจริญ มุนิจารี). (2545). วัดพัฒนา 52. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระมหาอนุชา สิริวณฺโณ. (2556). การศึกษาพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาวัดเทพปูรณารามตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระสุริยา สํวโร. (2553). ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมสงฆ์แขวงสะหวันนะเขต. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพศาสนาภิบาล. (2559). งานเทศกาลนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิงประจำปี 2559. นครปฐม: วัดไร่ขิง พระอารามหลวง

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพ ฯ: พิมพ์ที่ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). คู่มือการพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐาน . กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิก

สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : พับลิชชิ่ง

อนุกูล บุญรักษา. (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา 4 ของกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย