ตัวแบบประสิทธิภาพการใช้สารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยดังกล่าวใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์ สามประการคือ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อเปรียบเทียบความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ จำแนกตาม หมวดธุรกิจและทุนจดทะเบียนของ ธุรกิจ SMEs ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแบบประสิทธิภาพการใช้สารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ (3) เพื่อศึกษาทิศทางของการสร้างประสิทธิภาพการใช้สารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงศึกษาถึงโอกาสและอุปสรรคต่อความสำเร็จจากทิศทางดังกล่าว ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสูงสุดทางด้านการบัญชีของธุรกิจในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 3,771 คน คำนวณผลโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 362คน ใช้การสุ่มตัวอย่าง แบบโควตา ในขณะที่กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์เจาะลึกจำนวน 8ราย ใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ข้อมูลที่ใช้จัดเก็บได้แก่แบบสอบถามที่ผ่านความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ร้อยค่า ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เส้นทางด้วยสมการเชิงโครงสร้าง และใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก นำผลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.63) มีอายุในช่วง 31-40 ปี (ร้อยละ 62.15) การศึกษาจบระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 69.06) ประสบการณ์งานคือ 6-10 ปี (ร้อยละ 35.36) อยู่ในหมวดธุรกิจ กิจกรรมพาณิชยการ (ร้อยละ 49.72) และมีทุนจดทะเบียน 10-30 ล้านบาท (ร้อยละ 62.98) ผลการตอบวัตถุประสงค์การวิจัยพบว่า
1. ความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อจำแนกตาม หมวดธุรกิจ แต่ ความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อจำแนกทุนจดทะเบียนของ ธุรกิจ SMEs ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. ปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิภาพการใช้สารสนเทศทางการบัญชี ของธุรกิจ SMEs ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย คุณลักษณะเฉพาะของผู้ใช้งาน (Γ=0.22) การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน (Γ=0.11) โครงสร้างองค์กร (Γ=0.18) การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง (Γ=0.58) และ คุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Γ=0.26) ปัจจัยที่ส่งผลทางอ้อมต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย คุณลักษณะเฉพาะของผู้ใช้งาน (Γ=0.20) การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน (Γ=0.10) โครงสร้างองค์กร (Γ=0.17) การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง (Γ=0.53) และ คุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Γ=0.24)ส่วนประสิทธิภาพการใช้สารสนเทศทางการบัญชี ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (β = 0.92)
3. ผลการศึกษา ทิศทางของการสร้างประสิทธิภาพการใช้สารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ข้อสรุปว่า ความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีหลายด้าน เนื่องจากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีเขตภูมิศาสตร์ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย การได้ส่วนลดภาษีเงินได้และเพิ่มสวัสดิการอื่นๆให้กับผู้ประกอบการ อีกทั้งสภาพเหตุการณ์ทำให้คู่แข่งนอกพื้นที่เข้ามาทำธุรกิจน้อย หากจะเพิ่มศักยภาพในความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรมีการดำเนินการโดยเริ่มต้นจากการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้รู้กระบวนการบริหารจัดการร้านค้าและบริษัทของตนเองว่าควรจะมีโครงสร้างองค์การอย่างไรถึงจะเหมาะสมกับการบริหารจัดการ ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และการส่งเสริมผู้ประกอบการให้ได้รับมาตรฐานสากลสำหรับการผลิต พัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานมีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย มีเครือข่ายในการจัดการหาลูกค้า มีการจัดบริการให้ครบวงจรใช้งานมีคุณภาพ มีการบริหารจัดการแบบเชิงรุกเพื่อการเพิ่มลูกค้าใหม่ และการให้บริการที่สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า ดังนั้น ทิศทางของการสร้างประสิทธิภาพการใช้สารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องสร้างบุคลากรทางด้านการบัญชีออกสู่ตลาดในสามจังหวัด เป็นโอกาสในการสร้างงานที่ขาดแคลน ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และฉายภาพให้เห็นถึงประโยชน์และความคุ้มค่าต่อธุรกิจ หากนำสารสนเทศทางการบัญชีมาใช้ และโอกาสที่จะส่งผลสำเร็จจากทิศทางดังกล่าว การรับรู้บริบทจริงขององค์กรในปัจจุบัน และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาแก้ไข มีการเตรียมพร้อมหรือกำหนดกลยุทธ์ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ทันต่อการแข่งขันในตลาดปัจจุบัน ส่วนอุปสรรคคือ ทัศนคติและความไม่เข้าใจของผู้ประกอบการเกี่ยวกับสารสนเทศ ขาดการมองภาพในองค์รวม ทำให้ขาดการเข้าใจถึงการนำสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
* อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 95000
Corresponding author: nantharat.n@yru.ac.th
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์.(2548).ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน(ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2548. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560 จาก https://www.dbd.go.th/mainsite/fleadmin/contents/docservice/fles/pdf/sbch3_2548.pdf.
กันตยา เพิ่มผล (2552) .การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน.กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์.
จารุวรรณ บุตรสุวรรณ. (2552).ผลกระทบของการเรียนรู้ขององค์กรและการสนับสนุนขององค์กรที่มีประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสาร มทร.อีสาน. 2(1) : 83-93.
ปพฤกษ์ อุตสาหะวาณิชกิจ. (2547). การแข่งขันในผลิตภัณฑ์และการบริการในตลาดโลก. กรุงเทพฯ : อักษรพิทยา.
พิษณุ คุณชื่น. (2548). ผลกระทบของความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการปรับปรุงองค์กรและผลการดำเนินงานของ SMEs ไทย. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิมพา หิรัญกตติ, อุดม สายะพันธุ์, เกยูร ใยบัวกลิ่น, สุพรรณี อินทร์แก้ว และ สมชาย หิรัญกิตติ, (2557). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวชาวไทย.วารสารสุทธิปริทัศน์. 28 (88) : 362-384.
มัลลิกา ต้นสอน. (2554).การจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
มุจรินทร์ แก้วหย่อง. (2548). ความรู้ความสามารถทางการบัญชี ระบบสารสนเทศทางบัญชีคุณภาพ ข้อมูลทางบัญชี และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และ สุรชัย อุตมอ่าง. (2554). การบริหารความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคเหนือของ ประเทศไทย. Journal of Management Sciences. 28. (1).49-63.
วัชนีพร เศรษฐสักโก.(2543).ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. กรุงเทพฯ : วี.เจ พริ้นติ้ง.
ศรีเพ็ญ วงษ์เขียว. (2554) การใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนและควบคุมของธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมแก้ว รุ่งเลิศเกรียงไกร, พรรษมน บุษบงษ์, และ พจนีย์ ลัภกิตโร. (2545). ประเมินศักยภาพผู้ทำบัญชีจังหวัดสงขลา : กรณีศึกษาผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543. งานวิจัยคณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.
สมยศ นาวีการ. (2548). ความได้เปรียบทางการแข่งขันและการอยู่รอดในระยะยาวขององค์กร.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บรรณกิจ.
ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549). ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อัมพร ธำรงลักษณ์. (2551). องค์การทฤษฎีโครงสร้างและการออกแบบ.กรุงเทพฯ : โครงการตำราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุทัยวรรณ จรุงวิภู และสุชาดา สถาวรวงศ์ (2560). การบัญชีขั้นกลาง 1 และระบบสารสนเทศทางการบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
Bakar and Ahmed. (2010). Assessing the relationship between firm resources and product innovation performance: A resource-based. Business Process Management Journal. 16(3): 420–439.
Darcy C. et al. (2014). A consideration of organizational sustainability in the SME Context: A resource based view and composite model. European Journal of Training and Development. 38(5): 398-414.
Huefner, R.J., & Largay, J.A. (2008). The roll of accounting information in revenue. Management. Business Horizons, 51(3), 245-255.
Mead D.C. and Liedholm C. (1998). The Dynamics of Micro and Small Enterprises in Developing Countries. World Development. 26(1): 61-74.
Romney,M.B. and Romney,S.P.(2006) Accounting Information System. New Jursy NJ: Pearson & Prentice Hall,Inc.
Veeken and Woutres (2014) Developing Enabling Performance Measurement Systems: On the Interplay Between Numbers and Operational Knowledge. European Accounting Review. 24(2).277-303.
Yamane, Taro.(1973). Statistics: An Introductory Analysis.(3rd ed.) New york : Harper and. Row.
Yoon,Y, Guimaraes,T and O’neai,Q (1995). Exploring the Factors Associated with Expert Systems Success, MIS Quarterly. 19.1.