การวิเคราะห์ความสูญเสียของระบบการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเห็ดนางฟ้า ในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

กสมล ชนะสุข
กนกพัชร กอประเสริฐ
ศานติ ดิฐสถาพรเจริญ
สมพล สุขเจริญพงษ์

บทคัดย่อ

              งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ความสูญเสียของระบบการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของโซ่อุปทานอุตสาหกรรมเห็ดในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ เกษตรกรผู้เพาะเห็ดนางฟ้าในโรงเรือนปกติและโรงเรือนอีแวป จำนวน 2 ราย โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบบันทึกผลการทดลองเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวัดน้ำหนักและความแน่นเนื้อหลังการเก็บเกี่ยวเห็ดวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                ผลการวิเคราะห์ความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวเห็ดนางฟ้า พบว่า ความสูญเสียทางกายภาพของเห็ดในโรงเรือนปกติมีความสูญเสียที่เกิดจากการเข้าทำลายของศัตรูเห็ด ส่งผลให้ดอกเห็ดมีสภาพไม่สมบูรณ์ รูปร่างผิดปกติ มีการปนเปื้อนของเชื้อราและแบคทีเรียมากกว่าเห็ดในโรงเรือนอีแวป เนื่องจากโรงเรือนอีแวปมีระบบการควบคุมที่ดีและเหมาะสมกว่าและเมื่อวิเคราะห์อัตราการสูญเสียน้ำหนักและความแน่นเนื้อเห็ดนางฟ้าหลังการเก็บเกี่ยว พบว่า ผลผลิตเห็ดจากโรงเรือนปกติมีอัตราการสูญเสียน้ำหนักและความแน่นเนื้อเห็ดสูงกว่าผลผลิตเห็ดจากโรงเรือนอีแวป และผลการวิเคราะห์อัตราการสูญเสียน้ำหนักและความแน่นเนื้อของเห็ดนางฟ้าหลังการขนส่งไปยังตลาดปฐมมงคลและตลาดศรีเมือง พบว่า อัตราการสูญเสียน้ำหนักของเห็ดนางฟ้าหลังการขนส่งของชั้นที่ 1 มีอัตราการสูญเสียน้ำหนักมากที่สุด และอัตราการสูญเสียความแน่นเนื้อของชั้นที่ 3 มีอัตราการสูญเสียความแน่นเนื้อมากที่สุด และจากการขนส่งเห็ดนางฟ้าไปยังตลาดปฐมมงคลและตลาดศรีเมือง พบว่า อัตราการสูญเสียน้ำหนักและความแน่นเนื้อเห็ดเฉลี่ยหลังการขนส่งไปตลาดศรีเมืองมีอัตราการสูญเสียมากกว่าตลาดปฐมมงคล


* อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
** อาจารย์ประจำสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
*** อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Corresponding author : p.dharika@gmail.com

Article Details

How to Cite
ชนะสุข ก., กอประเสริฐ ก., ดิฐสถาพรเจริญ ศ., & สุขเจริญพงษ์ ส. (2019). การวิเคราะห์ความสูญเสียของระบบการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเห็ดนางฟ้า ในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(2), 130–145. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2018.27
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2558). ข้อมูลสถิติด้านการเกษตร. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560 จาก https://www.doae.go.th/doae/.

จิราภา เหลืองอรุณเลิศ. (2554). บรรจุภัณฑ์ผักผลไม้ สถาบันอาหาร. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560 จาก https://www.nfi.or.th/food-technology-news/food-technology-news-thai.html.

ชลธิชา โคประโคน. (2559). การศึกษาการลงทุนเพาะเห็ดนางฟ้า. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิธิยา รัตนาปนนท์ และดนัย บุณยเกียรติ. (2548). การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

บริษัท ยูที เอ็นยิเนียริ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล. (2560). หลักการทำงานของระบบอีแวป. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560 จาก https://www.evap-cooling.com/16456967/บทความ-สัตว์บก-มีค-60.

บริษัท ฮิวเทค (เอเซีย) จำกัด. (2560). สาระน่ารู้เกี่ยวกับระบบอีแวป. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560 จาก https://www.evap-cooling.com/16456967/บทความ-สัตว์บก-มีค-60.

พรรณี หอมทอง. (2556). ความสูญเสีย 7 ประการ (7 WASTES). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560 จาก https://www.thailandindustry.com/indust_newweb/articles_preview.php?cid=19136.

มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี และคณะ. (2556). ผลของการจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนแบบปิดต่อสมรรถนะการผลิตของไก่ไข่รุ่น. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร. ฉบับพิเศษ, 234-239.

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล. (2557). เห็ดและความสำคัญของการผลิตเห็ด. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560 จาก https://www.satunatc.ac.th/lms/course/view.php?id=3.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2555). ธุรกิจฟาร์มเพาะเห็ด (Start Up-Business). กรุงเทพฯ : ธนาคารกสิกรไทย.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). เห็ดนางฟ้า. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560 จาก https://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant/rortor/veget/85.pdf.

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม. (2557). สถิติข้อมูลการปลูกพืช. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2560 จาก https://www.nakhonpathom.doae.go.th/stat.html.

สังคม เตชะวงค์เสถียร. (2524). ดัชนีการเก็บเกี่ยวของผลไม้บางชนิด. วารสารพืชสวน 16 (2) : 7-12.

สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย. (2557). เห็ดไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2560 จาก https://www.thaimushroomsoc.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539275614&Ntype=3.

อุราภรณ์ สอาดสุด และคณะ. (2552). การควบคุมคุณภาพและยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวเห็ดสกุลนางรม. เชียงใหม่ : ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.