แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพบุคลากรสายสนับสนุนในภาควิชา ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Main Article Content

สมจินตนา ไรสูงเนิน

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพชีวิตในการทำงาน ปัจจัยด้านการรับรู้พฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรสายสนับสนุน 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ บุคลากรสายสนับสนุน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรสายสนับสนุน และ 4) แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพบุคลากรสายสนับสนุน ข้อมูลจัดเก็บจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนในภาควิชาของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 348 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้ภาควิชาเป็นชั้นภูมิในการแบ่ง และผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 3 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน เท่ากับ 0.89 ปัจจัยด้านการรับรู้พฤติกรรมสุขภาพ เท่ากับ 0.93 และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมในองค์การ ปัจจัยด้านการรับรู้พฤติกรรมสุขภาพ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรับรู้ประโยชน์ ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรสายสนับสนุนในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาสุขภาพองค์รวม
                2. การเปรียบเทียบเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนที่มีอายุ และสถานภาพสมรสต่างกัน มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนบุคลากรสายสนับสนุนที่มีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา และประเภทตำแหน่งสายสนับสนุนต่างกันมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพไม่แตกต่างกัน
                3. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงานและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรสายสนับสนุน พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน โดยด้านที่มีความสัมพันธ์สูงสุดใน 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านทัศนคติในการปฏิบัติพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ (rxy= 0.368) รองลงมาด้านอิทธิพลจากสถานการณ์ (rxy= 0.345) และด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง (rxy= 0.327)
                4. แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพบุคลากรสายสนับสนุน ดังนี้ ได้แก่ 1) การได้รับสนับสนุน งบประมาณและการส่งเสริมสุขภาพ 2) การวางแผนและการจัดโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ 3) การให้คำปรึกษาสุขภาพหลังการอบรม 4) การติดตามผลหลังการอบรม การสรุปผลการดำเนินโครงการ และการนำเสนอรายงานต่อผู้บริหาร และ 5) การปฏิบัติตามหลัก 3 อ. ได้แก่ อาหาร อารมณ์ และการออกกำลังกาย การสร้างต้นแบบด้านสุขภาพ และการใส่ใจสุขภาพ


* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้การควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย พงศ์สิทธิกาญจนา และอาจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย
Corresponding author : somjintanarisongnern@gmail.com

Article Details

How to Cite
ไรสูงเนิน ส. (2019). แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพบุคลากรสายสนับสนุนในภาควิชา ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(2), 15–29. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2018.18
บท
บทความวิจัย

References

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, สำนักงานคณบดี, งานนโยบายและแผน. (2558). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส.

จารุทัศน์ ตั้งกีรติชัย. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในด้านการบริโภคอาหารของบุคลากร กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาสุขศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นพวรรณ ใจคง. (2555).คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา จังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ.มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญเรือง ชัยสิทธิ์.(2551). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพบัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ประไพพันธ์ บัวพรมมี. (2553). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสุขศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาจารย์พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลาง กระทรวงสาธารณสุข.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยคริสเตียน.

สุพัตรา การะเกตุ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสุขศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุภาวดี พรหมมา. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในด้านการบริโภคอาหารของบุคลากร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสุขศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิภา อนุจรพันธ์. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของข้าราชการทหารระดับชั้นสัญญาบัตรในศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เอกวิทย์ ปฏิสัมภิทากุล. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในสถาบันราชานุกูล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Best, J. W. & Kahn, J. V. (1998). Research in education. (8th ed.) Boston : Allyn & Bacon.

Huse, E. F., & Cummings, T. G. (1985). Organization development and change. (3rd ed.) St. Pual, MN : West Publishing.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.

Pender, N. J., C. L. Murdaugh, C. L. & Parsons. M. A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice (5th ed.). New York : Pearson Education.

Walton, R. E. (1974). Improving the quality of work life. Harvard business review, 15(5), 12-16.