การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สองด้านความคาดหวังของผู้ใช้บริการ Mobile Banking (MyMo) ธนาคารออมสิน สาขานครปฐม

Main Article Content

กัณฑามาศ นาถวัฒนกุล
เกศินี ถนอมพลกรัง

บทคัดย่อ

                งานวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ สองประการคือ 1. เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ใช้บริการ Mobile  Banking  (MyMo) ธนาคารออมสิน  สาขานครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  2.เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อความคาดหวังของผู้ใช้บริการ Mobile  Banking  (MyMo) ธนาคารออมสิน  สาขานครปฐม ประชากรในการวิจัย คือ ลูกค้าผู้ที่มาใช้บริการ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน สาขานครปฐม ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แท้จริง  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ในกรณีไม่ทราบขนาดของประชากร ได้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก (Convenience Sampling) โดยลงภาคสนามสอบถามลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในธนาคารออมสิน  สาขานครปฐม  ตลอดเดือน เมษายน 2560 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า
                1. ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความคาดหวังของผู้ใช้บริการ Mobile  Banking ธนาคารออมสิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุ และอาชีพ
                2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบในลำดับที่ 1 พบว่า ความคาดหวังของผู้ใช้บริการ Mobile  Banking ธนาคารออมสิน จังหวัดนครปฐมจะมุ่งเน้นไปที่สามลำดับแรกได้แก่ ด้านค่าบริการ (ly = 0.77)  ด้านช่องทางการขาย (ly = 0.75)  และด้านผลผลิต (ly = 0.62)  ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบในลำดับที่ 2 พบว่า ความคาดหวังของผู้ใช้บริการ Mobile  Banking ธนาคารออมสิน จังหวัดนครปฐมในสามลำดับแรกจะมุ่งเน้นในองค์ประกอบด้าน พนักงานให้คำแนะนำที่ถูกต้อง (ly = 0.85)  บริการทางการเงินผ่าน Mobile Banking (MyMo)มีความหลากหลาย (ly = 0.79)  และคำแนะนำของทางการตลาดที่ทำให้ท่านทราบข้อมูลบริการ Mobile Banking (MyMo) (ly = 0.76) ตามลำดับ


* คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
** คณะวิทยาการจัดการ สาขาบัญชีและการเงิน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
Corresponding author : ktanompo@gmail.com

Article Details

How to Cite
นาถวัฒนกุล ก., & ถนอมพลกรัง เ. (2018). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สองด้านความคาดหวังของผู้ใช้บริการ Mobile Banking (MyMo) ธนาคารออมสิน สาขานครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 4(1), 62–73. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2017.6
บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ พลสุวัตถ์. (2549). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อคุณภาพบริการของธนาคาร กรุงศรีอยุธยาจำกัด (มหาชน) กรณีศึกษา : สังกัดภาคนครหลวง 4. การจัดการภาครัฐ และเอกชนมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

ชิษณุกร พรภาณุวิชญ์. (2540). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบทบาทการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของสมาชิกองค์การบริหารการบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมบัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดลยา วุฒิวิวัฒนกุล. (2544).ความพึงพอใจในการทำงานและพฤติกรรมการให้บริการของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ ธนาคารออมสินสำนักพหลโยธิน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาอุตสาหกรรม). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นันทริกา ไปเร็ว. (2556). ความรู้และทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมที่จะเลือกใช้บริการInternet Banking ของลูกค้าธนาคารออมสินในจังหวัดลำปาง.หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ปกป้อง ปันปวง. (2556).ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถเคลื่อนที่ ธนาคารออมสินในจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเนชัน.

ปัทมากร ระเบ็ง. (2551). ความพึงพอใจของลูกค้าเงินฝากต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการของธนาคารออมสิน สาขาดอยเต่า (ธนาคารชุมชน) จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรพรรณ ช้างงาเนียม. (2553). ลักษณะบุคคล ความพึงพอใจและพฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรม ทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Banking) ของลูกค้าธนาคารในกรุงเทพฯ. ปริญญานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร.

พิไลวรรณ จันทรสุกรี. (2540). ความคาดหวังในงานของนักศึกษาพยาบาลปีที่สี่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีในเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภาสกร กุลชิต. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการของธนาคารไทย พาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตน์ธิดา พุฒตาล. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารอินเทอร์เน็ต (E-Banking) ของผู้บริโภคกรณีศีกษา : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์ (2545). คุณภาพในงานบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น).

อรวรรณ ใจโต. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการ อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้งของธนาคาร ออมสิน ในจังหวัดลำปาง. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเนชั่น.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. Experimental Designs, New York. Cuyno.

Oxford (2000). Oxford Advanced Leamer's Dictionary. England : Oxford University Press.