การพัฒนานวัตกรรมทางการตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน อุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์เรื่องการพัฒนานวัตกรรมทางการตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม เป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ (1) ศึกษานวัตกรรมทางการตลาด การเพิ่มมูลค่าที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (2) วิเคราะห์ความสอดคล้องของโครงสร้างนวัตกรรมทางการตลาด การเพิ่มมูลค่าที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (3) กำหนดโครงสร้างนวัตกรรมทางการตลาด การเพิ่มมูลค่าที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ผลการวิเคราะห์พบว่า
1. นวัตกรรมทางการตลาด มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อการเพิ่มมูลค่า ที่ระดับนับสำคัญทางสถิติ 0.05 (P < 0.05) โดยมีความสัมพันธ์ทางบวก ซึ่งให้ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient = .810) ประสิทธิภาพการพยากรณ์ พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่เกี่ยวข้องระหว่างนวัตกรรมทางการตลาด การเพิ่มมูลค่า ที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
2. นวัตกรรมทางการตลาด มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (P < 0.05) โดยต่างมีความสัมพันธ์ทางบวก ซึ่งให้ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient = .927) และการเพิ่มมูลค่าความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ0.05 (P < 0.05) โดยต่างมีความสัมพันธ์ทางบวก ซึ่งให้ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient = 0.924) ประสิทธิภาพในการพยากรณ์ พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่เกี่ยวข้องระหว่างนวัตกรรมทางการตลาด การเพิ่มมูลค่า ที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
* ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ภายใต้การควบคุมของดร ชัยพร ธนถาวรลาภ
Corresponding author : dr.chaiporn@gmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน จำกัดสามลดา.
จรินทร์ อาสาทรงธรรม. “การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในมิติด้านนวัตกรรม (Innovation),” วารสารนักบริหาร. 25(2) : 15 เมษายน – มิถุนายน, ; 2548.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2546). สังคมวิทยาองค์การ.: กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม. (2554). แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574 National Industrial Development Master Plan. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548). การประเมินนวัตกรรมด้านการเรียนการสอน. ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2557. จาก https://www.obec.go.th/
Arbuckle J. L. (2011). AMOS 20.0 user's guide. Crawfordville.
Atuahene-Gima, K. (1996). Market Orientation and Innovation. Journal of Business Research, 35 (2), 93-103.
Comfrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Damanpour, F. 1991. Organizational Innovation: A meta-analysis of effects of determinants and moderators. Academy of Management Journal, 34(3): 555-590.
Farrell, M.A. & Oczkowski, E. (2002). Are market orientation and learning orientation necessary for superior organizational performance?. Journal of Market Focused Management, 5, 197-217.
Glazer, Rshi. (1991). Marketing in an information-intensive environment : strategic implications of, knowledge as an asset, Journal of Marketing, (October), 1-19.
Higgins, E. T., & Brendl, C. M. (1995). Accessibility and applicability: Some "activation rules" influencing judgment. Journal of Experimental Social Psychology, 31, 218-243.
Magrath, A.J. and J.M. Higgins. “Six Pathways to Marketing Innovation; The Value AddedAnalysis : A Seventh Pathways to Marketing Innovation,” Planning Review. 20(6) : 12 – 19 ; 1992
Saris, W. E. & Strenkhorst, L. H. (1984). “Causal modeling non experimental research : An Introduction to the Lisrel approach” Dissertation Abstract International, 47(7), 282.
Siggelkow, N. (2002). Evolution toward fit. Administrative Science Quarterly, 47(1), 125-159.
Thompson, V.A. (1965). Bureaucracy and innovation. Administrative Science Quarterly, 10 (1), 1-20.