ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขจากการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยในการปฏิบัติงานและระดับความสุขจากการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เปรียบเทียบกับระดับความสุขในการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาปัจจัยในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความสุขจากการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิยาลัยศิลปากร และ 4) เพื่อหาแนวทางส่งเสริมความสุขจากการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้บริหารจำนวน 9 คน และพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิธีการแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยในการปฏิบัติงาน และความสุขจากการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) พนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากรที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความสุขจากการปฏิบัติงานในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพนักงานสายสนับสนุนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และวิทยาเขตต่างกัน มีความสุขจากการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขจากการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบว่า การสนับสนุนจากหน่วยงาน และความพยายามในการทำงาน เป็นตัวแปรที่มีผลต่อความสุขจากการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสามารถร่วมทำนายความสุขจากการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ร้อยละ 48.3 และ 4) แนวทางที่ส่งเสริมความสุขจากการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน หมาวิทยาลัยศิลปากร ได้แก่ การสร้างบรรยากาศที่ดีในหน่วยงาน ส่งเสริมมีจิตสาธารณะ นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ ใส่ใจในครอบครัวของพนักงานให้มากขึ้น ให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา ให้การพัฒนาพนักงานโดยเข้ารับการอบนม เข้าร่วมสัมมนา ศึกษาดูงานและการส่งเสริมให้มีการศึกษาที่สูงขึ้น นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และพนักงานต้องตั้งใจทำงานอย่างเต็มความสามารถ รักองค์กร เสียสละ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร
* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้การควบคุมของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร ธงชัย พงศ์สิทธิกาญจนา และอาจารย์ ดร วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย
Corresponding author : mbakru1@gmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
แผนงานสุขภาวะองค์การภาคเอกชน. (2552). มาสร้างองค์การแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
มหาวทยาลัยศิลปากร, กองแผนงาน. (2556). รายงานประจำป 2556. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิสุทธิ์ จิราธิยุต. (2552, พฤศจิกายน 19). มาตรฐาน MS-QWL สร้างองค์การอยู่ดีมีสุข. ประชาชาติธุรกิจ, 30.
อภิชาติ ภู่พานิช. (2551). การใช้ดัชนีวัดระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Best, J.W. & Kahn, J.V. (1998). Research in Education (8th ed.). Boston : Allyn & Bacon.
Diener, E. (2003). Subjective well-being. Psychological Bulletin, 95 (3X,542-575)
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper & Row.
Good, M. L. (2006). Integrating the individual and the organization. New York : Wiley.
iOpener. (2014). The science of happiness at work. Accessed 9 July 2015. Available from https://www.iopener.com/the-science-of-happiness.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and psychological measurement, 30 (3), 607- 610.
Schermerhon, J. R., Hunt, J. G., & Osborn, R. (2003). Organizational behavior management (8th ed.). New York : Wiley and Sons.
Warr, P. (1990). The measurement of well-being and other aspects of mental health. Journal of occupation psychology, 63, 193- 210.