การศึกษาเปรียบเทียบทักษะทางปัญญาและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) และความพึงพอใจของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมกลุ่มในรายวิชาการเงินธุรกิจ

Main Article Content

มินท์มันตา หิรัณย์ณภัทร์

บทคัดย่อ

                การศึกษาเปรียบเทียบทักษะทางปัญญาและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) และความพึงพอใจของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม ในรายวิชาการเงินธุรกิจ (3531101) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะทางปัญญาและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ก่อนและหลังใช้กิจกรรมกลุ่ม 2. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมกลุ่มในรายวิชาการเงินธุรกิจทำการเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมซึ่งเรียนรายวิชาการเงินธุรกิจ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 153 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติทดสอบที
                ผลการศึกษาพบว่า
                1. ทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) หลังใช้กิจกรรมกลุ่มสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรมกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 สำหรับทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) หลังใช้กิจกรรมกลุ่มสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรมกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00
                 2. ความพึงพอใจของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมกลุ่มในรายวิชาการเงินธุรกิจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.37


* อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ การเงินและการธนาคาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Corresponding author : m.hirannapat@gmail.com

Article Details

How to Cite
หิรัณย์ณภัทร์ ม. (2018). การศึกษาเปรียบเทียบทักษะทางปัญญาและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) และความพึงพอใจของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมกลุ่มในรายวิชาการเงินธุรกิจ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 2(2), 46–58. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2015.4
บท
บทความวิจัย

References

คะนึงนิจ พุ่มพวง. การใช้กิจกรรมกลุ่มพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร , 2546.

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2552). ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของนักศึกษาภาคปกติ ระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประจำปีการศึกษาที่ 2/2552. สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ชลิดา ชวนานนท์. (2552). ผลของกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ธันย์ชนก นันตติกูล. (2554). ระดับ TQF ของนิสิตปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญมี จันทร์สวัสดิ์. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับ การจัดการเรียนรู้โดยวิธีปกติ ในรายวิชา 01337306 กฎและข้อบังคับทางอากาศเรื่อง กฎการบินด้วยสายตา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 8,1 (มกราคม-มิถุนายน): 89-97.

พนม ลิ้มอารีย์. (2542). การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม. มหาสารคาม : ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

พิริยากร คล้ายเพ็ชร, พรรณิภา ทองณรงค์, สรัญญา เปลงกระโทก. (2554). การศึกษาผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF : HEd) และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ในรายวิชาการศึกษาอิสระวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น. ขอนแก่น : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.

ระคน สูงโฮง. ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มในการพัฒนาตนเองของนักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนอนุบาลกันทรารมย์ จังหวัดศรีษะเกษ. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558. จาก https://www.sisaketedu1.go.th/news_detail..php?id=4900.

ระบบสารสนเทศงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2557). ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558. จาก https://reg2.npru.ac.th/registrar/teach_browse.asp?avs1006653301=16.

สมเกียรติ ถุงแก้ว. (2548). ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มที่มีต่อความรับผิดชอบต่อสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาการแนะแนว. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษานครปฐม. (2552). ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558. จาก https://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/news8.php#01.

อัญชิสา สุรีย์แสง. (2553). การใช้กิจกรรมพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนอรุณประดิษฐ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Yamane, Taro. Statistics: an introductory analysis. New York : Harper and Row, 1973.