แนวทางการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) เปรียบเทียบความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษา และ 4) เสนอแนะแนวทางการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศิลปากรชั้นปีสุดท้ายที่จะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของกลุ่มสาขาวิชา จำนวน 370 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 6 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ความพร้อมในการประกอบอาชีพตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษาที่ เพศ เกรดเฉลี่ยสะสม ภูมิลำเนา รายได้เฉลี่ยของครอบครัว ต่างกันมีความพร้อมในการประกอบอาชีพแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ส่วนด้านกลุ่มสาขาวิชา อาชีพผู้ปกครอง ที่ต่างกันมีความพร้อมในการประกอบอาชีพไม่แตกต่างกัน
3. สภาพแวดล้อมทางการศึกษาทุกด้านสามารถร่วมกันทำนายความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ร้อยละ 86.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. แนวทางการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษา ประการแรก คือ ด้านพุทธิพิสัย ควรให้ผู้สอนแสวงหาความรู้ใหม่ๆ โดยทำความร่วมมือการสอนกับประเทศกลุ่มอาเซียน ใช้สื่อการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีและจัดหน่วยให้บริการแก่นักศึกษา ประการที่สอง ด้านจิตพิสัย ควรสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาเรียนรู้จัดสภาพแวดล้อมให้มีระเบียบเกิดสมาธิ จัดกิจกรรมเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม ประการที่สาม ด้านทักษะพิสัย ควรเน้นการสอนที่ฝึกปฏิบัติการแก้ปัญหา มีอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการฝึกทักษะและสนับสนุนให้มีโอกาสได้ฝึกงานในกลุ่มประเทศอาเซียน
* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้การควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย พงศ์สิทธิกาญจนา และอาจารย์ ดร.วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย
Corresponding author : mbakru1@gmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
ชิดชนก ทองไทย. ( 2556). การรับรู้และทัศนคติที่มีผลต่อความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียนของนักศึกษา. ปริญญาโทมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นันทพัทธ์ โนนศรีเมือง, อำภาศรี พ่อค้า. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางการศึกษากับแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์ : รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานประจำปีงประมาณ พ.ศ.2556, 2556
พระอโนชาสิมพา. ( 2553). ทัศนะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย. ปริญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการอุดมศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
มหาวิทยาลัยศิลปากรกองกิจการนักศึกษา. (2557). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์. ค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2557 จาก https://www.kongkit.su.ac.th/kksu/index.php?option=com_content&view=article&id=47%3 Avision&catid=29%3Athe-cms&Itemid=1.
________กองบริการการศึกษา. (2557). ระบบการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. ค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2557. จาก https://reg2. su.ac.th/registrar/studentByProgram.asp?acadyear=2553&facultyid=0&levelid=1
________กองแผนมหาวิทยาลัยศิลปากร. (2556). รายงานประจำปีการศึกษา2553-2554. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2557. จาก https://www.plan.su.ac.th/Research/Databest/SARSU(2553-2554).pdf.
เศรษฐชัยอันสมศรี, นัฐกานต์ ขำยังและพลอย เจริญสม. (2556). ฐานข้อมูลราชกิจานุเบกษาและการพัฒนากฎหมายอิเลคทรอนิคส์. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2557. จาก https://61.19.241.70/rkj/frmlawpreview4. aspx?lawgroupId=212666
สุบินยุระรัช, เชียง เภาชิต, สุรเดช แสงเพ็ชร และไพบูลย์ สุขวิจิตร.รายงานวิจัยเรื่องความพร้อมในการพัฒนาบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจกิจอาเซียน.(กรุงเทพฯ : สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 2554): 29-88.
อรวรรณ สีลวานิช. (2554). ความพร้อมของนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์กับการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียน. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Best, J.W. & Kahn, J.V. (1998). Research in Education. (8th ed.) Boston : Allyn & Bacon.
Bloom, B.S. (1976). Human Charactcristic and School Learning. New York : McGraw-Hill Book Co.