ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อผลสำเร็จในการพัฒนาองค์การสมัยใหม่ กรณีศึกษา สายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อผลสำเร็จในการพัฒนาองค์การสมัยใหม่ในสายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานต่อปัจจัยด้านภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีผลสำเร็จในการพัฒนาองค์การสมัยใหม่ในสายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การต่อความสามารถในการอธิบายและทำนายของตัวแปรภาวะผู้นำและวัฒนธรรมที่มีต่อผลสำเร็จในการพัฒนาองค์การสมัยใหม่ในสายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ 4) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อผลสำเร็จในการพัฒนาองค์การสมัยใหม่ในสายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โดยประชากรเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ในสายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างใช้สูตรของ ยามาเน่ และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามทฤษฎี กรอบแนวคิด และนิยามปฏิบัติการ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อผลสำเร็จในการพัฒนาองค์การสมัยใหม่ในสายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด พบว่าปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำอยู่ในด้านภาวะผู้นำแบบปล่อยเสรี มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุด (x̄) = 3.55 รองลงมาด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄) = 3.49 และด้านภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนมีค่าเฉลี่ยโดยรวมน้อยที่สุด (x̄) = 3.53 และปัจจัยด้านวัฒนธรรมการทำงานโดยด้านวัฒนธรรมการปรับตัวมีค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงสุด (x̄) = 3.60 รองลงมาด้านวัฒนธรรมพันธกิจ โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄) = 3.57 ด้านวัฒนธรรมการมีเอกภาพโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄) = 3.56 และด้านวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมน้อยที่สุด (x̄) = 3.54
2. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานต่อปัจจัยด้านภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อผลสำเร็จในการพัฒนาองค์การสมัยใหม่โดยรวมไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ .05 และความสัมพันธ์ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การต่อความสามารถในการอธิบายและทำนายของตัวแปร พบว่า การประเมินภาวะผู้นำองค์การด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับสูง (r = .843) รองลงมาด้านภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับปานกลาง (r = .445) และด้านผู้นำแบบปล่อยเสรีมีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับน้อย (r = .685**) การประเมินวัฒนธรรมองค์การ ด้านวัฒนธรรมส่วนร่วม (r = .633**) ด้านวัฒนธรรมพันธกิจ (r = .494**) ด้านวัฒนธรรมเอกภาพ (r = .392**) และด้านวัฒนธรรมการปรับตัว (r =.268**) มีความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับน้อย กับผลสำเร็จการพัฒนาองค์การสมัยใหม่ และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยวิเคราะห์อำนาจการทำนายของภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อผลสำเร็จในการพัฒนาองค์การสมัยใหม่ของสายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในเรื่องภาวะผู้นำองค์การโดยการประเมินภาวะผู้นำองค์การ มีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 83 ในเรื่องวัฒนธรรมองค์การ มีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 81
* อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
Corresponding author : pa.phatsorn@hotmail.com
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กีรติ ยศยิ่งยง. (2548). การวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อริยมรรค.
ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธนธัชการพิมพ์.
ธีรวุฒิ โศภิษฐิกุล. (2547). การประยุกต์ใช้การร่วมมือเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. วารสารราชนครินทร์ 1 (มกราคม-เมษายน 2547) : 53-54.
วรภัทร ภูเจริญ. (2548). องค์การแห่งการเรียนรู้และการบริหารความรู้. กรุงเทพฯ : บริษัท อริยชน จำกัด.
สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานุ. (2545). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2546). จิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
อุทัย เลาหวิเชียร. (2542). รัฐประศาสนศาสตร์; ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
Denison, D. R. (1990). Corporate Culture and Organizational Effectiveness. New York : JohnWiley & Sons
Johnson, G. (1992). Managing Strategic Change: Strategy, culture and action. Long RangePlanning. 25, 1 (February): 28-36.
Jackson, S.E., Schuler, R.S., & Werner, S. (2009). Managing human resources. Mason, OH: South-Western Cengage Learning.
Prahalad, C. K. and Bettis, R. A. (1986). The Dominant Logic : A New Linkage Between Diversityand Performance. StrategicManagement Journal. 7, 1 (November/December): 485-501.
Reed, R. and Defillippi, R. J. (1990). Causal Ambiguity, Barriers to Imitation, and SustainableCompetitive Advantage. Academy of Management Review. 15, 1 (January): 88-102.
Scholz, C. (1987). Corporate Culture and Strategy: The Problem of Strategic Fit. Long RangPlanning. 20, 4 (August): 78-87.
Yamane, T. (1967). Statistic : An introductory analysis. (2nd ed.). NewYork : Harper & Row.