การวิเคราะห์ระบบกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ด้วยแนวคิดอัตราดอกเบี้ย แบบผสมกลับด้านเชิงธุรกิจ

Main Article Content

โสภณ มหาเจริญ

บทคัดย่อ

                บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการชำระเงินคืนและการคิดอัตราดอกเบี้ยของกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)  2) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบของวิธีการชำระเงินรวมถึงรูปแบบการคิดอัตราดอกเบี้ยของ กยศ. ที่สอดคล้องกับสินเชื่อรวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทอื่นที่เป็นการผสมผสานแบบกลับด้านเชิงธุรกิจ ผลจากการวิเคราะห์พบว่า (1) กระบวนการคิดคำนวณการชำระหนี้และวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ กยศ. ใช้วิธีการชำระเงินคืนแบบระยะยาวไม่เกิน 15 ปี โดยกำหนดการชำระคืนเงินต้นเป็นแบบรายปีปีละครั้งไม่เกิน 15 ครั้ง โดยคิดอัตราดอกเบี้ยแบบเพิ่มต้นลดดอกลักษณะขั้นบันไดในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี ในส่วนของเงินค้างชำระในแต่ละงวดจะคิดค่าปรับเฉพาะเงินต้นที่ค้างชำระในงวดนั้นเท่านั้นในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี หากผิดนัดชำระไม่เกิน 1 ปี และร้อยละ 18 ต่อปี หากมียอดผิดนัดชำระเข้าสู่ปีที่ 2 (2) ผลของการเปรียบเทียบรูปแบบของการชำระหนี้ และวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ย ของ กยศ. กับรูปแบบของสินเชื่อและผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทอื่น โดยการคิดดอกเบี้ยของ กยศ. เลือกนำวิธีการชำระหนี้ที่มุ่งประโยชน์ต่อผู้กู้ให้สามารถผ่อนชำระได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้กู้ควรเลือกการผ่อนชำระแบบระยะยาวให้ครบ 15 ปี ภายใต้ความมีวินัยในการออมเงินวันละน้อยต่อเนื่องตลอดระยะสัญญา


* อาจารย์ประจำ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 
Corresponding author : Hs7nbl@hotmail.com

Article Details

How to Cite
มหาเจริญ โ. (2018). การวิเคราะห์ระบบกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ด้วยแนวคิดอัตราดอกเบี้ย แบบผสมกลับด้านเชิงธุรกิจ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 2(1), 127–138. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2015.18
บท
บทความวิจัย

References

เพชรสุดา อร่ามเสรีวงศ์ และ สุกัญญา นิธังกร (2547). การวิเคราะห์ปัญหาการชำระหนี้ของกองทุนเงินให้ กู้ยืมเพื่อการศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2547. ค้นเมื่อ 25 เมษายน 2558. จาก https://www.econ.tu.ac.th/?action=journal&menu=26&pgmenu=77&type=journal&issue=8.

วิจิตรา ทินพนาสวัสดิ์ (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการชำระหนี้คืนเงิน กยศ. : กรณีนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง, สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิตปีการศึกษา 2549, มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2558. จาก https://202.28.199.3/tdc/browse.php?option=show&browse_.

สุประพล พาฬิโพธิ์ (2554). ปัญหาการค้างชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)กรณีศึกษาผู้กู้ยืมที่ค้างชำระวิทยานิพนธ์หลักสูตรประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิตคณะศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยเกริก. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2558. จาก https://mis.krirk.ac.th/librarytext/MPA/2554/No/Suprapol_Parlipho_2554.pdf.

สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (2556). คู่มือผู้ปฏิบัติงานกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (สำหรับสถานศึกษา) กรุงเทพฯ, 2556 ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2558. จาก https://www. studentloan.or.th/detail.php?ctid=476.