รูปแบบการจัดการปัจจัยเพื่อพัฒนาความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรสถาบันการพลศึกษาในประเทศไทย

Main Article Content

สุรจิต อุดมสัตย์

บทคัดย่อ

                การวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการปัจจัยเพื่อพัฒนาความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันการพลศึกษาในประเทศไทยเป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันการพลศึกษาในประเทศไทย 2. ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรสถาบันการพลศึกษาในประเทศไทย และ 3.สร้างรูปแบบ (Model) การจัดการปัจจัยในการสร้างความผูกพันต่อองค์การของสถาบันการพลศึกษาในประเทศไทย การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากรได้แก่ข้าราชการจากสถาบันการพลศึกษา 17 วิทยาเขต จำนวน 914 คน ใช้วิธีหาขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ ทาโร ยามาเน่ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 315 ตัวอย่าง การวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เพื่อสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารระดับสูงจำนวน 15 ราย
                ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่าผู้แบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 54.00 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ58.73 ศึกษาจบระดับสูงกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 81.90 มีตำแหน่งอยู่ในระดับ 5-6 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40.95 ข้าราชการที่สถาบันการพลศึกษาที่ตอบแบบสอบถามมากที่สุด มาจากวิทยาเขตสุโขทัย คิดเป็นร้อยละ 8.57โดยผู้ตอบแบบสอบถามอายุน้อยสุดคือ 21 ปี และมากที่สุด 60 ปี มีค่าเฉลี่ยที่ 42 ปี ส่วนประสบการณ์อยู่ตั้งแต่ระดับ 1-39 ปี มีค่าเฉลี่ยประสบการณ์ทำงานที่ 17.41 ปี
                ผลการวิเคราะห์รูปแบบการจัดการปัจจัยในการสร้างความผูกพันต่อองค์การของสถาบันการพลศึกษาในประเทศไทย ผลการวิเคราะห์พบว่าความผูกพันต่อองค์การของสถาบันการพลศึกษาในประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางตรงจาก ภาวะผู้นำ (= 0.86) การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ( = 0.52) บรรยากาศองค์การ ( = 0.11) และวัฒนธรรมองค์การ (= 0.08) ตามลำดับ ในขณะที่ภาวะผู้นำต่อองค์การของสถาบันการพลศึกษาในประเทศไทย จะได้รับอิทธิพลทางตรงจากการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ (=0.61) บรรยากาศองค์การ (=0.23) และ วัฒนธรรมองค์การ (=0.17) ตามลำดับ


* ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา วิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การควบคุมของ อาจารย์ ดร.วิชากร เฮงษฎีกุล และอาจารย์ ดร. นิลมณี ศรีบุญ
Corresponding author : nil.sriboon6886@hotmail.com

Article Details

How to Cite
อุดมสัตย์ ส. (2018). รูปแบบการจัดการปัจจัยเพื่อพัฒนาความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรสถาบันการพลศึกษาในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 2(1), 60–79. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2015.14
บท
บทความวิจัย

References

ชฎาภา ประเสริฐทรง. (2541). ความผูกพันต่อสถาบันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วิทยานิพนธ์ การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต. สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

นงเยาว์ แก้วมรกต. (2542). ผลของทัศนะต่อบรรยากาศองค์การที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรบุคคลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิตสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นฤเบศร์ สายพรหม. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การความผูกพันต่อองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิเชียร วิทยอุดม. (2547). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์ม และไซแท็กซ์.

ศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. (2553). ตัวแบบการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของกรมราชทัณฑ์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการ.บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสยาม.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2551). สังคมวิทยาองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ. (2540). วัฒนธรรมองค์กร. กรุงเทพฯ : โฟร์เพซ.

สุรินทร์ ชาลากูลพฤฒิ. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันกับองค์การของบุคลากรต้อนรับบนเครื่องบิน (หญิงล้วน) บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อารีย์ เพ็ชรรัตน์. (2540). การเปรียบเทียบการรับรู้ลักษณะวัฒนธรรมองค์การและความรู้สึกผูกพันต่อองค์การในองค์การธุรกิจประกันภัยไทย อเมริกัน และญี่ปุ่น. สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Allen, N.J. and J.P. Meyer. (1990). The measurement and antecedents of affective,continuance, and normative commitment to the organization.The Journal of occupational Psychology, 63: 1-18.

Bowditch, J.L and A.F. Buono. (1994). A primer on organizational behavior. (3rd ed.). NewYork: John Wiley & Sons.

Gilliland, S.W. and J.C. Langdon. (1998). “Creating Performance Management Systems That Promote Perceptions of Fairness.” Performance Appraisal. 209-243. Edited by J. W. Smither San Francisco, CA : Jossey-Bass.

Hofstede, G. (1997). Cultures and Organizations: Software of the Mine. New York : McGraw Hill Companies, Inc.

Newman, K. L. (1996). Culture and congruence : The Fit Between Management Practices and National Culture. Journal of International Business. 27 (4): 753-771.

Podsakoff, P.M., Mackenzie, S.B., Moorman, R.H. & Fetter, R. (1990). “Transformational leader behavior and their effects on followers trust on leader, Satisfaction, and organizational citizenship behaviors”. Leadership Quarterly, 1(2), 107-142.

Stringer, R.A. (2002). Leadership and Organizational Climate : The Cloud Chamber Effect. Pennsylvania State University. Prentice Hall.

Yukl, G. (1998). Leadership in organizations. (4th ed.), Englewood Cliffs, NJ : Prentice Hall.