การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของชุมชนปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณภาพชีวิตและการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตกับการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ 4) ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนปฐมอโศก จำนวน 125 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย และผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การรับรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนปฐมอโศก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้านพบว่า การรับรู้ด้านเงื่อนไขคุณธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด คุณภาพชีวิตของชุมชนปฐมอโศก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตด้านปลูกฝังค่านิยมไทยอยู่ในระดับมากที่สุด การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนปฐมอโศก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนปฐมอโศก ที่มีเพศ อายุ การศึกษา สถานภาพในชุมชนระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนและประสบการณ์เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่างกันมีการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตกับการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
4. การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนปฐมอโศก คือ การตั้งใจฝึกฝนตนเอง เรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย พอเพียง มีศีลมีธรรมเป็นหลักเป็นที่พึ่งฝึกตนให้พึ่งตนเอง ขวนขวาย เอาภาระรับผิดชอบในกิจการต่างๆ ของชุมชน และมีชีวิตอยู่อย่างผู้ให้ผู้เสียสละ
* วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้การควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์ ฉิมะสังคนันท์ และ อาจารย์ ดร.สมชาย ลักขณานุรักษ์
Corresponding author : dr.suwat.1962@gmail.ccom
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2551). แนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนสำหรับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : บางกอกบล็อก.
เกษรา จูทอง. (2554). การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน : กรณีศึกษาประชาชนในตำบลวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชุมชนปฐมอโศก. (2556). รายงานการประชุมชุมชนปฐมอโศก วันที่ 16 กันยายน 2556. นครปฐม : ชุมชนปฐมอโศก.
เนตรนภา พงษ์ศรี. (2552). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ จปฐ. ของชุมชนตัดใหม่ เทศบาลนครนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
นัฐพงษ์ สุพร. (2554). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลอินทร์แปลง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พัฒน์ศิณ สำเริงรัมย์. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2546). กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.
_______. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2552). การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. วารสารน้ำ, 20 (2), 249-250.
สุวัฒ ดวงแสนพุด. (2550). ความคิดเห็นที่มีต่อการปฏิบัติตามแนวทางกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือนของผู้นำชุมชนในเขตจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
เอื้องทิพย์ เกตุกราย. (2551). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชน ตำบลคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดโครงการและการประเมินโครงการบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970, Autum). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3),606-610.