ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิต วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผล ในการทำงานของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป สังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

คณิสร พรไกรเนตร

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิต วัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิต วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรกลุ่มงานบริหารทั่วไป สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยผู้วิจัย นำข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างไปวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์เนื้อหา
                ผลการวิจัยพบว่า
                1) ระดับคุณภาพชีวิต ของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับวัฒนธรรมองค์การ ของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม พบว่า โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก 3) ระดับประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  4) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม พบว่า คุณภาพชีวิตกับประสิทธิผลในการทำงาน พิจารณาความสัมพันธ์แต่ละด้านพบว่า ด้านประสิทธิผลระดับบุคคล ด้านประสิทธิผลระดับกลุ่มและด้านประสิทธิผลระดับองค์การมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม พบว่า วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลในการทำงานพิจารณาความสัมพันธ์แต่ละด้าน พบว่า ประสิทธิผลระดับบุคคล ประสิทธิผลระดับกลุ่มและประสิทธิผลระดับองค์การมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


* การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ภายใต้การควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์ ฉิมะสังคนันท์ และอาจารย์ ดร.สมชาย ลักขณานุรักษ์
Corresponding author : dr.suwat.1962@gamil.com

Article Details

How to Cite
พรไกรเนตร ค. (2018). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิต วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผล ในการทำงานของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป สังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 1(2), 42–55. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2014.13
บท
บทความวิจัย

References

ธงชัย สันติวงษ์. (2550). องค์การและการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.

ธงทิพย์ วัฒนชัย. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลพิจิตร. วารสารพยาบาลสาร, 34 (2), 29-38.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. (2556). Nakhon Pathom Public Health Office. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2556 จาก https://nptho.moph.go.th/.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2547, กรกฎาคม-กันยายน). วัฒนธรรมองค์การควรเลือกให้เหมาะสม. วารสารบริหารธุรกิจ, 251, 95.

อรุณรัตน์ คันธา. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ การรับรู้นิสัยของการเรียนรู้สู่องค์การแห่งการเรียนรู้ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรระดับปฏิบัติการในการฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Balthazard, P. A., Cook, R. A. & Potter, R. E. (2006). Dysfunctional culture,Dysfunctional organization capturing the behavioral norms that form organization culture and drive performance. Journal of Managerial Psychology, 21 (8), 709-732.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1998). Research in education (8th ed.). Boston : Allyn & Bacon.

Cascio, C. L. (1995). Management human resource: Productivity quality of work life profits. New York : McGraw Hill Book.

Cook, R. A. & Lafferty, L. J. (1991). Organization culture inventory. Plymouth,MI: Human Syner-Gistics.

Cummings T. G. & Worley, C. G. (1997). Organizational development and change (6th ed.). Cincinnati : South Western Publishing.

Efraty, D. & Sirgy, M. J. (1991). Organizational commitment and identification as a function of self-image congruence. Proceedings of the Annual National Conference of the Association of Management, 46-50.

Gibson, J. L, John, M. I. & James, H. D. (1991). Organizations : Behavior structure and processors. Texas: Business Publications.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1973). Statistics : An introductory analysis (2nd ed.). New York : Harper & Row Publisher.

Robbins, S. P. (1991). Organizational behavior (5th ed.). New Jersey : Prentice-Hall.

Wagner, J. A. & Hollenbeck, J. R. (1998). Organizational behavior: Securing competitive advantage (3rd ed.). New Jersey : Prentice-Hall.