ปัจจัยในการสอนที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Main Article Content

ฉัตรประมนต์ ภูติจันทร์
วัลลภา วิชะยะวงศ์
จันจิราภรณ์ ปานยินดี

บทคัดย่อ

                การวิจัยเรื่องปัจจัยในการสอนที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2) ศึกษาปัจจัยในการสอนที่มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมชั้นปีที่ 1-3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 383 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ นำเสนอผลการวิจัยในรูปบรรยายเชิงพรรณนาตารางแผนภาพและมีคำบรรยายประกอบผลการศึกษาพบว่า
                1). การเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมในภาพรวม อยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51
                2). ปัจจัยในการสอนกับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .411 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยในการสอนที่มีความสัมพันธ์สูงสุดได้แก่ กระบวนการเรียนการสอนมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .399 รองลงมา คือ สิ่งสนับสนุนมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .322 และคุณลักษณะของผู้สอนมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .297 ตามลำดับ


* อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาเศรษฐศาตร์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
** อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาธุรกิจระหว่างประเทศคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
*** อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Corresponding author : chatpramon@gmail.com

Article Details

How to Cite
ภูติจันทร์ ฉ., วิชะยะวงศ์ ว., & ปานยินดี จ. (2018). ปัจจัยในการสอนที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 1(1), 1–12. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2014.1
บท
บทความวิจัย

References

นันทวัน ทองพิทักษ์ และเสาวลักษณ์ ภูสมสาย. (2551). รายงานวิจัยเรื่องการศึกษาระดับความสุขในการเรียนรู้จากการเสริมสร้างพลังสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.อุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ปัทมา ทองสม. (2554, มกราคม – เมษายน). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขในการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. การพยาบาลและการศึกษา, 4(1), 88-111.

พรรณทิพา คำพรหม. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ : การวิเคราะห์ถดถอยแบบกำหนดลำดับขั้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิจัยการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แพรวพรรณ์ พิเศษ. (2547). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีวิจัยการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศศิธร สิทธิพรหม. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้อย่างมีความสุขกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ก้าวสู่สหัสวรรษใหม่เด็กไทยเรียนรู้อย่างมีความสุข. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2556. จาก https://www.mua.go.th/~bpp/developplan/download/higher_edu_plan/PlanHEdu11_2555-2559.pdf.

สำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2555). สถิตินักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปี 2554. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2555. จาก https://ac.npru.ac.th/form/1321517924_353986.pdf.

Woolfolk, A. E. (2001). Educational Psychology. 8th Ed. Bonton : Allyn and Bacon.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York : Harper and Row.