พฤติกรรมที่มีผลต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ ของผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ภาวนา บำรุงสุข

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มี 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชัน ช้อปปี้ ของผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม เมื่อจำแนกตามพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาด 6P’s ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ ของผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคในเขตนครปฐมที่เคยทำการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชัน จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยเป็นแบบสอบถามที่มีการผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และหาค่าความเชื่อมั่นในระดับที่ยอมรับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ
                ผลการวิจัยพบว่า
                1. พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชัน ของผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม เมื่อจำแนกตามพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
                2. ปัจจัยทางการตลาด 6P’s มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชัน ของผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ (b=0.141) ด้านราคา (b=0.102) ด้านช่องทางจัดจำหน่าย (b=0.180) ด้านส่งเสริมการตลาด (b=0.081)และด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว (b=0.321) สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 73.10 โดยสามารถเขียนสมการได้ดังนี้
                Ŷ = 0.494 +0.141 x1 **+ 0.102 x2 *+ 0.180 x3 **+ 0.081 x4 *+ 0.067 x5 + 0.321 x6**


* สาขาการตลาด คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 73000
Corresponding author: pawanaae@gmail.com

Article Details

How to Cite
บำรุงสุข ภ. . (2023). พฤติกรรมที่มีผลต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ ของผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(2), 370–383. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2021.52 (Original work published 31 ธันวาคม 2021)
บท
บทความวิจัย

References

กันตพล บรรทัดทอง. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของ กลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

การดี เลียวไพโรจน์. (2552). การบริหารและการสร้างนวัตกรรมด้านการบริการ. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2559, จาก http://www.thaitrainingzone.com/ TrainingDetail.asp?id=994

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการ ตัดสินใจซื้อหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2558). เครือข่ายสังคมในสังคมเครือข่าย. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. 8, (12): 119-127.

ปิยนุช ผิวเหลือง (2559), ช้อปปี้ เปิดตัวในประเทศสิงคโปร์เป็นที่แรก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561. จาก https://www.ryt9.com/s/prg/2792395

ระวิ แก้วสุกใส และชัยรัตน์ จุสปาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณี เฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน. Princess of Naradhiwas University Journal, 5(4), 195-205.

เริงรัก จำปาเงิน. (2554). การจัดการการเงิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). บริษทั บุค๊เน็ท จำกัด

วลัยลักษณ์ รัตนวงศ์ ณัฐธิดา สุวรรณโณ และธีรศักดิ์ จินดาบถ. (2557). การวัดนวัตกรรมการบริการ ของธุรกิจท่องเที่ยวไทย: วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม. วารสารวิทยาการจัดการ. 31 (1). 119-146.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). ส่วนประสมทางการตลาด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563, จาก http://spssthesis.blogspot.com/.

สุชัญญา สายชนะ ปาณิสรา คงแก้ว และณิชาภา พุฒตาล. (2563). พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน Shopee ของสตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์. 15 (1).1-15.

สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace). การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.

Economic and Social Council Secretary-General. (1998). Regional Commissions. Retrieved August,15, 2020. from https://www.unsceb.org/content/united-nations-economic-and-social-commission-asia-and-pacific

Kotler, P. (1997) Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control. (9th ed.), Prentice Hall, Upper Saddle River.

Kotler, P. (2012). Marketing Management, Pearson Education., New Jersey: Prentice Hall.