องค์ประกอบของการบริหารสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย ใช้การทำวิจัยเชิงปริมาณเพื่อค้นหาคำตอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร รองผู้บริหาร และครูผู้สอนของสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย จำนวน 693 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบคุณภาพของเครื่องมือแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดการเชิงกลยุทธ์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การมุ่งเน้นบุคลากร การวางเป้าหมายขององค์กรที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม การใช้ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ และการให้คุณค่าแก่ผลลัพธ์
*นักศึกษาปริญญาเอก ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กรุงเทพมหานคร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กนกวรรณ ภูษาแก้ว. (2557). การนำเสนอแนวทางการกำหนดกลยุทธ์การจัดการศึกษาสำหรับสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
กฤชณรงค์ ด้วงลา. (2562). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษา. หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุไรรัตน์ กีบาง. (2564). การบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยสังกัดคณะพยาบาลศาสตร์. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ สุริยะ วชิรวงศ์ ไพศาล ฤทธิเดช พรหมดี ปรางทิพย์ เสยกระโทก จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์ และอาคีรา ราชเวียง.(2563).รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกของประเทศไทย”,เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร. 28 พฤศจิกายน 2563, 1413-1428.
พรรณวสา สมิธธ์ ภควัต สมิธธ์ และสุบิน ยุระรัช.(2566).การจัดการคุณภาพการศึกษาแบบฟินแลนด์.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.17(1).245-257.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น.(2559).องค์ประกอบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 22(4).551-563.
ลิขนะ พงศาปาน.(2561).การพัฒนาระบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 24(4).530-539.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2559). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา. (2565). สถิติข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน.
สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม. (2562). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติปี 2563-2564 TQA Criteria for Performance Excellence Framework..กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตะวันออกจำกัด (มหาชน).
สุริโย ปุริโส. (2562). การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ปฏิบัติเป็นเลิศ เขตตรวจราชการที่ 12 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : พหุกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Ab Hamid, M. R. B. (2015). Value-based performance excellence model for higher education institutions. Quality & Quantity, 49, 1919-1944.
Carter. C. (2013). The age of strategy: strategy, organizations and society. Business History, 55(7), 1047–1057.
Cattani, G., Porac, J. F., & Thomas, H. (2017). Categories and competition. Strategic Management Journal, 38(1), 64-92.
Chmielewska, M., Stokwiszewski, J., Markowska, J., & Hermanowski, T. (2022). Evaluating organizational performance of public hospitals using the McKinsey 7-S framework. BMC health services research, 22, 1-12.
Chuan, C. L., & Penyelidikan, J. (2006). Sample size estimation using Krejcie and Morgan and Cohen statistical power analysis: A comparison. Journal Penyelidikan IPBL, 7(1), 78-86.
Conti, A., Thursby, M., & Rothaermel, F. T. (2013). Show me the right stuff: Signals for high‐tech startups. Journal of Economics & Management Strategy, 22(2), 341-364.
DeCenzo, D. A., Robbins, S. P., & Verhulst, S. L. (2016). Fundamentals of human resource management. NY: John Wiley & Sons.
Farjoun. M. (2002). Towards an organic perspective on strategy. Strategic Management Journal, 23(7), 561–594, 2002.
Fuertes, G., Alfaro, M., Vargas, M., Gutierrez, S., Ternero, R., & Sabattin, J. (2020). Conceptual framework for the strategic management: a literature review—descriptive. Journal of engineering, 2020(1), 6253013.
Islam, O. S., Ashi, M., Reda, F. M., & Zafar, A. (2017). Strategic knowledge management as a driver for organizational excellence: A case study of Saudi Airlines. International Journal of Modern Education and Computer Science, 9(7), 38.
Mackay, D., & Zundel, M. (2017). Recovering the divide: a review of strategy and tactics in business and management. International Journal of Management Reviews, 19(2), 175-194.
Pearce, J. A., & Robinson, P. T. (2010). The Troodos ophiolitic complex probably formed in a subduction initiation, slab edge setting. Gondwana Research, 18(1), 60-81.
Porter. M. E. (2008). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance, Simon and Schuster, New York: USA.
Wheelen, T. L., Hunger, J. D., Hoffman, A. N., & Bamford, C. E. (2018). Strategic Management and Business Policy: Globalization, Innovation, and sustainability (15th ed.). NY: Pearson.