ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟปรุงสำเร็จรูปชนิดผงทรีอินวันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นพสิทธิ์ กลัดกระยาง
ณรงค์ ผลดก

บทคัดย่อ

     งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อกาแฟปรุงสำเร็จรูปชนิดผงทรีอินวันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟปรุงสำเร็จรูปชนิดผงทรีอินวันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จากแบบสอบถาม จำนวน 385 ชุด จากกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริโภคกาแฟปรุงสำเร็จรูปชนิดผงทรีอินวันในเขตกรุงเทพมหานคร การสุ่มตัวอย่างโดยวิธีสะดวก และใช้สถิติการทดสอบสมมติฐานทดสอบค่าความเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล เพศ และอาชีพ มีระดับการตัดสินใจซื้อกาแฟปรุงสำเร็จรูปชนิดผงทรีอินวัน แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา และด้านส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟปรุงสำเร็จรูปชนิดผงทรีอินวัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ตามสมการถดถอยพหุคูณ ดังนี้
     Y (การตัดสินใจซื้อกาแฟ) = .581 + .047 (ด้านผลิตภัณฑ์) + .245 (ด้านราคา) + .093 (ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย) + .447 (ด้านส่งเสริมการตลาด)
     โดยมีค่าอำนาจการพยากรณ์ของตัวแปรทั้ง 4 ด้าน คิดเป็นร้อยละ 66.7


1*นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
2นักวิชาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Article Details

How to Cite
กลัดกระยาง น., & ผลดก ณ. (2024). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟปรุงสำเร็จรูปชนิดผงทรีอินวันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 11(1), 29–40. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2024.3
บท
บทความวิจัย

References

กิจจะ สุปันตี. (2553). ปัจจัยทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อกาแฟกระป๋องปรุงสำเร็จพร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กรพัชร จันทรเจริญ. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของกาแฟผงสำเร็จรูปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กฤตาพร ยังสุรกานต์. (2546). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงทรีอินวัน (3 in 1) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2549). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2549). การวิจัยการตลาดฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: ไดมอนด์ อิน บิสซิเนสเวิลด์.

ศุภณัฐ ลีฬหาวงศ์. (2557). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาและกาแฟของผู้บริโภคในเขตตำบลสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและ ไซเท็กซ์.

Ateta, E., Susrusa, K. B., & Arisena, G. M. K. (2021). The relation analysis of marketing mix and customer purchase of coffee in Malabar mountain café in Bogor city. Agrisocionomics Jurnal Sosial Ekonomi Pertanian, 5(1), 168-183.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing management (13th ed.). New Jersey: Pearson Education.

McCarthy, E.J. & Perreault, W.D. (1993). Basic Marketing: A Global-Managerial Approach (11st ed). Homewood, Ill: RichardD. Irwin.

Shang, Z. (2023). Analysis of Luckin coffee marketing strategy based on the 4P theory. Highlights in Business Economics and Management, 13, 106-112.

Purnomo, V. D. (2023). Analysis of Menoreh Coffee Sales Strategy in Kulon Progo. International Journal of Asian Business and Management, 2(4), 399-410.

Walters, C. (1978). Adaptive management of renewable resources. New York: McGraw-Hill.