แนวทางการส่งเสริมการส่งออกข้าวกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

Main Article Content

นันทินา ดำรงวัฒนกูล และคณะ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อการส่งออกข้าว แนวทางการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ให้สามารถเชื่อมโยงกับผู้ส่งออกข้าว และกลยุทธ์การส่งเสริมการส่งออกข้าว เครื่องมือที่ใช้คือการสนทนากลุ่ม การสังเกต และการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน1 ได้แก่ จังหวัดลำปาง  ลำพูน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน และเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการทำนาเชิงอุตสาหกรรม (นาแปลงใหญ่)  ผู้ส่งออก ได้แก่ บริษัท โรงสีสวัสดิ์ไพบูลย์ จำกัด บริษัท รีเบิร์ท ไรซ์ จำกัด  ต้นแบบกลุ่มเกษตรกร  ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตพืชอินทรีย์ ตำบลหาดกรวด  จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านแม่พริกลุ่ม จังหวัดลำปาง สหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย รวมกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจำแนกและจัดระบบข้อมูลเพื่อตอบคำถาม และหาความสัมพันธ์ของข้อมูล และ กระบวนการเปลี่ยนแปลง
     ผลการศึกษาพบว่า (1) รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อการส่งออกข้าวของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะตามการตลาด ได้แก่ ตลาดผู้ส่งออกข้าวสารจ้าวและข้าวนึ่ง และการตลาดแบบเจาะจงเฉพาะกลุ่ม (2) จากแนวทางการพัฒนาศักยภาพ กลุ่มเกษตรกร โรงสี/สหกรณ์การเกษตร ให้สามารถเชื่อมโยงกับผู้ส่งออกข้าวของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ในอนาคต พบว่าทั้ง 3 กลุ่มมีจุดเชื่อมที่สอดคล้องกัน คือประเด็นการสร้างเครือข่าย วางแผนระบบการตรวจสอบการผลิตให้มีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนด  รวมถึงการบริหารความเชื่อถือทั้งจากภายใน และภายนอกองค์กรในแต่ละส่วนของต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำโซ่อุปทานข้าว (3) กลยุทธ์การส่งเสริมการส่งออกข้าว ควรเริ่มต้นจากการหาตลาดปลายน้ำที่ชัดเจนเพื่อกำหนดคุณลักษณะหรือมาตรฐานของสินค้าข้าวต้นน้ำ  พัฒนาส่วนของกลางน้ำด้วยมาตรฐาน GMP และ HACCP ในกระบวนการแปรรูปข้าว รวมถึงพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ที่สนใจการส่งออกข้าว พร้อมลงทุน และสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการทำงาน ภายใต้การสนับสนุนของคณะกรรมการดำเนินงานภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน ชื่อว่า Right Team Rice Team ทั้งนี้บุคลากรในโซ่อุปทานข้าวเพื่อการส่งออกควรมีความรู้ ที่สามารถใช้การคิดวิเคราะห์เพื่อวางแผนการผลิตและจำหน่ายได้อย่างเป็นระบบ


* คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 52100
**-****** พรชนก ทองลาด ศิรญา จนาศักดิ์ ทิพรัตน์ ติฆะปัญญา  มยุรี ชมภู  และ จำเนียร มีสำลี
**-*** คณะวิทยาการจัดการ และ ****-******คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง , 52100
Corresponding author: nanthinap@live.com

Article Details

How to Cite
ดำรงวัฒนกูล และคณะ น. (2023). แนวทางการส่งเสริมการส่งออกข้าวกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 10(1), 241–256. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2023.19 (Original work published 30 มิถุนายน 2023)
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์.(2564).ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567 จาก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์

จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566 จาก https://www.ryt9.com/s/cabt/3192642.

กนกพร ภาคีฉาย และ เขตต์ เลิศวิวัฒนพงษ์.(2561). แนวทางการพัฒนาธุรกิจข้าวอินทรีย์เพื่อรองรับการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของโครงการ “ผูกปิ่นโตข้าว”. AEC RMUTSB Acad. J. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์),3(1) .42-54.

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) . (2562). "สคพ." เผยแนวโน้มการค้าภาคบริการไทย แนะภาคธุรกิจวางกลยุทธ์สร้างมูลค่า. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564.จาก https://www.isranews.org/isranews-pr-news/73447-news_73447.html.

สมพร อิศวิลานนท์. (2560). สถานการณ์ข้าวไทยในตลาดส่งออก. บรรยายพิเศษในงานสัมมนาวิชาการกรมการข้าว ประจำปี 2560 วันที่ 16 มีนาคม 2560 เวลา 14.30-15.30 น. ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. (2565). รายงานตลาดข้าว :ข่าวสรุปปี 2565 . [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2565. จาก http://www.thaiiceexporters.or.th/Rice_reports.htm.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.(2550). แนวทางการเพิ่มศักยภาพการส่งออกของเอสเอ็มอี.[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2563. จาก https://www.sme.go.th/

upload/mod_download/chapter-9-20171024123942.

เศรษฐภูมิ เถาชารี. (2561). การวัดประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานข้าวโดยหลายวัตถุประสงค์ในภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิศวกรรม UBU,11 (2). 25-40.

อัญชลี หิรัญแพทย์.(2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานของวิสาหกิจชุมชนข้าวไรซ์เบอร์รี่ในจังหวัดนครปฐม.วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, 5 (1). 71-81.

Cavusgil, T.S, Zou, S., and Naidu, G. M. (1993), Product and Promotion Adaptation in Export Ventures: An Empirical Investigation. Journal of International Business Studies, 24 (3). 479–506.

Digital Tips .(2022).เจาะลึก Niche Market (ตลาดเฉพาะกลุ่ม) พร้อมแนะนำกลยุทธ์ที่เหมาะสม . [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565. https://thedigitaltips.com/blog/marketing/niche-market/.

Holm-Olsen, K., Fenhann, J., (2008). Sustainable development benefits of Clean Development Mechanism projects. A new methodology for sustainability assessment based on text analysis of the project design documents submitted for validation. Energy Policy, 36, 2819-2830.

Holm-Olsen, F. (Ed.). (2009). Best Practices in Determining Export Readiness. Washington, D.C.: United State Agency International Development.

Nagurney, A. (2006). Supply Chain Network Economics: Dynamics of Prices, Flows, and Profits. Cheltenham, UK: Edward Elgar.