การยอมรับต่อการปรับโครงสร้างองค์กรของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการยอมรับต่อการปรับโครงสร้างองค์กรของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) ศึกษาผลของการรับรู้ต่อการปรับโครงสร้างองค์กรที่มีต่อการยอมรับต่อการปรับโครงสร้างองค์กร ของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลบุคลากร 235 คน จากบุคลากรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดเพชรบุรี ทั้งหมด 279 คน (ร้อยละ 84) การทดสอบสมมติฐานใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ผลทางสถิติ ประกอบด้วย การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในจังหวัดเพชรบุรีที่มีการศึกษา กลุ่มงาน ตำแหน่ง และอายุงานต่างกัน มีการยอมรับต่อการปรับโครงสร้างองค์กรแตกต่างกัน ส่วนอายุไม่มีผลต่อการยอมรับต่อการปรับโครงสร้างองค์กร และ 2) การรับรู้ต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างร่วมกันอธิบายความผันแปรการยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กรได้ร้อยละ 75.0 เมื่อพิจารณาตัวแปรอิสระที่มีอำนาจในการทำนาย ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจการปรับโครงสร้าง (X1) ด้านสายงานหน้าที่ความรับผิดชอบ (X2) และด้านกระบวนการในการปรับโครงสร้างองค์กร (X4) สมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ คือ
Y = 0.348 + 0.434(X1) + 0.256(X2) + 0.303(X4)
* นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,10210
** อาจารย์ และปริญญาเอก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,10210
Corresponding author: putputtichai@gmail.com
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กองวางแผนวิสาหกิจ ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์. (2562). แผนยุทธศาสตร์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2563-2567. กรุงเทพมหานคร: กองการพิมพ์ ฝ่ายธุรการ.
เกษวลี สังขทิพย์. (2556). การปรับโครงสร้างองค์กรที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการเงินและการบัญชีขององค์กรอิสระ. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
ธนวัชฐุ์ เกษศิลา, ธัญนันท์ บุญอยู่ และสุมาลี งามนัฎ. (2565). อิทธิพลของความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การสู่ความตั้งใจคงอยู่ในงานของพนักงานในสถานประกอบกิจการเกี่ยวกับการตัดกรอผ้าใยสังเคราะห์ จังหวัดระยอง. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 11(1), 61-76.
ภิระเนตร์ วิทยาธนรัตนา. (2561). การเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรและผลกระทบที่มีต่อพนักงาน กรณีศึกษาเกี่ยวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
วรพจน์ อมรเธียร. (2552). การยอมรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การและการพัฒนาองค์การของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
วรัญพงศ์ บุญศิริธรรมชัย, และ พลอย สุดอ่อน. (2565). สุขภาวะของพนักงานหลังจากการปรับโครงสร้างขององค์กรที่ส่งต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์, 5(1), 22-36.
วีระยุทธ์ วิริยะสหกิจ. (2555). ความคิดเห็นของพนักงานต่อกระบวนการเปลี่ยนโครงสร้าง ขององค์กร กรณีศึกษา บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
โสภิดา เปรมพงษ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ การมีส่วนร่วม กับการยอมรับการปรับโครงสร้างองค์การ กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อัญชลี โอปลอดแก้ว. (2553). ความคิดเห็นข้าราชการตำรวจที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การ : กรณีศึกษากองตำรวจสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
George , M., and Foster. (1973). Tradition Societies and Technological Change. New York: Harper and Row Publishers.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., and Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Pearson Education: New York.
Long, P.D., and Cuong, P.D. (2020). Restructuring and Copporate Productivity: Empirical Evidence From Vietnam Textile and Garment Industry. Journal of Management Information and Decision Sciences, 23(3), 215-222.
Rogers, E.M., Everett, M., Shoemaker, and Floyd, F. (1971). Communication of Innovation: A Cross Cultural Approach. New York: Free Press.
Swanson, V., and Power, P. (2001). Employees' Perceptions of Organizational Restructuring: The Role of Social Support. Work and Stress, 15(2), 161-178.