การบริหารเงินทุนหมุนเวียนและโครงสร้างทางการเงิน ที่ส่งผลต่อมูลค่าของกิจการ กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในสถานการณ์โรค COVID-19

Main Article Content

โชติกา ภิรมย์สด
โชติกา ภิรมย์สด
เปรมารัช วิลาลัย
เปรมารัช วิลาลัย
อริสรา ธานีรณานนท์

บทคัดย่อ

          วิกฤต COVID-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การบริหารเงินทุนหมุนเวียน โครงสร้างทางการเงิน ที่ส่งผลต่อมูลค่าของกิจการ ในสถานการณ์โรค COVID-19 โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินที่สะท้อนงานวิจัย คือ อัตราส่วนทุนหมุนเวียน อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ อัตราส่วนที่สะท้อนโครงสร้างทางการเงิน คือ อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนที่สะท้อนความสามารถในการทำกำไร คือ อัตราการเติบโตของยอดขาย และมูลค่าของกิจการ ประชากรในการศึกษา คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 61 บริษัท โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
            ผลการศึกษาพบว่า อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ ส่งผลต่อมูลค่าของกิจการ ในทิศทางเดียวกัน หมายถึงอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้มูลค่าของกิจการเพิ่มขึ้น และอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ส่งผลต่อมูลค่าของกิจการ ในทิศทางตรงกันข้าม นั่นคือหากอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง จะส่งผลให้มูลค่าของกิจการเพิ่มขึ้น


*,**,*** วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ 10210
Corresponding author: premarat.vil@dpu.ac.th

Article Details

How to Cite
ภิรมย์สด โ. ., ภิรมย์สด โ. ., วิลาลัย เ. ., วิลาลัย เ. ., & ธานีรณานนท์ อ. . (2022). การบริหารเงินทุนหมุนเวียนและโครงสร้างทางการเงิน ที่ส่งผลต่อมูลค่าของกิจการ กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในสถานการณ์โรค COVID-19. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(2), 282–293. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.50
บท
บทความวิจัย

References

ชนนี ยิ่งนิรันดร์และทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ. (2562). ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราส่วนเปลี่ยนแปลง ราคาหลักทรัพย์ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดขนส่งและโลจิสติกส์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7(2), 84-93.

ชลิตา รอดแป้น. (2564). ผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 ต่อความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ.2564. มหาวิทยาลัยนเรศวร.(น. 53-65).

ชุดาพร สอนภักดี. (2564). อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 151-164.

โชษิตา เปสตันยี และสรียา วิจิตรเสถียร. (2562). ปัจจัยของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 13(1), 89-104.

ณัฐพล วชิรมนตรี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงิน กับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร .การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณัฐพัชร์ นวลมณีฐิติ ,พัทธนันท์ เพชรเชิดชู และศิริเดช คำสุพรหม. (2563). อิทธิพลของการบริหารความเสี่ยงองค์กรที่มีต่อมูลค่ากิจการที่วัดโดยใช้ Tobin’s Q ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(111), 243-259.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ3 มกราคม 2565 จาก https://classic.set.or.th/education/th/pro/pro-fundamental.pdf

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). COVID ทำให้ตลาดหลักทรัพย์เปลี่ยนไปอย่างไร. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ3 มกราคม 2565 จาก https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/203-covid-company-change

ประภาวรินท์ เทพแก้ว. (2563). อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินต่อราคาตลาดของหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค. สารนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต. วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ปวีณา แซ่จู . (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับมูลค่ากิจการ ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ภาณะพันธ์ เพ็ชร์ไพศาล. (2562). ผลกระทบของอัตราส่วนทางการเงิน ที่มีต่อการวัดมูลค่าราคาตลาดของหุ้น ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2548). การประเมินผล การปฏิบัติงานตามแนวคิด Tobin-Tobin’Q. วารสารบริหารธุรกิจ, 28(6), 13-22.

วิไลวรรณ ภานุวิศิทธิ์แสง และ ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2561). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตรา ผลตอบแทนของหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร, 13(1) , 137-149.

ศรัญญา สิงห์วะราช (2562). อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินด้านประสิทธิภาพการดำเนินงาน ที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100. การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

อัญชลี เมืองเจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.คณะบัญชี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Chung, K. H. and Pruitt, S. W. (1994). A Simple Approximation of Tobin’s Q. Journal of Financial Management, 23(3), 70-74.

Lindenberg, E. B. and Ross, S. A. (1981). Tobin’s Q Ratio and Industrial Organization, Journal of Business, 54(1), 1-32.