ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสกินแคร์ ผ่านสังคมออนไลน์ (Instagram) ของคนรุ่นใหม่กลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย ในจังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสกินแคร์ผ่านสังคมออนไลน์ (Instagram) ของคนรุ่นใหม่กลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย ในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อสกินแคร์ผ่านสังคมออนไลน์ (Instagram) ของคนรุ่นใหม่กลุ่มเจนเนอเรชั่นวายในจังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม และ 2. ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสกินแคร์ผ่านสังคมออนไลน์ (Instagram) ของผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายในจังหวัดกาญจนบุรี
ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จากผู้บริโภคที่ซื้อสกินแคร์ผ่านสังคมออนไลน์ (Instagram) ของคนรุ่นใหม่กลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย ในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 401 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเผชิญหน้า และ หาค่าความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การตัดสินใจซื้อสกินแคร์ผ่านสังคมออนไลน์ (Instagram) ของคนรุ่นใหม่กลุ่มเจนเนอเรชั่นวายในจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลในภาพรวมพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านเพศ อายุ และรายได้เฉลี่ย เมื่อพิจารณาตามลำดับขั้นตอนการตัดสินใจซื้อพบว่าด้านการตระหนักถึงปัญหาและด้านการค้นหาข้อมูลแตกต่างกันในด้านระดับการศึกษาและอาชีพ ด้านการประเมินทางเลือก ด้านการตัดสินใจและด้านการประเมินผลหลังการซื้อแตกต่างกันในด้านเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ
2. อิทธิพลส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสกินแคร์ผ่านสังคมออนไลน์ (Instagram) ของคนรุ่นใหม่กลุ่มเจนเนอเรชั่นวายในจังหวัดกาญจนบุรี ประกอบไปด้วย ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (b=0.33) และ ด้านการส่งเสริมการตลาด (b=0.52) สมการมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 77 โดยสามารถนำมาเสนอเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
Y = 0.16+0.01X1+0.07X2+0.33X3**+0.52X4**
*1นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม 73000
**2อาจารย์ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม 73000
** บทความวิจัยดีเด่น (best paper) จากงาน นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม ครั้งที่ 1 (The 1st National Conference on Management Science : NCMS1) 17 ธันวาคม 2564
(ตัว proceeding นำเสนอเฉพาะบทคัดย่อ)**
Corresponding author: Janenisatongpen@gmail.com
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
จุฑารัตน์ ทองสนิท, ชนิกานต์ หวั่งประดิษฐ์, ลักษมณ อนันตประยูร, สุมาลี พิมเขียว, ทาริกา สระทองคำ, และศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าออร์แกนิกของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย, 3(2). 9.
จิราภา เขมาเบญจพล และ สุทธิลักษณ์ หวังสันติธรรม. (2563). การเปิดรับความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อเนื้อหาการตลาดบนอินสตาแกรมสตอรี่กับความตั้งใจซื้อ. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 14(1), 69-70. https://so03.tcithaijo.org/index.php/jprad/article/view/247007
ชนกพร ไพศาลพานิช. (2554). อิทธิพลของวัตถุนิยมและการตระหนักรู้ตนเองต่อพฤติกรรมการซื้อแบบไม่ได้ไตร่ตรองของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ชลชินี บุนนาค และ ปภาภรณ์ ไชยหาญชาญชัย. (2561). การสำรวจรูปแบบการดำเนินชีวิตบนอินสตาแกรม ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสื่อสารเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัฐพร เหล่าสีพงษ์. (2562). กลยุทธ์การจัดการธุรกิจของผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (organic) ประเภทเครื่องสำอางและสกินแคร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร : มุมมองจากผู้บริโภค. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ.มหาวิทยาลัยมหิดล.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล กฤษยา นุ่มพยา จีราภา นวลลักษณ์ และชนพัฒน์ ปลื้มบุญ. (2557). การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อ คุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36(3), 5.
บุญฑวรรณ วิงวอน และ อัจฉรา เมฆสุวรรณ. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อผลการ ดําเนินงานทางการเงินตามมุมมองของผู้ประกอบการตลาดนัดจังหวัดลําปาง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(3), 151.
ปวีณา พานิชชัยกุล และ ธิตินันธุ์ ชาญโกศล. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณภาพการให้บริการในธุรกิจเครื่องดื่มชานมไข่มุกของเจนเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1), 89.
ภัทราวรรณ ศรีพราย, และ รุ่งรัศมี บุญดาว. (2556). คุณลักษณะเครือข่ายออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคไทย : กรณีศึกษา Facebook. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(4), 7-8.
มนัสนันท์ เกียรติสิน นิตยา เจรียงประเสริฐ และ ศรัญญา กันตะบุตร. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและแรงจูงใจในการทำงาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบคนเจเนอเรชัน Y และเจเนอเรชัน Z ในเขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(3), 1-18.
วราพร ดำจับ. (2562). สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 7 (2), 144
วิลัย จันโต และ ธนาสิทธิ์ เพิ่มเพียร. (2561). การธำรงรักษาพนักงานกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายที่มี ความสามารถสูงในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารแบบครบวงจร ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(1), 137.
วสุพล ตรีโสภากุล และดุษฎี โยเหลา. (2558). การประยุกต์ใช้ทฤษฏีพฤติกรรมตามแผนในการอธิบายพฤติกรรมการนำข้อมูลบนเฟซบุ๊กแฟนเพจประกอบการตัดสินใจซื้อ. วารสารประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 8(1), 67-68.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ปริญ ลักษิตานนท์ และ ศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.
เสาวคนธ์ วิทวัสโอฬาร. (2550). Gen Y จับให้มั่นคั้นให้เวิร์ค. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจบิซบุ๊ค.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2556). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (มุมมองด้านการบริหาร). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น
Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, An Introduction. (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Cal Newpost. (2012). Solving Gen Y's Passion Problem. Brighton: Haverd Business Review.
Constine.,J. (2019). Facebook plans new products as Instagram Stories hits 500M users/day. Retrieved January 14, 2020, from https://techcrunch.com/2019/01/30/instagram-stories-500-million/
Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2007). Marketing (14th ed.). Boston: McGraw – Hill.
Halse, M., & Mallinson, B. (2009). Investigating popular Internet applications as supporting e-learning technologies for teaching and learning with Generation Y. International Journal of Education and Development using ICT, 5(5), 58-71.
Kemp.S. (2020a). “Digital 2020 Global Overview Report.”, Retrieved October 19, 2020, from https://wearesocial.com/blog/2020/01/digital-2020-3-8-billion-people-use-social-media
Kemp.S. (2020b). “DIGITAL 2020: THAILAND.”, Retrieved October 19, 2020, from
https://datareportal.com/reports/digital-2020-thailand
Phawanthaksa. (2562). โอกาสทองธุรกิจเครื่องสำอางและสกินแคร์. ค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.smartsme.co.th/content/218721.
Salleh, S., Hashima, N. H., & Murphy, J. (2015). Instagram marketing: a content analysis of top Malaysian restaurant brands. E-Review of Tourism Research, 6, 1-5.
Shifu Team. (2019). จับตาเทรนด์ E-Commerce ไทย ปี 2020 ทำอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอดในยุคไร้พรมแดน. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2564. จากhttps://contentshifu.com/ecommerce-trends-priceza/