วรรณกรรมแนวสัจนิยมกับความเข้าอกเข้าใจ: กรณีศึกษากลุ่มนัดอ่าน “อ่านออกเสียง”

Main Article Content

Sutida WIMUTTIKOSOL

บทคัดย่อ

สำหรับนักวรรณกรรมศึกษาส่วนใหญ่ คำว่า “ผู้อ่าน” มักถูกใช้ในเชิงนามธรรมเพื่อพูดถึงผู้รับสารจากตัวบท ไม่ใช่ผู้อ่านจริง ๆ ที่ลงมืออ่านและสร้างความหมายให้แก่ตัวบทตามความรู้และประสบการณ์ชีวิตของตนเอง การพูดถึงนัยหรือพลังทางสังคมของวรรณกรรม จึงมักจำกัดอยู่ที่การวิเคราะห์คุณลักษณะภายในตัวบทโดยนักวิชาการ/นักวิจารณ์ ไม่ใช่การทำงานของตัวบทภายในสังคมที่มันถูกอ่าน บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยกลุ่มนัดอ่าน “อ่านออกเสียง” ที่จัดทำขึ้นเพื่อทดสอบความเป็นไปได้และคุณูปการของการศึกษาวรรณกรรมโดยให้ผู้อ่านเป็นศูนย์กลาง นำเสนอการศึกษาเชิงประจักษ์ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทวรรณกรรมแนวสัจนิยมกับความเข้าอกเข้าใจที่ผู้อ่านมีต่อตัวละคร จากการวิเคราะห์บทสนทนาของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้วิจัยพบว่า 1) “ความหมาย” ของงานวรรณกรรมเป็นผลผลิตของตัวบท ผู้อ่าน และบริบทของการอ่านที่มีลักษณะเฉพาะ 2) “ความสมจริง” ตามขนบของสัจนิยมมีผลอย่างมากต่อความรู้สึกร่วมหรือการเชื่อมโยงตนเองกับตัวละครและเหตุการณ์ในเรื่อง และ 3) ในบริบทของการแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์อย่างอิสระภายในกลุ่มนัดอ่าน ความรู้สึกดังกล่าวสามารถพัฒนาไปสู่การคิดสะท้อนเกี่ยวกับตนเองและความเข้าอกเข้าใจ “ผู้อื่น” ที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์และชนชั้น ทั้งภายในตัวบทและในโลกความจริง

Article Details

How to Cite
WIMUTTIKOSOL, S. (2022). วรรณกรรมแนวสัจนิยมกับความเข้าอกเข้าใจ: กรณีศึกษากลุ่มนัดอ่าน “อ่านออกเสียง”. มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 23(3), 97–116. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/261197
บท
บทความวิจัย

References

Allington, D. & Benwell, B. (2012) Reading the Reading Experience: An Ethnomethodological

Approach to "Booktalk". In A. Lang (Ed.), From Codex to Hypertext: Reading at the Turn of the Twenty-First Century, (pp. 217-233). University of Massachusetts Press.

Benwell, B. (2009). ‘A pathetic and racist and awful character’: Ethnomethodological

Approaches to the Reception of Diasporic Fiction. Language and Literature, 18(3), 300-

Damrosch, D. (2003). What Is World Literature?. Princeton University Press.

Davis, K. C. (2008). White book clubs and African American literature: The promise and

limitations of cross-racial empathy. Literature Interpretation Theory, 19(2), 155-186.

Ferrante, Elelna. (2018). Phư̄an khon keng. (Nanthawan Chānprasœ̄t, Trans.). Bangkok: ʻĀn ʻItālī.

(Original work published 2011)

Fish, S. (1980). Is there a text in this class?: The authority of interpretive communities.

Cambridge, Mass: Harvard University Press.

Ghosh, Amitav. (2018). Rāorān nai wān wan (Thīrasak Čhirarattanaphairōt, Trans.). Bangkok:

Matichon. (Original work published 1988)

Griswold, W. (2008). Regionalism and the reading class. Chicago: University of Chicago Press.

Goldstein, P., & Machor, J. L. (Eds.). (2008). New directions in American reception study. New

York: Oxford University Press.

Iser, W. (1978). The act of reading: a theory of aesthetic response. Baltimore: Johns Hopkins

University Press.

Jauss, H. R., & Benzinger, E. (1970). Literary history as a challenge to literary theory. New

Literary History, 2(1), 7–37. https://doi.org/10.2307/468585

Keen, S. (2008). Strategic empathizing: Techniques of bounded, ambassadorial, and broadcast

narrative empathy. Deutsche Vierteljahrsschrift für Literaturwissenschaft und

Geistesgeschichte, 82(3), 477-493.

Procter, J., & Benwell, B. (2014). Reading across worlds: Transnational book groups and the

reception of difference. Basingstoke: Palgrave Macmillan.

Rosenblatt, L. M. (1978). The Reader, the text, the poem: the transactional theory of the

literary work. Carbondale: Southern Illinois University Press.

Willis, I. (2017). Reception. London: Routledge.