ท่าทีแบบปรากฏการณ์วิทยาในปรัชญาญี่ปุ่น

Main Article Content

สรายุทธ เลิศปัจฉิมนันท์
คำแหง วิสุทธางกูร

บทคัดย่อ

ปรากฏการณ์วิทยาเป็นวิธีวิทยาของปรัชญาตะวันตกที่ริเริ่มโดย เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ล ซึ่งมีท่าทีที่สำคัญคือการลดทอนเชิงปรากฏการณ์วิทยา แต่ท่าทีดังกล่าวไม่ได้มีแต่ในปรัชญาตะวันตกเท่านั้น ในปรัชญาตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปรัชญาญี่ปุ่น ก็มีท่าทีแบบนั้นอยู่ บทความนี้จึงมีความมุ่งหมายที่จะเสนอให้เห็นถึงท่าทีแบบปรากฏการณ์วิทยาในปรัชญาญี่ปุ่นก่อนสมัยใหม่ รวมถึงอิทธิพลของปรากฏการณ์วิทยาตะวันตก ที่มีต่อปรัชญาญี่ปุ่นสมัยใหม่และร่วมสมัย ซึ่งทำให้พบว่าปรัชญาญี่ปุ่นแบบแผนดั้งเดิมของโดเง็นนั้น สนใจประเด็นปัญหาเรื่องการไตร่ตรองเจตนารมณ์ของจิต โดยแบ่งแยกอารมณ์ของการคิดและการไม่คิดออกจากกัน เพื่อนำไปสู่การไร้คิด ส่วนปรัชญาญี่ปุ่นสมัยใหม่ของนิชิดะ คิตะโร เริ่มต้นจากการชี้ให้เห็นข้อบกพร่องในปรากฏการณ์วิทยาของฮุสเซิร์ลที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอัตภาวะและประสบการณ์บริสุทธิ์ และเสนอแนวคิดเรื่องประสบการณ์พิสุทธิ์แท้ที่เกี่ยวข้องกับนัตถิภาวะสัมบูรณ์ ซึ่งทั้งวิธีคิดของนิชิดะและอิทธิพลของปรากฏการณ์วิทยา ต่างก็ส่งผลต่อกระแสความคิดในปรัชญาญี่ปุ่นร่วมสมัยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
เลิศปัจฉิมนันท์ ส., & วิสุทธางกูร ค. (2018). ท่าทีแบบปรากฏการณ์วิทยาในปรัชญาญี่ปุ่น. มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 19(1), 179–207. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/131628
บท
Articles