เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

คำแนะนำในการจัดทำต้นฉบับบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในมนุษยศาสตร์สาร

รูปแบบการจัดหน้าวารสารมนุษยศาสตร์สาร

  • การจัดพิมพ์ต้นฉบับ
  1. บทความ รวมเอกสารอ้างอิงและอื่น ๆ ควรมีความยาวประมาณ 15-20 หน้ากระดาษ A4
    พิมพ์ด้วย Font TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 Point จัดหน้ากระดาษแบบกระจายแบบไทย
    (Thai Distributed)
  2. ระยะห่างจากขอบกระดาษทั้งด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้ายและด้านขวา 1 นิ้ว (2.54 ซม.)
  3. หมายเลขหน้า ให้ใส่ไว้ตำแหน่งด้านล่างกึ่งกลางของหน้ากระดาษ ตั้งแต่ต้นจนจบบทความ
  4. ชื่อเรื่องบทความ ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 Point (ตัวหนา)
    จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยชื่อเรื่องภาษาอังกฤษในบรรทัดต่อมา
  5. ชื่อผู้เขียน ระบุทุกคนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 Point พิมพ์ห่างจากชื่อบทความ 1 บรรทัด จัดชิดขวา สำหรับตำแหน่งงาน, หน่วยงานที่สังกัดหรือที่อยู่ที่ติดต่อได้ และอีเมลให้ระบุเป็นเชิงอรรถท้ายข้อมูลของผู้เขียนชื่อแรกร่วมด้วย
  6. ชื่อและหมายเลขกำกับตาราง ขนาดตัวอักษร 14 Point (ตัวหนา) ให้พิมพ์ไว้บนตารางจัดชิดซ้าย
    ใต้ตารางระบุแหล่งที่มาจัดชิดซ้าย (ถ้ามี)
  7. ชื่อภาพและหมายเลขกำกับภาพ ชื่อแผนภูมิและหมายเลขกำกับแผนภูมิ ขนาดตัวอักษร
    14 Point (ตัวหนา) ให้พิมพ์ไว้ใต้ภาพ แผนภูมิ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ใต้ชื่อภาพ แผนภูมิระบุแหล่งที่มา
    จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ

ส่วนประกอบของบทความ

บทความวิชาการ 

งานเขียนทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนเชิงวิชาการซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์ อย่างชัดเจน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการโดยมีการสำรวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดง ทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจนด้วย

บทความวิจัย

บทความวิจัย หมายถึง งานเขียนเชิงวิชาการที่แสดงผลงานการศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบ ด้วยวิธีวิทยาการวิจัย ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ และมีที่มาและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล คำตอบหรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ (งานวิจัยพื้นฐาน) หรือการนำวิชาการนั้นมาใช้ประโยชน์ (งานวิจัยประยุกต์-Applied research) หรือ งานวิจัยสร้างสรรค์ (Creative research) หรือการพัฒนาอุปกรณ์ หรือกระบวนการใหม่ที่เกิดประโยชน์

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิง

  1. การอ้างอิงในบทความและท้ายบทความ

    เอกสารอ้างอิง (References) เขียนในรูปแบบ APA 7th edition (American Psychological Association) โดยมีรายละเอียดในการจัดทำดังนี้

    1) สำหรับบทความภาษาไทย

    - หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้ใช้ภาษาไทยในการทำรายการบรรณานุกรม

    - หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศ ให้ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศนั้นในการทำรายการบรรณานุกรม โดยที่ผู้เขียนอาจจะแยกประเภทของภาษาออกมาอีกส่วนหนึ่ง ถัดจากบรรณานุกรมภาษาไทย

    2) สำหรับบทความภาษาอังกฤษ

    - หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใช้ภาษาอังกฤษในการทำรายการบรรณานุกรม

         - หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศอื่น ให้ผู้เขียนแปลรายการบรรณานุกรมเป็นภาษาอังกฤษ และใส่ชื่อหนังสือหรือบทความหรือข้อมูลเป็นภาษาไทยหรือภาษาเดิมในวงเล็บเหลี่ยม [  ] ถัดจากชื่อภาษาอังกฤษ

    • ตัวอย่างการเขียนอ้างอิง
    1. การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation)

    มนุษยศาสตร์สารใช้รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาด้วยระบบนาม-ปีของ APA (American Psychological Association Citation Style) ให้ระบุชื่อ – นามสกุลผู้แต่ง (หากเป็นชาวต่างชาติให้ระบุนามสกุล) ปีที่พิมพ์และ/หรือเลขหน้า เช่น

    กรณีอ้างหน้าข้อความ เช่น

    Khetcharoen (2018, p. 88); Reynolds (1999, p. 89); Mush (2000, pp. 1-4)

    กรณีอ้างหลังข้อความ เช่น

    (Khetcharoen, 2018, p. 88; Reynolds, 1999, p. 89; Mush, 2000, pp. 1-4)

    1. การอ้างอิงท้ายบทความ (เอกสารอ้างอิง)

    2.1. ใช้รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 7th edition (American Psychological Association)

    2.2. บทความภาษาไทย หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้ใช้ภาษาไทยในการทำรายการบรรณานุกรม หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศ ให้ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศนั้นในการทำรายการบรรณานุกรม โดยที่ผู้เขียนอาจจะแยกประเภทของภาษาออกมาอีกส่วนหนึ่ง ถัดจากบรรณานุกรมภาษาไทย

    2.3. บทความภาษาอังกฤษ หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใช้ภาษาอังกฤษในการทำรายการบรรณานุกรม หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศอื่น ให้ผู้เขียนแปลรายการบรรณานุกรมเป็นภาษาอังกฤษ และใส่ชื่อหนังสือหรือบทความหรือข้อมูลเป็นภาษาไทยหรือภาษาเดิมในวงเล็บเหลี่ยม [  ] ถัดจากชื่อภาษาอังกฤษ

    2.4. ชื่อเรื่อง (Title) จะต้องทำให้เป็น Thai Romanization (การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน) และต้องเป็นภาษาอังกฤษในวงเล็บเหลี่ยม [  ]

    2.5. การทำการ Romanization นั้นจะยึดตามหลักสากลโดยใช้เกณฑ์ของ Library of Congress สามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Website: http://www.loc.gov/catdir/cpso/roman.html

    2.6. สำหรับการเขียน Thai Romanization แนะนำให้ใช้โปรแกรมแปลงสาส์นที่พัฒนาโดย NECTEC http://164.115.23.167/plangsarn/index.php

    2.7. โปรดดูตัวอย่างรูปแบบการเขียนแสดงตัวอย่างดังต่อไปนี้

    หนังสือ

    ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่). สำนักพิมพ์.

    Author. (Year). Title of the book (Edition ed.). Publisher.

    เช่น

    วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (2541). การพัฒนาวิสัยทัศน์ผู้นำ (พิมพ์ครั้งที่ 2).

       เอ็กซเปอร์เน็ท.

    Boonkong, S. (2013). Phra Aphaimanee (Cartoon version) (11th ed.) [พระอภัยมณี
         (ฉบับการ์ตูน) (พิมพ์ครั้งที่ 11)]. skybook.

      Megee, J., & Kramer, J. (2551). Concurrency state models & Java programs. John Wiley.

    บทความในหนังสือ

    Author. (Year). Translated Title of Chapter [Title of Chapter].
                    In Editor (eds.), Translated Title of Book [Title of Book] (Page). Publisher.

       เช่น

    Sangtaksin, Y., & Busaphacheep, T. (2002). Evolution of Thai Language and Literature
        [วิวัฒนาการของภาษาและวรรณคดีไทย]. In Y. Sangtaksin & P. Tangkittiphaporn (eds.),    
        Thai Study [ไทยศึกษา] (pp. 76-122). Kasetsart University.

    Grice, H. P. (1975). Logic and Conversation. In P. Cole & J. Morgan (eds.) Studies in 
        Syntax and Semantics III: Speech Acts
    (pp. 183-198). Academic Press.

    วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561). แนวความคิดเรื่องชนชั้นนำทางการเมืองของกีตาโน มอสกา กับชนชั้นนำ
          ทางการเมืองไทยในยุคมาลานำไทย. ใน วัชรพล ศุภจักรวัฒนา และวัชรพล พุทธรักษา (บ.ก.),   
          ว่าด้วยทฤษฎีรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). (น. 47-68). สํานักพิมพ์
          มหาวิทยาลัยนเรศวร.

    บทความในวารสาร

    Author. (Year). Translated Article [Article]. Title of Journal, Volume(Issue). page
                    number.

       เช่น

    Kukkong, P. (2015). Health Communication Competency of Village Health Volunteers in
          Khon Kaen Province [สมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัด 
          ขอนแก่น. Humanity and Social Science Journal (GTHJ), 21(2). 187-197.

    Juliantari, L. P. (2014). Semiotic analysis of “The Conjuring” movie poster
        advertisement. Journal of Humanis, 9(3). 1-7.

    วิทยานิพนธ์ ที่มีเล่มตีพิมพ์

    Author. (Year). Translated Title of dissertation [Title of dissertation] (Doctoral

       dissertation หรือ Master’s thesis, University).

                    เช่น

    Sounsamut, P. (2004). Audience and the Adaptation of Content and Characters of
         'Phra Aphai Mani' in Thai Popular Culture During 2002-2003
    [ผู้เสพกับการดัดแปลง   
         เนื้อหาและตัวละคร เรื่องพระอภัยมณี ในวัฒนธรรมประชานิยมในช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๔๕-
         ๒๕๕๖] (Master of arts thesis, Chulalongkorn University).

    Magyar, C. E. (2014). The discourse of tourism and national heritage: A contrastive
        study from a cultural perspective
    (Doctorial’s thesis, Autonomous University of 
        Madrid).

    เว็บไซต์

    Author. (Year). Translated Title [Title]. ชื่อเว็บไซต์. URL

    เช่น

    Akkrasomcheap, W. (2017). A Clinic for Debt-Tackling is Not the Elixir But the
         Increase in Liquidity
    [คลินิกแก้หนี้ไม่ใช่ยาวิเศษ แต่เพิ่มออกซิเจนทางการเงิน]. Online  

       Prachachat. https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1495698043

     

    Rankin, E. (2013). Residential school survivor says he was starved. CBCNEWS.
         http://www.cbc.ca/news/canada/british-columbia/b-c-residential-school-survivor-
         says-he-was-starved-1.1317712

    หมายเหตุ ตัวอย่างวิธีการเขียนข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำรายการเอกสารอ้างอิง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถสืบค้นตัวอย่างวิธีการเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA 7th Edition ได้ต่อไป

    • รูปแบบตาราง และรูปภาพ

    สำหรับรูปแบบการจัดทำตารางตามการอ้างอิง APA 7th Edition ให้ผู้เขียนสร้างตารางแค่เส้นแนวนอนในส่วนหัวตาราง และเส้นปิดท้ายตาราง โดยเว้นช่วงเนื้อหาไว้เท่านั้น หากเป็นตารางข้อมูลที่นำมาจากแหล่งอื่น โปรดระบุการอ้างอิงด้วยทุกครั้ง ทั้งนี้ หากเป็นตารางที่ผู้เขียนสร้างเอง โปรดระบุที่มาว่าเป็นตารางจากผู้เขียน/ผู้วิจัย

    สำหรับรูปแบบการอ้างอิงรูปภาพ ให้ใส่การอ้างอิงตามารูปแบบ APA 7th Edition ไว้ใต้ภาพดังกล่าว
    ในกรณีที่ภาพนั้นได้นำมาจากแหล่งอื่น ทั้งนี้ หากเป็นรูปภาพที่ผู้เขียนถ่ายเอง โปรดระบุที่มาว่าเป็นรูปภาพจากผู้เขียน/ผู้วิจัย

มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามระบบ APA 7th edition (American Psychological Association) ตามตัวอย่างดังนี้

Example APA 7th edition+คำแนะนำ มนุษยศาสตร์สาร

APA7-CMUL

การอ้างอิงสารสนเทศตาม “Publication Manual of the American Psychological Association”(7th Edition)

          ผู้เขียนลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ Thaijo 2.0 และส่งบทความทางออนไลน์ผ่านระบบ ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/submission  พร้อมทั้งส่ง “แบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อพิจารณาการตีพิมพ์” ตามระบบ ThaiJO

คำแนะนำในการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์

  • นโยบายพิจารณากลั่นกรองบทความ
  1. รับพิจารณาบทความทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่น ๆ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของมนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะคลอบคลุมเนื้อหาทางด้านสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์ ในด้านศาสนา/เทววิทยา ภาษาและภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ การแปล การท่องเที่ยว บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ปรัชญา/จริยศาสตร์ จิตวิทยา วรรณกรรม บ้านและชุมชน
    การท่องเที่ยว (
    ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือปัญหาในมนุษยศาสตร์) การศึกษาข้ามศาสตร์ หรือสหวิทยาการ
    (
    ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือปัญหาในมนุษยศาสตร์) อาณาบริเวณ/ชุมชนศึกษา และล้านนาศึกษา เป็นต้น โดยรับบทความวิจัย (Research articles) บทความวิชาการ (Academic articles) บทความปริทัศน์ (Review articles) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book review) ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสาร
    การประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่าง
    การพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  2. บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
    (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564) และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
  3. ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขบทความเพื่อความสมบูรณ์ได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
  • กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ

บทความที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ดังนี้

  1. ผู้เขียนลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ ThaiJO 2.0 เพื่อดำเนินการ ส่งบทความ พร้อมทั้งส่ง
    “แบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อพิจารณาการตีพิมพ์” ทางออนไลน์ผ่านระบบ ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/submission
  2. เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบโดยทันที
  3. กองบรรณาธิการจะดำเนินการตรวจสอบบทความที่ได้รับว่าอยู่ในขอบเขตเนื้อหาวารสารหรือไม่ รวมถึงคุณภาพทางวิชาการและประโยชน์ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเบื้องต้น และจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนทราบภายใน 30-45 วัน
  4. หลังจากพิจารณาเบื้องต้นแล้ว กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อกลั่นกรองต่อไป โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ประเมินคุณภาพของบทความว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ ซึ่งกระบวนการกลั่นกรองนี้ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูล
    ซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 20-40 วัน
  5. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินการพิจารณาโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้น ๆ ควรนำลงตีพิมพ์ หรือควรส่งให้ผู้เขียนแก้ไขก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอีกครั้ง หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ และจะแจ้งผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนรับทราบ ภายในระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการพิจารณา โดยผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวถือเป็นที่สิ้นสุด