ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดทำเอกสารอ้างอิง (References) จากเดิม จัดทำเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษทุกประเภทของรายการอ้างอิง โดยใช้มาตรฐานการอ้างอิงแบบ APA 6th/ APA 7th edition เปลี่ยนเป็น จัดทำเอกสารอ้างอิงโดยใช้มาตรฐานการอ้างอิงแบบ APA 7th edition โดยมีรายละเอียดดังนี้

สำหรับภาษาที่ใช้ในการอ้างอิงในส่วนบรรณานุกรมให้ปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้ 

1) สำหรับบทความภาษาไทย
- หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้ใช้ภาษาไทยในการทำรายการบรรณานุกรม
- หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศ ให้ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศนั้นในการทำรายการบรรณานุกรม โดยที่ผู้เขียนอาจจะแยกประเภทของภาษาออกมาอีกส่วนหนึ่ง ถัดจากบรรณานุกรมภาษาไทย

2) สำหรับบทความภาษาอังกฤษ
- หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใช้ภาษาอังกฤษในการทำรายการบรรณานุกรม
- หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศอื่น ให้ผู้เขียนแปลรายการบรรณานุกรมเป็นภาษาอังกฤษ และใส่ชื่อหนังสือหรือบทความหรือข้อมูลเป็นภาษาไทยหรือภาษาเดิมในวงเล็บเหลี่ยม [  ] ถัดจากชื่อภาษาอังกฤษ

ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่มนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 24 ฉบับที่ 1: มกราคม-เมษายน 2566 เป็นต้นไป

ข้อมูลเกี่ยวกับ APA7th เพิ่มเติม:

Example APA 7th edition+คำแนะนำ มนุษยศาสตร์สาร

APA7-CMUL

การอ้างอิงสารสนเทศตาม “Publication Manual of the American Psychological Association”(7th Edition)

--------------------------------------------------------------------------------------------

การอ้างอิงในบทความและท้ายบทความ

เอกสารอ้างอิง (References) เขียนในรูปแบบ APA 7th edition (American Psychological Association) โดยมีรายละเอียดในการจัดทำดังนี้

1) สำหรับบทความภาษาไทย

- หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้ใช้ภาษาไทยในการทำรายการบรรณานุกรม

- หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศ ให้ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศนั้นในการทำรายการบรรณานุกรม โดยที่ผู้เขียนอาจจะแยกประเภทของภาษาออกมาอีกส่วนหนึ่ง ถัดจากบรรณานุกรมภาษาไทย

2) สำหรับบทความภาษาอังกฤษ

- หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใช้ภาษาอังกฤษในการทำรายการบรรณานุกรม

     - หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศอื่น ให้ผู้เขียนแปลรายการบรรณานุกรมเป็นภาษาอังกฤษ และใส่ชื่อหนังสือหรือบทความหรือข้อมูลเป็นภาษาไทยหรือภาษาเดิมในวงเล็บเหลี่ยม [  ] ถัดจากชื่อภาษาอังกฤษ

  • ตัวอย่างการเขียนอ้างอิง
  1. การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation)

มนุษยศาสตร์สารใช้รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาด้วยระบบนาม-ปีของ APA (American Psychological Association Citation Style) ให้ระบุชื่อ – นามสกุลผู้แต่ง (หากเป็นชาวต่างชาติให้ระบุนามสกุล) ปีที่พิมพ์และ/หรือเลขหน้า เช่น

กรณีอ้างหน้าข้อความ เช่น

Khetcharoen (2018, p. 88); Reynolds (1999, p. 89); Mush (2000, pp. 1-4)

กรณีอ้างหลังข้อความ เช่น

(Khetcharoen, 2018, p. 88; Reynolds, 1999, p. 89; Mush, 2000, pp. 1-4)

  1. การอ้างอิงท้ายบทความ (เอกสารอ้างอิง)

2.1. ใช้รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 7th edition (American Psychological Association)

2.2. บทความภาษาไทย หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้ใช้ภาษาไทยในการทำรายการบรรณานุกรม หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศ ให้ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศนั้นในการทำรายการบรรณานุกรม โดยที่ผู้เขียนอาจจะแยกประเภทของภาษาออกมาอีกส่วนหนึ่ง ถัดจากบรรณานุกรมภาษาไทย

2.3. บทความภาษาอังกฤษ หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใช้ภาษาอังกฤษในการทำรายการบรรณานุกรม หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศอื่น ให้ผู้เขียนแปลรายการบรรณานุกรมเป็นภาษาอังกฤษ และใส่ชื่อหนังสือหรือบทความหรือข้อมูลเป็นภาษาไทยหรือภาษาเดิมในวงเล็บเหลี่ยม [  ] ถัดจากชื่อภาษาอังกฤษ

2.4. ชื่อเรื่อง (Title) จะต้องทำให้เป็น Thai Romanization (การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน) และต้องเป็นภาษาอังกฤษในวงเล็บเหลี่ยม [  ]

2.5. การทำการ Romanization นั้นจะยึดตามหลักสากลโดยใช้เกณฑ์ของ Library of Congress สามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Website: http://www.loc.gov/catdir/cpso/roman.html

2.6. สำหรับการเขียน Thai Romanization แนะนำให้ใช้โปรแกรมแปลงสาส์นที่พัฒนาโดย NECTEC http://164.115.23.167/plangsarn/index.php

2.7. โปรดดูตัวอย่างรูปแบบการเขียนแสดงตัวอย่างดังต่อไปนี้

หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่). สำนักพิมพ์.

Author. (Year). Title of the book (Edition ed.). Publisher.

เช่น

วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (2541). การพัฒนาวิสัยทัศน์ผู้นำ (พิมพ์ครั้งที่ 2).

   เอ็กซเปอร์เน็ท.

Boonkong, S. (2013). Phra Aphaimanee (Cartoon version) (11th ed.) [พระอภัยมณี
     (ฉบับการ์ตูน) (พิมพ์ครั้งที่ 11)]. skybook.

  Megee, J., & Kramer, J. (2551). Concurrency state models & Java programs. John Wiley.

บทความในหนังสือ

Author. (Year). Translated Title of Chapter [Title of Chapter].
                In Editor (eds.), Translated Title of Book [Title of Book] (Page). Publisher.

   เช่น

Sangtaksin, Y., & Busaphacheep, T. (2002). Evolution of Thai Language and Literature
    [วิวัฒนาการของภาษาและวรรณคดีไทย]. In Y. Sangtaksin & P. Tangkittiphaporn (eds.),    
    Thai Study [ไทยศึกษา] (pp. 76-122). Kasetsart University.

Grice, H. P. (1975). Logic and Conversation. In P. Cole & J. Morgan (eds.) Studies in 
    Syntax and Semantics III: Speech Acts
(pp. 183-198). Academic Press.

วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561). แนวความคิดเรื่องชนชั้นนำทางการเมืองของกีตาโน มอสกา กับชนชั้นนำ
      ทางการเมืองไทยในยุคมาลานำไทย. ใน วัชรพล ศุภจักรวัฒนา และวัชรพล พุทธรักษา (บ.ก.),   
      ว่าด้วยทฤษฎีรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). (น. 47-68). สํานักพิมพ์
      มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บทความในวารสาร

Author. (Year). Translated Article [Article]. Title of Journal, Volume(Issue). page
                number.

   เช่น

Kukkong, P. (2015). Health Communication Competency of Village Health Volunteers in
      Khon Kaen Province [สมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัด 
      ขอนแก่น. Humanity and Social Science Journal (GTHJ), 21(2). 187-197.

Juliantari, L. P. (2014). Semiotic analysis of “The Conjuring” movie poster
    advertisement. Journal of Humanis, 9(3). 1-7.

วิทยานิพนธ์ ที่มีเล่มตีพิมพ์

Author. (Year). Translated Title of dissertation [Title of dissertation] (Doctoral

   dissertation หรือ Master’s thesis, University).

                เช่น

Sounsamut, P. (2004). Audience and the Adaptation of Content and Characters of
     'Phra Aphai Mani' in Thai Popular Culture During 2002-2003
[ผู้เสพกับการดัดแปลง   
     เนื้อหาและตัวละคร เรื่องพระอภัยมณี ในวัฒนธรรมประชานิยมในช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๔๕-
     ๒๕๕๖] (Master of arts thesis, Chulalongkorn University).

Magyar, C. E. (2014). The discourse of tourism and national heritage: A contrastive
    study from a cultural perspective
(Doctorial’s thesis, Autonomous University of 
    Madrid).

เว็บไซต์

Author. (Year). Translated Title [Title]. ชื่อเว็บไซต์. URL

เช่น

Akkrasomcheap, W. (2017). A Clinic for Debt-Tackling is Not the Elixir But the
     Increase in Liquidity
[คลินิกแก้หนี้ไม่ใช่ยาวิเศษ แต่เพิ่มออกซิเจนทางการเงิน]. Online  

   Prachachat. https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=149569804

Rankin, E. (2013). Residential school survivor says he was starved. CBCNEWS.
     http://www.cbc.ca/news/canada/british-columbia/b-c-residential-school-survivor-
     says-he-was-starved-1.1317712

หมายเหตุ ตัวอย่างวิธีการเขียนข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำรายการเอกสารอ้างอิง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถสืบค้นตัวอย่างวิธีการเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA 7th Edition ได้ต่อไป

  • รูปแบบตาราง และรูปภาพ

สำหรับรูปแบบการจัดทำตารางตามการอ้างอิง APA 7th Edition ให้ผู้เขียนสร้างตารางแค่เส้นแนวนอนในส่วนหัวตาราง และเส้นปิดท้ายตาราง โดยเว้นช่วงเนื้อหาไว้เท่านั้น หากเป็นตารางข้อมูลที่นำมาจากแหล่งอื่น โปรดระบุการอ้างอิงด้วยทุกครั้ง ทั้งนี้ หากเป็นตารางที่ผู้เขียนสร้างเอง โปรดระบุที่มาว่าเป็นตารางจากผู้เขียน/ผู้วิจัย

สำหรับรูปแบบการอ้างอิงรูปภาพ ให้ใส่การอ้างอิงตามารูปแบบ APA 7th Edition ไว้ใต้ภาพดังกล่าว
ในกรณีที่ภาพนั้นได้นำมาจากแหล่งอื่น ทั้งนี้ หากเป็นรูปภาพที่ผู้เขียนถ่ายเอง โปรดระบุที่มาว่าเป็นรูปภาพจากผู้เขียน/ผู้วิจัย