คุณค่าศักดิ์สิทธิ์ ขบวนการเอกราช และความรุนแรง
Main Article Content
บทคัดย่อ
คุณค่าศักดิ์สิทธิ์ (sacred values) คือคุณค่าที่ชุมชนหนึ่งให้ความสำคัญเกินกว่าที่จะกำหนดราคาได้ เป็นคุณค่าที่จะไม่สามารถนำมาเปรียบหรือแลกเปลี่ยนกับคุณค่าทางโลก (secular values) ตัวอย่างของคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น ชีวิต ความรัก ธรรมชาติ สุขภาพ ความยุติธรรม ศักดิ์ศรี เป็นต้น ส่วนคุณค่าทางโลกก็จะเป็นคุณค่า เช่น เงิน ความสะดวกสบาย ตำแหน่ง เป็นต้น การแลกเปลี่ยนคุณค่าศักดิ์สิทธิ์กับคุณค่าทางโลกชุมชนจะถือกันว่าเป็นสิ่งที่ต้องห้าม ถ้ากลุ่มที่ขัดแย้งกันมีคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ของกลุ่มที่ต่างกัน เช่น กรณีคนคาตาลันกับคนสเปน ชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ กลุ่มเสื้อแดงกับกลุ่มเสื้อเหลืองในประเทศไทย (หรือเปล่า) ชาวปาตานีกับรัฐไทย (หรือเปล่า) ทำให้การแก้ปัญหาและหนทางไปสู่สันติภาพต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการดำเนินการเป็นพิเศษ ถ้าไม่ระวังสามารถก่อให้เกิดผลตีกลับ (backfire effect) ได้ซึ่งนำไปสู่ความรุนแรงใหม่หรือต่อความรุนแรงเดิม ในเมื่อเหตุผลของการตัดสินใจต่าง ๆ ของขบวนการเอกราชเป็นเรื่องของการรักษาคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ไว้ ถ้าการใช้ความรุนแรงเป็นวิธีเดียวให้คุณค่านี้ดำรงอยู่ในชีวิตได้ ความรุนแรงก็จะอยู่ต่อไป แต่ถ้าสามารถหาทางอื่นซึ่งรักษาคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ไว้โดยไม่ใช้ความรุนแรง แนวทางนั้นก็อาจเป็นทางออกได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏในวารสารเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องและไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์ในบทความเป็นของผู้เขียนและสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ห้ามผลิตซ้ำ เก็บในระบบที่ค้นหาได้ หรือเผยแพร่ต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของวารสารเว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบรรณาธิการ หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมาย หรือตามเงื่อนไขขององค์กรลิขสิทธิ์ภาพถ่ายหรือกราฟฟิก สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การนำไปใช้โปรดอ้างอิงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
References
Ginges, Jeremy and Atran, Scott, (2013). “Sacred Values and Cultural Conflict”, in Michele J. Gelfand, Chi-Yue Chiu, Ying-Yi Hong (eds.), Advances in Culture and Psychology, Oxford University Press.
Hamid, Nafis and Pretus, Clara (Artis International) (2017). “How Spain Misunderstood the Catalan Independence Movement”, The Atlantic.
Hanselmann, Martin and Tanner, Carmen, (2008). “Taboos and conflicts in decision making: Sacred values, decision difficulty, and emotions”, Judgment and Decision Making, vol. 3, no.
Righetti, Nicola, (2014). “The Sacred in Current Social Sciences Research”, Italian Sociological Review, 4, 1.
Tetlock, Philip E., (2003). “Thinking the unthinkable: sacred values and taboo cognitions”, TRENDS in Cognitive Sciences, Vol.7, No.7.
Tresserras, Joan M., “Language and Culture”, (2016). Ara.Cat.
Zeelenberg, M., Nelissen, R.M., Brreugelmans, S.M., & Pieters, R., (2008). “On emotion specificity in decision making: why feeling is for doing”, Judgment and Decision Making, Vol.3.