การบริหารจัดการและการปรับตัวในสภาวะวิกฤตของคนรุ่นต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ตามหลักแนวคิด PESTEL

Main Article Content

วุฒิ วัชโรดมประเสริฐ

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประชากรรุ่นต่าง ๆ ในแต่ละช่วงอายุ ในการบริหารจัดการและปรับตัวในช่วงภาวะวิกฤตโดยใช้แนวคิด PESTEL 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยในแต่ละมิติของ PESTEL ที่มีผลต่อความสามารถในการบริหารจัดการและการปรับตัวในภาวะวิกฤต โดยมีแบบแผนการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครทั้งหมด ทำการเก็บตัวอย่างจำนวน 385 คน  โดยแบ่งเป็นกลุ่ม Baby Boomer จำนวน 98 คน, กลุ่ม Generation X จำนวน 111 คน, กลุ่ม Generation Y จำนวน 105 คน และกลุ่ม Generation Z จำนวน 71 คน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มอายุต่างกัน มีความสามารถในการบริหารจัดการและปรับตัวในสภาวะวิกฤตแตกต่างกัน โดยผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตตามกลุ่มตัวอย่างรุ่นต่าง ๆ ต่างกันเป็นรายคู่ พบว่า กลุ่ม Baby Boomer มีค่าเฉลี่ยการปรับตัวแตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ ทั้งสามกลุ่ม การวิเคราะห์สมการถดถอยของปัจจัยตัวแปรอิสระต่าง ๆ กับการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤต พบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการเมือง ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม  และปัจจัยด้านกฏหมาย เมื่อวิเคราะห์สมการถดถอยของปัจจัยตัวแปรอิสระต่าง ๆ กับการปรับตัวในสภาวะวิกฤต พบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการเมือง ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านกฏหมาย

Article Details

How to Cite
วัชโรดมประเสริฐ ว. . (2024). การบริหารจัดการและการปรับตัวในสภาวะวิกฤตของคนรุ่นต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ตามหลักแนวคิด PESTEL. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 19(1), 18–29. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/279652
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2567) สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx

Aguilar, F. J. (1967). Scanning the Business Environment. New York: Macmillan.

Barton, L. (1993). Crisis in Organizations: Managing and Communicating in the Heat of Chaos. Cincinnati: South-Western Publishing.

Chiam, J. C. S., & Lim, T. W. (2021). Coping with unrest in the periphery of China: Comparative case studies of Thailand, Myanmar and HKSAR. China and the World, 4(2), 2150008. World Scientific. Retrieved from https://www.worldscientific.com/doi/abs/10.1142/S2591729321500085

Engeström, Y., & Sannino, A. (2021). From mediated actions to heterogeneous coalitions: Four generations of activity-theoretical studies of work and learning. Mind, Culture, and Activity, 28(1), 4-23. https://doi.org/10.1080/10749039.2020.1806328

Fink, S. (1986). Crisis Management: Planning for the Inevitable. New York: AMACOM.

Garai-Fodor, M. (2022). The impact of the coronavirus on competence from a generation-specific perspective. Acta Polytechnica Hungarica, 19(8), 111-125. Retrieved from http://epa.niif.hu/02400/02461/00124/pdf/EPA02461_acta_polytechnica_2022_08_111-125.pdf

Johnson, G., Scholes, K., & Whittington, R. (2008). Exploring Corporate Strategy: Text and Cases. 8thed. Harlow: Financial Times Prentice Hall.

Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Stress, Appraisal, and Coping. New York: Springer Publishing Company.

Masten, A. S. (2001). Ordinary Magic: Resilience Processes in Development. American Psychologist, 56(3), 227-238.

Mitroff, I. I. (2005). Why Some Companies Emerge Stronger and Better from a Crisis: 7 Essential Lessons for Surviving Disaster. New York: AMACOM.

Tuli, F. A., & Vadiyala, V. R. (2022). Crisis management in South East Asia's tourism industry: Resilience and adaptation strategies. Global Disclosure of Economics and Business, 11(1), 35-48. Retrieved from https://www.researchgate.net/profile/Vishal-Reddy-

Weick, K. E., & Sutcliffe, K. M. (2001). Managing the Unexpected: Assuring High Performance in an Age of Complexity. San Francisco: Jossey-Bass.

Translated Thai References

National Statistical Office of Thailand. (2024). Retrieved May 1, 2024, from http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx (in Thai)