ความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมต่อการผลิตปทุมมาในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย

Main Article Content

ชัยภูมิ สุขสําราญ
อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมต่อการผลิตปทุมมาในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 320 ราย โดยใช้แบบสอบถามซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด จากผลการวิจัย พบว่า ความต้องการและการใช้ประโยชน์ปทุมมาของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ซึ่งนิยมนำมาใช้ในรูปแบบของไม้ตัดดอก ไม้ดอกกระถาง และไม้ดอกประดับแปลง ขณะที่สถานประกอบการธุรกิจโรงแรมที่ไม่นิยมนำไม้ดอกปทุมมามาใช้เนื่องจากหาซื้อได้ยากและไม่ทราบวิธีการใช้งาน นอกจากนี้ ในการศึกษาคุณลักษณะของปทุมมาตามความต้องการของประกอบธุรกิจโรงแรม พบว่า ส่วนใหญ่อยากให้มีการผลิตปทุมมาในพื้นที่ภาคใต้ และต้องการให้ผลิตปทุมมาในลักษณะของไม้ดอกกระถาง ไม้ตัดดอก ไม้กระถางตัดดอก และไม้ดอกประดับแปลง ตามลำดับ โดยปทุมมาพันธุ์ที่ต้องการให้ปลูกในพื้นที่ภาคใต้มากที่สุด คือ ปทุมมาพันธุ์ Cherry Pink, Chiangmai Pink และ Kimono Pink ตามลำดับ ซึ่งคุณลักษณะของปทุมมาที่ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมคาดหวังให้มีการผลิต คือ มีลักษณะของสีกลีบประดับปะปนกันมากกว่า 1 โทนสี ในรูปแบบของการไล่โทนสี อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมส่วนใหญ่มีระดับความมั่นใจต่อการผลิตปทุมมาอยู่ในระดับปานกลางต่อการผลิตเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร รวมทั้งการเกิดธุรกิจการผลิตไม้ดอกปทุมมาในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยภูมิ สุขสําราญ พัฒนา สุขประเสริฐ และ ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์. (2561). การศึกษาพันธุ์ปทุมมาและวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการปลูกเป็นไม้ดอกประดับแปลงในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 5(2): 32-37.

ชัยภูมิ สุขสําราญ. (2564). การพัฒนาการผลิตปทุมมาในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต เกษตรเขตร้อน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). โครงสร้างเศรษฐกิจภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561, จาก https://www.bot.or.th.

นิภาพร มีชำนาญ. (2554). กลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ประกอบการไม้ดอกไม้ประดับ: กรณีศึกษาหมู่บ้านดงบัง อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประสบ บุตรพลอย. (2543). การผลิตและการตลาดปทุมมาเพื่อการส่งออกในภาคเหนือของประเทศไทย. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภูมิลักษณ์ภาคใต้. (2555). ภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2560, จาก http://www.flipbooksoft.com.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2556). อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องในภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2560, จาก http://www.ksmecare.com.

ศูนย์วิจัยด้านการตลาดท่องเที่ยว. (2560). การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2560, จาก http://www.tatic.tourismthailand.org.

สุรวิช วรรณไกรโรจน์. (2539). ปทุมมาและกระเจียว (Curcuma) ไม้ดอกไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อรวรรณ วิชัยลักษณ์. (2548). เอกสารวิชาการเรื่องปทุมมา. กรมส่งเสริมการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อรุณี วงศ์ปิยะสถิตย์ พีรนุช จอมพุก ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์ อัณณ์ชญาน์ มงคลชัยพฤกษ์ นพมณี โทปุญญานนท์ เฉลิมศรี นนทสวัสดิ์ศรี ธีรนุช เจริญกิจ วิภาดา ทองทักษิณ ทิพวัลย์ สุกุมลนันทน์ ธีรพันธ์ โตธิรกุล อุทัย จารณศรี ปิยเกษตร สุขสถาน เอกชัย บูรณะไทย ธราธร ทีรฆฐิติ อรนุช ลีลาพร ยินดี ชาญวิวัฒนา พิศิษฐ์ วรอุไร โสระยา ร่วมรังษี บุศยรินทร์ กองแก้ว มัทยา อุ่นใจ โสพิศ วิชาคุณ สุธนา เกตุมาโร เรณู เอี่ยมธนาภรณ์ และ ลิขิต มณีสินธุ์. (2555). ปทุมมาวิทยาการปรับปรุงพันธุ์และการประยุกต์ใช้อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

โอฬาร พิทักษ์. (2537). ไม้ตัดดอกเขตร้อน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Yamane, T. (1967). Statistic: and introductory analysis. 2nded. New York: Harper and Row.

Translated Thai References

Bank of Thailand. (2018). Southern economic structure. Retrieved from https://www.bot.or.th, October 4, 2018. (in Thai)

Butploy, P. (2000). Patumma (Curcuma alismatifolia Gagnep.) Production and Marketing for Export in Northern Thailand. (Master of Science, Chiang Mai University). (in Thai)

Kasikorn Research Center. (2013). Tourism industry and continuing business in the southern region. Retrieved from http://www.ksmecare.com, September 2, 2017. (in Thai)

Meechamnan, N. (2011). Marketing strategies of flowers and garden trees traders: a case study of Dong Bung Village, Mueang District, Prachinburi Province. (Master of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi). (in Thai)

Pitak, O. (1994). Tropical Cut flowers. Department of Agricultural Extension. Ministry of Agriculture and Cooperatives. Bangkok. (in Thai)

Ruamrungsri, S. (2015). Physiology of Flower Bulbs. Chiang Mai: Chiang Mai University Press. (in Thai)

Southern landscape. (2012). Southern. Retrieved from http://www.flipbooksoft.com, September 2, 2017. (in Thai)

Suksamran, C. (2021). The Development of Patumma (Curcuma alismatifolia Gagnep.) Production in the Southern Area of Thailand. Dissertation, Ph.D. Tropical Agriculture, Kasetsart University. (in Thai)

Suksamran, C., Sukprasert, P., and Taychasinpitak. (2018). The Study of Cultivars Patumma (Curcuma alismatifolia Gagnep.) and Growing Media for Bedding Plants in Southern Thailand. Songklanakarin Journal of Plant Science, 5(2): 32-37. (in Thai)

TAT Intelligence Center. (2017). Tourism Authority of Thailand. Retrieved from http://www.tatic.tourismthailand.org, September 2, 2017. (in Thai)

Vichailak, O. (2005). Academic documents of Curcuma. Department of Agricultural Extension. Ministry of Agriculture and Cooperatives. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Press. (in Thai)

Wannakrairoj, S. (1996). Curcuma Flower and Ornemental Plant. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public. (in Thai)

Wongpiyasatid, A., Jompuk, P., Taychasinpitak, T., Wongchaochant, S., Mongkolchaiyaphruek, A., Topoonyanont, N., Nontaswatsri, C., Jaroenkit, T., Thongthaksin, W., Sukumonnan, T., Toterakun, T., Charanasri, U., Suksatan, P., Buranathai, E., Teerakathiti, T., Leelaporn, O., Chanvivattana, Y., Voraurai, P., Ruamrungsri, S., Kongkaew, B., Unjai, M., Wichakun, S., Ketmaro, S., Iamthanaphon, R., and Maneesinthu, L. (2012). Patumma breeding science and sustainable applications. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited. National Research Council of Thailand. Bangkok. (in Thai)